ร้านนี้ ไม่มีถุง

store 01
นับวัน ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำ และร้านสะดวกซื้อ ยิ่งเป็นที่พึ่งรายใหญ่ของผู้บริโภคทั้งเรื่องกินและจับจ่ายใช้สอย เช่นเดียวกับปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะถุงพลาสติกที่เกิดจากการใช้ครั้งเดียวทิ้ง

จึงมีความพยายามรักษ์และดูแลโลกหลายทาง หนึ่งในนั้นคือการลดใช้ถุงและใช้อุปกรณ์หีบห่อสินค้าผลิตภัณฑ์ หรือแพคเกจจิ้งต่างๆ ให้น้อยที่สุด ที่ผ่านมามีร้านค้าขนาดกลาง ขนาดเล็กจำนวนไม่น้อยเดินตามแนวความคิดดังกล่าว ยกตัวอย่าง ในปี 2007 กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมในกรุงลอนดอน พยายามสร้างซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใช้แพคเกจจิ้งให้น้อยที่สุด ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจมากมายให้แก่ชาวลอนดอน แต่สุดท้ายแล้วก็ล้มพับไป ไม่สำเร็จในเชิงธุรกิจ

ที่เมืองออสติน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ร้านขายของชำขนาด 1,300 ตารางฟุตชื่อ in.gredients ก็เป็นอีกร้านที่ใช้คอนเซปท์ไม่บริกาจแพคเกจจิ้ง จนถึงทุกวันนี้กิจการยังไปได้ดี เจ้าของร้านเผยว่า มีลูกค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ประเมินไว้ 2 เท่า แต่ลูกค้ากลุ่มนี้มีพฤติกรรมซื้อต่อครั้งในปริมาณลดลง 50 เปอร์เซ็นต์

ล่าสุด  2 สุภาพสตรีในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ก็พยายามสร้างและเตรียมเปิดร้านขายของชำในคอนเซปท์ “packaging free”  และ พวกเธอเรียกโปรเจคท์ซึ่งชื่อเดียวกับร้านนี้ว่า “Unverpakt” หรือ Original Unpacked

 

store 03
มิเลนา กลิมบอฟสกี และ ซารา วูล์ฟ

 

มิเลนา กลิมบอฟสกี วัย 23 และ ซารา วูล์ฟ วัย 30 ร่วมกันก่อตั้งร้านขายของชำรักษ์โลก ทั้งสองตั้งเป้าที่การลดขยะ  หลีกเลี่ยงการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) โดยการลดการใช้ (reducing) สิ่งที่มีอยู่ และให้ลูกค้านำภาชนะบรรจุมาเอง

แต่ร้านก็ไม่ได้สุดโต่งเกินไป ถ้าลูกค้ารายไหนไม่มีอุปกรณ์หีบห่อมาจริงๆ ทางร้านมีกระดาษไขสำหรับห่อให้ หรือไม่ก็มีกล่องหรือขวดโหลต่างๆ จำหน่ายหรือให้เช่ากลับไป

กลิมบอฟสกี และ วูล์ฟ  วางแผนและเตรียมพร้อมธุรกิจแนวนี้มามากว่า 1 ปี  มีสินค้าที่พร้อมลงขายในร้านแล้วกว่า 600 รายการใน Unverpakt สาขาแรก ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งของสดและของแห้งในร้านไม่ได้เข้มงวดว่าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกส์ ทุกผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นของท้องถิ่นหรือไฮแบรนด์ ไม่มีบริการหีบห่อเท่าเทียมกันหมด

ก่อนหน้านี้ไม่นานทั้งสองได้เปิดเว็บไซต์เพื่อระดมทุน (Crowdfunding) หลังจากแคมเปญเปิดตัวไปได้ 3 อาทิตย์ โครงการ Unverpakt ได้ทุนเกินที่ตั้งเป้าไว้ถึง 2 เท่า แล้ว ยังคงเหลืออุปสรรคใหญ่อย่างเดียวคือทำเลเปิดร้าน กลิมบอฟสกีและวูล์ฟอยากได้ทำเลดี ย่านยอดนิยมอย่าง  Kreuzberg  นั่นหมายความว่า ต้องยอมจ่ายค่าเช่าแพงแลกกับพื้นที่เล็กนิดเดียว

 

*************************************************

ที่มา : treehugger.com

logo

Author

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
หญิงแกร่งที่ทำงานทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านให้กับ WAY ถ้าเป็นนักฟุตบอลนี่คือผู้เล่นผู้จัดการทีมที่มีประสบการณ์ในสายงานข่าว ทั้งคลุกคลี สัมภาษณ์ บันเทิง ไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้การเป็นคุณแม่ซึ่งมีลูกสาวย่างเข้าวัยรุ่นยังช่วยส่งเสริมให้สามารถปั่นงานด้านเด็กและเยาวชนอย่างเชี่ยวชาญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า