ปัญหาสารตกค้างในผักผลไม้

pesticides-2

 ภาพ: en.wikipedia.org

 

‘Pesticides On A Plate’ รายงานล่าสุดจาก เครือข่ายต้านสารปราบศัตรูพืชในอังกฤษ (Pesticide Action Network UK: PAN-UK) พบปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้สดเพิ่มขึ้นเท่าตัวในรอบ 10 ปี โดยพบว่าผักผลไม้ร้อยละ 46 โดยเฉพาะ องุ่นและแอปเปิ้ลมีสารตกค้างเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26 เมื่อปี 2003

PesticidesOnAPlate-Report
ภาพ: pan-uk.org

รายงานชิ้นนี้ ระบุว่า พบสารปราบศัตรูพืช 10 ชนิด อาทิ คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) คลอไพริฟอส (Chlorpyrifos) ไคเปอร์เมธริน (Cypermethrin) และ ดีดีที (DDT) เป็นต้น โดย PAN ถือเป็นองค์กรอิสระรณรงค์เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชที่มีเครือข่ายอยู่ใน 90 ประเทศทั่วโลก

มีการตรวจพบสารตกค้างในองุ่นร้อยละ 91.3 ขณะที่องุ่นอีกร้อยละ 3 พบปริมาณสารตกค้างเกินกว่าระดับที่กฎหมายกำหนด นอกจากนั้น ยังพบสารตกค้างในส้ม ร้อยละ 98 ในแอปเปิ้ล ร้อยละ 90.6 และในแครอท พบสารตกค้างที่ร้อยละ 73

นอกจากผักผลไม้สด PAN ยังทำการทดสอบวัตถุดิบในอาหารผ่านกระบวนการ 40 ชนิด และพบความเกี่ยวข้องกับสารปราบศัตรูพืช 372 ตัว โดยพบสารตกค้างในแป้งทำขนมร้อยละ 97 และในขนมปังพบที่ร้อยละ 73.6

มีหลักฐานเชื่อมโยงระหว่างผลกระทบจากสารเคมีต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ ความเสี่ยงต่อมะเร็ง และภาวะพิการแต่กำเนิด

ความเชื่อที่ว่า สารเคมีปราบศัตรูพืชช่วยป้องกันโรคและแมลง และช่วยให้ผักผลไม้ราคาถูกลง กำลังถูกแทนที่ด้วยข้อมูลที่มาผักผลไม้ในซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งชาวสวนจำต้องใช้สารปราบศัตรูพืชเพื่อให้ผักผลไม้ของตนมีรูปลักษณ์สมบูรณ์และสวยงามได้มาตรฐานตามที่ซูเปอร์มาร์เก็ตกำหนด

ทางทฤษฎี ผู้บริโภคสามารถหลีกเลี่ยงสารเคมีดังกล่าวด้วยการล้างหรือปอกเปลือกผักผลไม้ก่อนนำไปประกอบอาหารหรือรับประทานสด ขณะที่ผลศึกษาจาก Food Standards Agency เมื่อปี 2012 พบว่า การล้างอาจไม่ได้ผลเสมอไป

ผู้เชี่ยวชาญสถาบันชีววิทยาศาสตร์จากไอร์แลนด์เหนือนำเสนอในรายงานว่า สารตกค้าง อาทิ diphenylamine และสารฆ่าเชื้อราอย่างคาร์เบนดาซิม ที่พบบนผิวแอปเปิ้ล แม้จะนำไปล้างน้ำแต่ปริมาณสารตกค้างที่วัดได้ไม่ลดลง นอกจากนั้น ผักอีกชนิดที่การล้างไม่ช่วยลดปริมาณสารตกค้าง คือพืชหัวอย่าง มันฝรั่ง

 

ที่มา: dailymail.co.uk / pan-uk.org

สนับสนุนโดย

Author

อภิรดา มีเดช
อดีตภูมิสถาปนิกที่สนิทสนมกับตัวหนังสือมากกว่าต้นไม้ สารพัดขนแมวที่ติดอยู่บนเสื้อสีดำเป็นเครื่องหมายแสดงความจิตใจดี เป็นเครื่องประดับแสดงความเป็นทาสแมว สนใจด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา ประวัติศาสตร์ การเมือง รวมถึงการวิพากษ์สังคมและบุคคลอย่างตรงไปตรงมา
(กองบรรณาธิการ WAY ถึงปี 2559)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า