6 สิ่งที่เด็กเกิดปี 2018 อาจไม่ได้สัมผัส

เรื่อง: ลีน่าร์ กาซอ

 

ปี 2017 เป็นปีที่การหวนนึกถึงความหลังกลับมาอยู่ในกระแสอีกครั้ง ต้องยกความดีความชอบให้กับบรรดาวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ผูกพันกับอดีตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ภาคต่อของ Alien และ Blade Runner ที่กลับมาพร้อมกับภาพใหม่ๆ น่าตื่นตาตื่นใจ หรือจะเป็นซีรีส์เรื่องดังอย่าง Stranger Things ที่ขนความแฟนตาซีให้บรรดาเด็กยุค 80 ตื่นเต้นกันใหญ่ รวมถึง Twin Peaks ที่ปลุกเจ้าหน้าที่คูเปอร์ มาคายความลับที่ผู้กำกับ เดวิด ลินช์ จะสร้างขึ้นมา

ขณะที่ภาพยนตร์และซีรีส์เหล่านี้กำลังย้ำให้นึกถึงความหลัง เทคโนโลยีก็กำลังทำให้ประสบการณ์ของคนยุคหนึ่งห่างไกลและแตกต่างจากคนรุ่นถัดไปแบบส่งไม้ต่อกันไม่ทัน

การใช้โทรศัพท์ของเด็กๆ ใน Stranger Things อาจทำให้คนวัย 30 กว่า นึกย้อนถึงช่วงเวลาก่อนมีโทรศัพท์มือถือ แต่สำหรับเด็กที่เกิดในปีนี้อาจไม่เคยได้สัมผัสความรู้สึกที่ต้องติดอยู่กับโทรศัพท์บ้านหรือตู้โทรศัพท์เท่านั้น การไปโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ใกล้บ้านเพื่อดู Blade Runner 2049 คงทำให้ผู้ใหญ่นึกถึงวิธีการดั้งเดิม แต่การดูหนังบนจอเล็กๆ พร้อมกับระบบเสียงที่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสมองอาจไม่อยู่ในสารบบความรับรู้ของเด็กเหล่านี้เลยด้วยซ้ำ

เทคโนโลยีในปัจจุบันก้าวหน้ารวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมา กว่าเด็กๆ จะเติบโต สิ่งธรรมดาในปัจจุบันอาจกลายเป็นเพียงเรื่องราวที่พวกเขาจะรับรู้จากการอ่านหนังสือหรือไม่ก็คงอ่านจากจอคอมพิวเตอร์ แต่จะไม่มีโอกาสได้สัมผัสจริงๆ อย่างเช่นสิ่งต่างๆ เหล่านี้

1. การเดินทางนานๆ ที่น่าเบื่อ

แม้ว่าบรรดาอุปกรณ์เคลื่อนที่และระบบความบันเทิงในเครื่องบินได้ทำให้การเดินทางเป็นเวลานานไม่น่าเบื่ออีกต่อไป แต่นอกจากเครื่องบินคองคอร์ด (Concorde) เครื่องบินขนส่งชนิดมีความเร็วเหนือเสียง ที่ถูกปลดออกจากหน้าที่เมื่อปี 2003 มนุษยชาติก็ยังไม่ได้ทำอะไรที่มากไปกว่าทำให้เครื่องบินเร็วขึ้น นอกจากรถไฟความเร็วสูงแล้ว การขนส่งภาคพื้นดินอื่นๆ ก็ยังมีความเร็วจำกัดอยู่

อย่างไรก็ตาม การขนส่งที่พัฒนาขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ดูจะทำให้การเดินทางรวดเร็วทันใจมากขึ้น นั่นหมายความว่า เด็กๆ อาจไม่เคยต้องทนทุกข์กับเวลายาวนานเหมือนไม่สิ้นสุดของการเดินทางทั้งบนฟ้าและบนพื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินเหนือเสียงที่กำลังจะกลับมา การส่งผู้โดยสารข้ามไปยังอีกฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติกในเวลาแค่ 3 ชั่วโมงครึ่งจึงไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน ยิ่งผู้โดยสารน้อยก็ยิ่งเดินทางได้เร็วขึ้น แต่ก็ยังติดอยู่ที่ข้อจำกัดทางธรรมชาติและราคา ซึ่งทำให้มันกลายเป็นการเดินทางกระแสหลักได้ไม่ง่ายนัก

ขณะที่เทคโนโลยีไฮเปอร์ลูป – การเดินทางด้วยห้องโดยสาร (Pod) ในอุโมงค์สุญญากาศไร้แรงเสียดทาน ทำให้เร่งความเร็วได้ถึง 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาจแสดงให้เห็นว่า นี่เป็นวิธีเดินทางที่ใช้เวลาเล็กน้อยด้วยราคาที่พอเป็นไปได้

ระบบความเร็วสูงเหล่านี้เพิ่มความเร็วได้ถึง 387 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากเส้นทางที่ตั้งเป้าไว้ใช้ได้จริงก็อาจย่นระยะเวลาเดินทางระหว่างเมืองใหญ่ๆ ได้ เช่น การเดินทางจากนิวยอร์คไปวอชิงตัน ดีซี ที่เคยนานถึงห้าชั่วโมง อาจใช้เวลาแค่ 30 นาทีเท่านั้น

2. มนุษย์ผูกขาดการมีสติปัญญา

รถขับเคลื่อนตัวเองเป็นแค่หนึ่งในตัวอย่างของนวัตกรรมจากการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ทุกวันนี้ เรามีระบบ AI ที่เป็นคู่แข่งหรือทำได้แม้แต่การเอาชนะมนุษย์ที่เชี่ยวชาญในงานที่เฉพาะเจาะจง เช่น การเล่นหมากรุกหรือการคัดแยกขยะรีไซเคิล แต่ผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์ไว้ว่า สติปัญญาของระบบ AI จะทัดเทียมกับความปราดเปรื่องของมนุษย์ในอนาคตอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้

หุ่นยนต์อย่าง โซเฟีย ของบริษัท แฮนสัน โรโบติคส์ (Hanson Robotics) ผู้คิดค้นและพัฒนาหุ่นยนต์มานาน ก็ได้ทำให้เส้นแบ่งระหว่างมนุษยชาติและเครื่องจักรเลือนรางลงไปอีก และในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ขอบเขตของทั้งสองฝ่ายอาจขยับใกล้มากขึ้นเรื่อยๆ จนไปถึงการเป็นหนึ่งเดียวกัน

เด็กๆ ที่เกิดในปี 2018 อาจไม่เข้าใจถึงการเข้าร่วมกองทัพหรือไปมหาวิทยาลัย เมื่อมนุษย์กลายเป็นหน่วยที่ฉลาดที่สุดบนดาวเคราะห์ดวงนี้

3. กำแพงภาษา

อีกหนึ่งอนาคตจาก AI คือเรื่องของการสื่อสาร เทคโนโลยีอาจทำลายอุปสรรคทางภาษาบนโลกนี้ลงได้ในที่สุด

ระบบของโปรแกรมติดต่อสื่อสารอย่าง สไกป์ (Skype) ได้เพิ่มความสามารถในการแปลฉับพลันเข้าไปแล้ว ทำให้ผู้พูดในบางภาษาสามารถโต้ตอบอย่างอิสระได้ในทันที นอกจากนี้ Google ก็ยังรวมความสามารถในการแปลเข้าไว้ในหูฟังแบบใหม่ของตัวเองด้วย

สำหรับบริษัทอื่นๆ อย่าง Waverly Labs ผู้ผลิต Pilot หูฟังอัจฉริยะที่สามารถแปลภาษาได้แบบคำต่อคำ ก็กำลังเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีที่จะเก่งกาจเทียบเท่า Babel fish เอเลี่ยนที่สามารถแปลภาษาได้แบบฉับพลันในหนังสือเรื่อง คู่มือท่องกาแลกซีฉบับนักโบก (The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy) ของ ดักลาส อดัมส์

เด็กๆ ที่เกิดในปีนี้อาจพบว่า ตัวเองเติบโตมาในโลกที่ใครอยากคุยกับใครก็ได้ แนวคิดเรื่องการเรียนภาษาต่างประเทศก็ดูจะเป็นเรื่องแปลกปลอมและไกลตัว

4. พื้นที่เงียบสงบ

ประชากรล้นหลามกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนชี้ให้เห็นในเวทีการถกเถียงเรื่องการขยายเผ่าพันธุ์มนุษยชาติออกไปในจักรวาล สภาพของป่าไม้และพื้นที่เกษตรกรรมที่ลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้ประเด็นของการขยายตัวถูกหยิบยกขึ้นมาทั่วโลกในหลายทศวรรษที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ประเด็นมลภาวะทางเสียงกลับไม่ใช่ประเด็นสำคัญในการพูดถึงการขยายเมืองอย่างต่อเนื่อง – แม้เสียงจะดังขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม

ผู้เชี่ยวชาญต่างกังวลว่า เสียงจะกลายเป็นวิกฤติด้านสาธารณสุขครั้งใหญ่ อ้างอิงจากข้อมูลที่รวบรวมมา องค์การสหประชาชาติได้ประเมินไว้ว่า ภายในปี 2100 กว่า 84 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกจำนวน 10.8 พันล้านคนจะอาศัยอยู่ในเมืองที่รายล้อมไปด้วยเสียงกระหึ่มของทุกคน แต่จำนวนผู้อาศัยในพื้นที่กว้างใหญ่ห่างไกลมลภาวะทางเสียงกำลังลดลงเรื่อยๆ นั่นหมายความว่า ทารกหลายคนที่เกิดในวันนี้อาจไม่เคยได้สัมผัสสุนทรียะของความเงียบสงบเลย

5. เงินสด

บัตรเครดิตอาจเป็นระเบิดลูกแรกที่กระทบต่อลักษณะการใช้จ่ายด้วยเงินสด – แต่ก็ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ทุกวันนี้การใช้จ่ายด้วยเงินสดกำลังดิ้นรนต่อสู้กับการจ่ายเงินผ่านเพย์พัล เวนโม แอปเปิลเพย์ รวมถึงช่องทางการจ่ายเงินแบบอื่นที่กำลังเกิดขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อถึงวันที่เด็กๆ ในวันนี้เติบโตพอที่จะได้รับเช็คค่าจ้าง พวกเขาก็สามารถเข้าถึงช่องทางการจ่ายเงินที่มากขึ้นไปอีก และการจ่ายเงินสดก็อาจต้องล่าถอยจนหายไปเอง

ในสนามแข่งแย่งชิงพื้นที่การเงิน วิธีการใช้เงินดิจิตอล (Cryptocurrency) กำลังเป็นตัวเต็งนำหน้าทุกแบบ พร้อมกับเทคโนโลยีบล็อคเชน (Blockchain) ที่ช่วยดูแลความปลอดภัยทางการเงินโดยไม่ต้องอาศัยคนกลางก็กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก แม้ว่าตลาดเงินดิจิตอลจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ไม่ได้ ผู้เชี่ยวชาญต่างก็ยังคาดหวังถึงศักยภาพของมันที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการเงินไปอย่างถาวร

6. คอมพิวเตอร์จอเดียว

ก่อนหน้านี้แค่อุปกรณ์ดิจิตอลเป็นจอแบนก็น่าตื่นเต้นแล้ว แต่ตอนนี้ระบบยูสเซอร์ อินเตอร์เฟส (user interfaces) ที่ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ได้เลยกำลังมีบทบาทมากขึ้น การจำกัดอยู่กับคีย์บอร์ดและคอมพิวเตอร์จอเดียวอาจไม่อยู่ในความทรงจำของเด็กๆ ที่เกิดในปี 2018 เลยก็ได้

หนึ่งในหัวหอกสำคัญของการพัฒนาและขยายกรอบการใช้คอมพิวเตอร์ให้กว้างขึ้น คือเทคโนโลยีความจริงเสมือน ทั้งเวอร์ชวล เรียลลิตี้ (VR) และออคเมนเต็ด เรียลลิตี้ (AR) ความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องทำให้เราได้เห็นความสามารถใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ

การจดจำท่าทาง กระบวนการทางภาษา และเทคโนโลยีมากมายกำลังทำให้เราสร้างปฏิสัมพันธ์กับอุปกรณ์ของตัวเองได้ และในที่สุดเราอาจพบว่ากำลังเชื่อมต่อกับระบบ เหมือนที่เห็นในภาพยนตร์เรื่อง Minority Report ก็เป็นได้


ที่มา: futurism.com

 

 

สนับสนุนโดย

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า