นักวิจัยศูนย์วิทยาศาสตร์การประมงภาคตะวันตกเฉียงใต้ สำนักงานจัดการด้านบรรยากาศและมหาสมุทรแห่งชาติสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA) ได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่ค้นพบว่า ปลาโอปาห์ (Opah fish) มีเลือดอุ่นไหลเวียนอยู่ในตัว
ในตัวปลาโอปาห์ประกอบด้วยหลอดเลือดที่มีเลือดอุ่นไหลเวียนไปเลี้ยงเหงือกทั้งสองข้าง ซึ่งหลอดเลือดอุ่นนี้จะคลุมหลอดเลือดเย็นอื่นๆ ที่ทำหน้าหล่อเลี้ยงร่างกายอีกที หลังจากดูดก๊าซออกซิเจนจากน้ำเข้าไป อุณหภูมิทั่วไปของปลาโอปาห์อยู่ที่ 5 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิน้ำทะเลโดยรอบ
นิโคลัส เวกเนอร์ นักชีววิทยาด้านการประมงหนึ่งในทีมงาน NOAA บอกว่า ระบบไหลเวียนเลือดที่เฉพาะตัวแบบนี้จะทำให้การเคลื่อนไหวเร็วมากขึ้น มองเห็นได้ดีขึ้น และมีปฏิกิริยาตอบโต้เร็วกว่าสัตว์เลือดเย็นทั่วไป เพราะด้วยเลือดที่อุ่นจะช่วยวอร์มร่างกาย ซึ่งทำให้โอปาห์เป็นนักล่าตัวฉมัง และว่ายย้ายถิ่นได้ไกลมากขึ้น
นอกจากนี้ เลือดอุ่นจะช่วยเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้ปลาอยู่ในน้ำลึก 150-1,300 ฟุตได้นาน โดยไม่เป็นอันตรายต่อหัวใจและอวัยวะอื่นๆ โดยเนื่อเยื่อไขมันรอบๆ เหงือก หัวใจ และเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจะทำงานคล้ายฉนวน ป้องกันปลาจากน้ำเย็นจัด
ที่มา : inhabitat.com