7 เมืองกับการเดินทางอันรื่นรมย์

musiconatrain

แต่ละวันทุกคนต่างก็อยากได้การเดินทางที่รวดเร็ว ราคาย่อมเยา และสะอาดสะอ้านในตารางชีวิตอันแสนยุ่งเหยิง เมืองต่างๆ จึงแข่งกันพัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งโดยสารสาธารณะให้ง่ายขึ้น และเพิ่มความสุขในการเดินทางให้มากขึ้น

และต่อไปนี้คือ 7 เมืองในโลกที่ทำให้การเดินทางเป็นเรื่องง่ายและรื่นรมย์

 

sanfran

  1. ซานฟรานซิสโก

ระบบขนส่งสาธารณะซานฟรานซิสโกขึ้นชื่อเรื่องและเป็นที่รู้จักเรื่อง รถราง (รถเคเบิล) ที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยภายหลังจากเมืองมีรถไฟกับรถโดยสารสาธารณะใช้เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ ซานฟรานซิสโกได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นกว่า 60 ชนิด เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางให้แก่ประชาชน รวมถึงแอพที่ช่วยสำรวจการจราจรในด้านต่างๆ ได้ชัดเจน เช่นเดียวกับแอพคำแนะนำสำหรับนักปั่นจักรยานและผู้เดินเท้าต่างๆ ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด

และที่น่าสนใจ คือ ปี 2008 เมืองซานฟรานซิสโกจัดให้มีห้องสมุดจิ๋ว หรือตู้หนังสือหยอดเหรียญ Library-a-Go-Go ไว้ทุกๆ สถานี ที่ให้ผู้โดยสารยืมหนังสือไปอ่านและคืนหนังสือได้สะดวก

 

seoul

2. โซล

รถไฟใต้ดินในกรุงโซล ได้รับการโหวตว่าเป็นหนึ่งในรถไฟใต้ดินที่ดีที่สุดในโลก จุดเด่นอยู่ที่การใช้บริการได้ง่าย ความสะอาด และ ตารางการเดินรถที่ถี่ ผู้โดยสารไม่ต้องคอยนาน ให้บริการตั้งแต่ตีห้าครึ่งถึงเที่ยงคืนทุกวัน

รถไฟใต้ดินกรุงโซล ใช้ Upass สมาร์ทการ์ดทันสมัยแทนตั๋วเดินทาง สถานีต่างๆ ก็มาพร้อมเทคโนโลยี 4G และไว-ไฟ ที่หาได้ง่าย รถไฟเกือบทุกขบวนมีทีวีดิจิตอล และทุกๆ ที่นั่งจะมีระบบปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม เช่น หน้าหนาวก็จะปรับให้อุ่นขึ้น

และเพื่อให้การคมนาคมทุกสายเชื่อมได้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ องค์การการขนส่งแห่งกรุงโซลได้ว่าจ้างนักคณิตศาสตร์ให้ทำงานประสาน รถไฟใต้ดิน รถบัส และ ตารางการเดินรถต่างๆ ให้อยู่ในตารางเวลาเดียวกันและทำงานสัมพันธ์กันทั้งหมด

 

 

riyadh

3. ริยาด

เมืองหลวงของประเทศซาอุดิอาระเบีย มีแผนสร้างรถไฟฟ้าที่กินระยะทาง 176 กิโลเมตร 85 สถานี ในต้นปี 2014 โดยจะเชื่อมใจกลางเมืองเข้ากับมหาวิทยาลัย สนามบิน และเขตเศรษฐกิจการค้าต่างๆ

รถไฟขบวนแรก ถูกวางว่าจะเปิดให้บริการปี 2019 และจะกลายเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะใช้กำลังคนการเตรียมการก่อสร้างหลายหมื่นคน

ซาฮา ฮาดิด สถาปนิกที่รับผิดชอบสร้างสถานี the King Abdullah Financial District หนึ่งในสถานีหลักเพื่อต่อไปยังสถานีย่อยต่างๆ เผยว่าเฉพาะสถานีนี้จะมี 6 ชานชาลา อยู่ภายในตึก 4 ชั้น และเชื่อมต่อกับอีก 3 สถานี นอกจากนี้ด้านหน้าอาคารสถานี ถูกออกแบบให้ช่วยลดความร้อนจากทะเลทรายและแสงแดดด้วย

curitiba

 

4. คูริติบา 

รถเมล์ด่วนพิเศษ หรือ BRT ครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นในประเทศบราซิล ย้อนกลับไปในปี 1974 บราซิลเริ่มมีบัสเลนใช้ครั้งแรกย่านถนนใจกลางเมือง และ ปี 1980 ระบบขนส่งของคูริติบา รถเมล์ด่วนพิเศษก็ถูกเพิ่มเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในการจราจรชั้นใน ก่อนจะเปิดให้บริการจริงพร้อมเปิดชานชาลาในปี 1992

ในเมืองอื่นๆ อย่าง พอรโต อะเลเกร รถเมล์ที่ยาวขนาด 3 คันต่อกันเพื่อรองรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก หรือเลนด่วนสำหรับรถโดยสารสาธารณะในเมืองเซาเปาโล

medellin

5. เมเดลลิน 

เมเดลลิน เมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของประเทศโคลอมเบีย รถไฟใต้ดินที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องความสะอาด และมีประสิทธิภาพ ที่ให้บริการวันละประมาณ 500,000 คน ทั้งนี้ในแต่ละปี ระบบรถไฟใต้ดินดินช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 175,000 ตัน ค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้ 1,500 ล้านดอลลาร์ และลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุได้ 4,000 ล้านดอลลาร์

ส่วนหนึ่งของระบบขนส่งสาธารณะอันมีประสิทธิภาพคือ ‘กระเช้าไฟฟ้า’ ที่พาผู้โดยสารขึ้นลงเขา ไป-กลับ บ้านที่ทำงานได้ง่ายและสะดวก เนื่องจากประชาชนจำนวนไม่ได้น้อยอาศัยตามที่ราบสูงและเนินเขา ทำให้พวกเขาไม่ต้องใช้เวลาการเดินเท้าหรือนั่งรถบัสเป็นชั่วโมงๆ อีกต่อไป

 

LANZHOU

6. หลานโจว

หลานโจว เมืองหลวงของมณฑลกานซู สาธารณรัฐประชาชนจีน มีระบบขนส่งสาธารณะที่ยั่งยืนมาตั้งแต่ปี 2013 คือ รถโดยสารสาธารณะที่เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา และมีคนใช้งานถึงวันละ 150,000 คน ระบบดังกล่าวได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ITDP Sustainable Transport Award ในปี 2014

ในสถานีเดียวกัน รถโดยสารสามารถจอดได้ทั้ง 2 ด้านของสถานี  เมื่อเทียบกับรถรางที่เคยใช้สมัยก่อน รถโดยสารปัจจุบันกินความยาวเพียงครึ่งหนึ่งของสถานีเท่านั้น นอกจากนี้การปรับที่จอดรถ ปันพื้นที่ให้จักรยาน ก็เป็นโครงการที่วางไว้ในอนาคต

paris

7. ปารีส

รถไฟใต้ดินที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นรถไฟที่ได้ชื่อว่าทำงานหนักมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองรับผู้โดยสารวันละ 4.5 ล้านคน และระยะห่างระหว่างสถานีนั้นใกล้กว่าที่อื่นในโลก โดยระยะทางที่ให้บริการ 41 ตารางกิโลเมตรแต่มีสถานีมากถึง 245 สถานี

มีการใช้ตั๋วโดยสารแบบสมาร์ทการ์ด เรียกว่า Navigo ที่ใช้ได้ทั้งรถไฟ รถโดยสาร รถไฟใต้ดิน และ รถราง ซึ่งระบบคมนาคมแต่ละชนิดถูกรวมศูนย์ในปี 2001 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนให้มากขึ้น

 

**************************

ที่มา : worldcrunch.com

สนับสนุนโดย

Author

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
หญิงแกร่งที่ทำงานทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านให้กับ WAY ถ้าเป็นนักฟุตบอลนี่คือผู้เล่นผู้จัดการทีมที่มีประสบการณ์ในสายงานข่าว ทั้งคลุกคลี สัมภาษณ์ บันเทิง ไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้การเป็นคุณแม่ซึ่งมีลูกสาวย่างเข้าวัยรุ่นยังช่วยส่งเสริมให้สามารถปั่นงานด้านเด็กและเยาวชนอย่างเชี่ยวชาญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า