ได้เวลา Tea Break

tea 01

เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรีนพีซเผยผลการสุ่มตรวจชาในจีนและอินเดีย 2 ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชาของโลก พบว่าชายอดนิยมหลายแบรนด์ มียาฆ่าแมลงตกค้าง ในปริมาณเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้

สาธารณรัฐประชาชนจีน คือ ผู้ผลิตชาอันดับ 1 ของโลก ตามมาด้วยอันดับ 2 อย่างอินเดีย นอกจากเพื่อป้อนประชากรในประเทศที่นิยมดื่มชาแล้ว ชาคุณภาพดีจำนวนมากก็ถูกผลิตเพื่อส่งออกโดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นลูกค้ารายใหญ่

ซึ่งชาที่นำเข้าสหรัฐอเมริกา ต้องมีเอกสารยอมรับและยินดีให้องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FDA และกรมศุลกากร เข้ามาตรวจสอบ ‘มาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร’ ซึ่งเข้มงวดมากเมื่อเปรียบเทียบกับอินเดียและจีน

tea leaf

จากการสุ่มตรวจ ชาอินเดียจำนวน 49 ตัวอย่าง พบว่าเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์มียาฆ่าแมลงตกค้างอย่างน้อย 1 ชนิด และมีในปริมาณเกินที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ ยิ่งไปกว่านั้น ชา 18 ตัวอย่าง พบปริมาณสารฆ่าแมลงมากกว่าค่าสูงสุดที่กำหนดไว้ และอีก33 ตัวอย่างพบดีดีที

ส่วนรายงานฉบับที่ตรวจชาจีน พบว่าเกือบ 67 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่าง (ประมาณ 18 ตัวอย่าง) มียาฆ่าแมลงชนิดที่ อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: POPs) ประกาศห้ามใช้ และใน 14 ตัวอย่าง พบยาฆ่าแมลงตกค้างชนิดที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และ ทำลายระบบการสืบพันธุ์

การตรวจชาสำเร็จรูปใน 11 แบรนด์ชั้นนำ อาทิ Twinings , Tata Tea Tetley, Brooke Bond, Golden Tips, Goodricke and surprisingly, Lipton ฯลฯ พบว่า ชาลิปตัน ( Lipton) 3 ใน 4 ตัวอย่าง มียาฆ่าแมลงชนิดที่ห้ามใช้กับต้นชารวม และ มี 4 แบรนด์ที่พบยาฆ่าแมลง 17 ชนิด

สำหรับมาตรการควบคุมและดูแลของอินเดีย อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยยาฆ่าแมลง พ.ศ.2511 ที่ระบุยาฆ่าแมลง 248 ชนิดห้ามใช้ในการเพาะปลูกพืชพันธุ์ทุกชนิด

picking_tea_leaves

อย่างไรก็ตาม ความจริงที่เกิดขึ้นคือ ยังพบยาฆ่าแมลงต่างๆ เช่น Endosulfan ที่เป็นพิษต่อระบบประสาท อย่างรุนแรงต่อแมลงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งมนุษย์ , Methomyl ยาฆ่าแมลงที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาท , Dicofol สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับดีดีที

Hindustan Unilever Limited (HUL) หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชายักษ์ใหญ่ในอินเดียที่ถูกตรวจพบยาฆ่าแมลงตกค้าง ชี้แจงว่า บริษัทฯ ผลิตภายใต้หลักHACCP (Hazard Analysis Critical Control Point – มาตรฐานการผลิตที่มีมาตรการป้องกันอันตราย ที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการบริโภคอาหาร) ซึ่งใช้ในกระบวนการผลิตของทุกโรงงาน ตัวอย่างวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชาสำเร็จรูป ถูกส่งไปตรวจในห้องแล็บเอกชนตาม และบริษัทปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านอาหารของอินเดีย ซึ่งกำหนดเงื่อนไขโดย องค์กรด้านความปลอดภัยทางอาหารของอินเดีย (FSSAI) อยู่แล้ว

เรื่องนี้ คณะกรรมการชาแห่งประเทศอินเดียได้ตั้งคำถามถึงความไม่ชัดเจนในผลการศึกษาของกรีนพีซ และบอกว่าสารเคมีต่างๆ นั้น มาจากกระบวนการปลูกต่างๆ ภายนอก ไม่ได้เกิดจากพื้นที่หรือดินที่ใช้ปลูก

tea bag

ปีเตอร์ ก็อกกี้ ประธานสมาคมชาแห่งสหรัฐอเมริกา เผยว่า ยาฆ่าแมลงอาจตกค้างในดินได้ตราบเท่าที่เกษตรกรยังใช้ และแม้ว่ากรีนพีซ ให้ความสำคัญกับเรื่องยาฆ่าแมลง แต่รายงานฉบับนี้ยังล้มเหลวในการพิสูจน์ว่ามันปลอดภัยต่อการบริโภคหรือไม่
“ชานั้นปลอดภัยต่อการบริโภค และ ในฐานะสมาคมชา เราทำงานร่วมกับเกษตรกรและ FDA ดูแลคุณภาพของผลผลิตทั้งหมด” ประธานสมาคมชาแห่งสหรัฐอเมริกา รับรอง

******************************

(ที่มา : alternet.org)

logo

Author

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
หญิงแกร่งที่ทำงานทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านให้กับ WAY ถ้าเป็นนักฟุตบอลนี่คือผู้เล่นผู้จัดการทีมที่มีประสบการณ์ในสายงานข่าว ทั้งคลุกคลี สัมภาษณ์ บันเทิง ไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้การเป็นคุณแม่ซึ่งมีลูกสาวย่างเข้าวัยรุ่นยังช่วยส่งเสริมให้สามารถปั่นงานด้านเด็กและเยาวชนอย่างเชี่ยวชาญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า