9. ชุมชนทั่วโลกลุกขึ้นปกป้อง ‘สิทธิตามกฎหมาย’ ของธรรมชาติ
เดือนมีนาคม 2017 รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ยอมรับอย่างเป็นทางการว่าแม่น้ำวังกานุย (Whanganui) มีชีวิตมีสิทธิของตัวเองเทียบเท่าบุคคลตามกฎหมายแล้ว หลังจากผลักดันมาตั้งแต่ปี 1870 ผู้ที่ทำร้ายแม่น้ำสายนี้ต้องได้รับโทษไม่ต่างจากการทำร้ายชาวเผ่าเมารีที่ถือว่าแม่น้ำสายนี้ว่ามีความสำคัญทางจิตวิญญาณ
เคย์ลา ดีวอลต์ (Kayla DeVault) รายงานว่า กรณีแม่น้ำวังกานุย กฎหมายนิวซีแลนด์ได้สร้างแบบอย่างสำคัญในการยอมรับสิทธิของธรรมชาติในกฎหมายทั่วโลก “เรากำลังเห็นการฟื้นตัวจากชุมชนมากมายที่พยายามปกป้องธรรมชาติด้วยมุมมองของคนพื้นเมืองไม่ใช่มุมมองแบบประเทศล่าอาณานิคม”
นอกจากนี้ เธอยังตั้งข้อสังเกตว่า ถ้ารัฐบาลอเมริกามองแม่น้ำมิสซูรีในฐานะบุคคล ผลของกรณี Dakota Access pipeline จะแตกต่างออกไป การทำร้ายแม่น้ำอาจลงท้ายด้วยการฟ้องร้อง ความเสี่ยงจากการรั่วไหลของสารเคมีในอนาคตอาจทำให้วิศวกรของกองทัพเปลี่ยนใจ และทุกการเจรจาต้องผ่านปรึกษาหารือและยินยอมกับผู้แทนของแม่น้ำตามกฎหมาย
ชัยชนะของแม่น้ำวังกานุยในนิวซีแลนด์ก็เป็นแรงบันดาลใจให้กรณีของแม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมุนาในอินเดียได้มีสถานะทางกฎหมายเช่นเดียวกับคน โดยการพิจารณาคดีของศาลอินเดียว่าด้วยแม่น้ำคงคาและยมุนา ได้อ้างถึงการตัดสินใจของนิวซีแลนด์เป็นกรณีตัวอย่าง
อ้างอิงข้อมูลจาก: projectcensored.org