ทักษะอาชีพในปี 2025 ปรับตัวให้เร็ว เพื่อความอยู่รอดในสนามประลองแห่งอนาคต

ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานกำลังท้าทายมนุษย์ด้วยอัตราเร่ง โลกหมุนเร็วขึ้น อาชีพไม่ใช่สิ่งที่คงอยู่ถาวร และมนุษย์ต้องเก่งขึ้นเพื่อประคองอนาคตของชุมชน จังหวัด และประเทศ 

ในรายงาน The Future of Jobs โดย World Economic Forum ปี 2015 ได้สำรวจ 10 ทักษะที่ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการ ได้แก่ 

  1. การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน (complex problem solving) 
  2. การประสานงานกับผู้อื่น (coordinating with others)
  3. การบริหารจัดการบุคคล (people management) 
  4. การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking)
  5. การเจรจาต่อรอง (negotiation)
  6. การควบคุมคุณภาพ (quality control)
  7. การบริการ (service orientation)
  8. การประเมินและตัดสินใจ (judgment and decision making)
  9. การฟัง (active listening)
  10. ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) 

5 ปีต่อมา การสำรวจอีกครั้งในปี 2020 พบว่า หนึ่งในสามของทักษะที่เคยสำคัญ กำลังจะเปลี่ยนแปลง เนื่องด้วยวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีได้นำพาหุ่นยนต์ขั้นสูง การขนส่งอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่องจักร วัสดุขั้นสูง เทคโนโลยีชีวภาพ และจีโนมิกส์ ฯลฯ มาสู่โลก การพัฒนาเหล่านี้กำลังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวิธีการทำงานของมนุษย์ บางอาชีพกำลังจะหายไป หลายอาชีพกำลังเติบโต และที่สำคัญแรงงานกำลังต้องการชุดทักษะใหม่เพื่อวิ่งให้ทันต่ออนาคต 

10 ทักษะจำเป็นในปี 2020 ได้แก่

  1. การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน (complex problem solving)
  2. การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking)
  3. ความคิดสร้างสรรค์ (creativity)
  4. การบริหารจัดการบุคคล (people management)
  5. การประสานงานกับผู้อื่น (coordinating with others)
  6. ความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence)
  7. การประเมินและตัดสินใจ (judgment and decision making)
  8. การบริการ (service orientation)
  9. การเจรจาต่อรอง (negotiation)
  10. ความยืดหยุ่นทางความคิด (cognitive flexibility)

จะเห็นได้ว่า วันเวลาผ่านไปเพียง 5 ปี บางทักษะที่เคยจำเป็นในการบ่มเพาะมนุษย์ผ่านการศึกษากลับไม่สำคัญอีกต่อไป วิวัฒการของเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ความสามารถหลายด้าน ทว่าในวันนี้ ใครจะคิดฝันว่าโรคระบาดจะมาเยือน และนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง เร่งรัดให้มนุษย์ต้องพัฒนาตัวเองอย่างรวดเร็วกว่าเดิม

ขณะนี้โลกกำลังเผชิญกับ double disruption ทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19 เทคโนโลยีและการใช้ระบบ automation เข้ามาทดแทนการจ้างคน จากรายงาน The Future of Jobs โดย World Economic Forum ได้ทำการสำรวจแนวโน้มและทิศทางของอาชีพในอนาคต ตลอดจนทักษะการทำงานที่จำเป็นภายในอนาคตอันใกล้ ในปี 2025 ดังนี้

  1. การคิดเชิงวิเคราะห์ และการสร้างนวัตกรรม (analytical thinking and innovation)
  2. การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม และมีกลยุทธ์การเรียนรู้ (active learning and learning strategies)
  3. ความสามารถในการแก้ปัญหาซับซ้อน (complex problem solving)
  4. การคิดและวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ มีวิจารณญาณ (critical thinking and analysis)
  5. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นต้นแบบ ไม่ซ้ำใคร (creativity, originality and initiative)
  6. ความเป็นผู้นำ และการมีอิทธิพลต่อสังคม (leadership and social influence)
  7. ความสามารถในการใช้ ควบคุม ดูแลเทคโนโลยี (technology use, monitoring and control)
  8. ความสามารถในการออกแบบเทคโนโลยี และเขียนโปรแกรม (technology design and programing)
  9. การจัดการความเครียด ยืดหยุ่น และรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ (resilience, stress tolerance and flexibility)
  10. การให้เหตุผล การแก้ปัญหา และการระดมแนวคิด (reasoning, problem-solving and ideation)

World Economic Forum ระบุว่า การใช้เครื่องจักรแทนแรงงานมนุษย์จะมีสัดส่วนที่สูงขึ้น จากเดิมในปี 2020 สัดส่วนการใช้แรงงานมนุษย์คือ 67 เปอร์เซ็นต์ ต่อการใช้เครื่องจักร 33 เปอร์เซ็นต์ ทว่าในปี 2025 สัดส่วนดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็นการใช้แรงงานมนุษย์ 53 เปอร์เซ็นต์ ต่อการใช้เครื่องจักร 47 เปอร์เซ็นต์ 

แรงงานจำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ จำเป็นจะต้อง reskill ภายในปี 2025 เพราะการมาของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น 5G, Robotic, Machine Learning, Artificial Intelligence (AI) และ Engergy Transformation กำลังเข้ามามีบทบาทในหลายๆ อุตสาหกรรมและธุรกิจ องค์ความรู้เดิมจะไม่เพียงพออีกต่อไป 

40 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานในปัจจุบัน จำเป็นต้องปรับตัวและ reskill ตนเองอย่างเร่งด่วนภายใน 6 เดือน หรือน้อยกว่านั้น ช่วงเวลาสำหรับการพัฒนาตนเองกำลังสั้นลงเรื่อยๆ เทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงเดินทางมาไว ประเทศที่ปรับตัว ระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น จะเป็นผู้รอดในสนามแห่งอนาคต

อ้างอิง

Author

อรสา ศรีดาวเรือง
มือขวาคีบวัตถุติดไฟ มือซ้ายกำแก้วกาแฟ กินข้าวเท่าแมวดม แต่ใช้แรงเยี่ยงงัวงาน เป็นเป็ดที่กระโดดไปข้องแวะกับแทบทุกประเด็นได้อย่างไม่ขัดเขิน สนใจทั้งภาพยนตร์ วรรณกรรม การศึกษา การเมือง และสิ่งแวดล้อม ชอบแสดงอาการว่ายังทำงานไหวแม้ซมพิษไข้อยู่บนเตียง

Illustrator

ณขวัญ ศรีอรุโณทัย
อาร์ตไดเร็คเตอร์ผู้หนึ่ง ชอบอ่าน เขียน และเวียนกันเปิดเพลงฟัง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า