สมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อ พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์

หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. … เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 สมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย (Asia Internet Coalition: AIC) ได้ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ว่า “พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวได้นิยามขอบเขตด้วยภาษาที่คลุมเครือและขาดการป้องกันในด้านความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคลและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติที่อนุญาตให้มีการใช้อำนาจในการเข้าถึงและยึดข้อมูล รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยปราศจากกฎหมายควบคุมที่เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การใช้อำนาจในการควมคุมการสื่อสารในโลกไซเบอร์ โดยอ้างถึงประเด็นภาวะฉุกเฉิน การป้องกัน ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลขององค์กรได้” 

สมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย (Asia Internet Coalition: AIC) คือ องค์กรความร่วมมือที่มีสมาชิกประกอบไปด้วย Apple, Facebook, Google, Amazon, LINE, LinkedIn, Airbnb, Twitter, Yahoo, Expedia และ Rakuten

 

แถลงการณ์จาก AIC กรณีพระราชบัญญัติไซเบอร์ โดย เจฟ เพน (Jeff Paine) ประธานบริหารสมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย 

สมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียรู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อกรณีการลงมติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการเห็นชอบ พ.ร.บ.ไซเบอร์ ที่เน้นหนักถึงวาระความมั่นคงของชาติ แทนที่จะเป็นความพยายามป้องกันอันตรายในโลกไซเบอร์

การป้องกันความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตคือวาระสำคัญสูงสุด อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวได้นิยามขอบเขตด้วยภาษาที่คลุมเครือและขาดการป้องกันในด้านความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคลและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติที่อนุญาตให้มีการใช้อำนาจในการเข้าถึงและยึดข้อมูล รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยปราศจากกฎหมายควบคุมที่เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การใช้อำนาจในการควบคุมการสื่อสารในโลกไซเบอร์ โดยอ้างถึงประเด็นภาวะฉุกเฉิน การป้องกัน ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลขององค์กรได้

ทางเราได้ทำการทักท้วงไปยังคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (National Cyber Security Committee: NCSC) ว่าการออกกฎหมายนั้นควรมีตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน และภาคประชาชนสังคม ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ เข้าประชุมหารือร่วมด้วย เพื่อความโปร่งใสและเพื่อให้มีการถ่วงดุลอำนาจ

อนึ่ง ทางสมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียยังคงยินดีที่จะมีความร่วมมือกับทางรัฐบาลไทย ในฐานะผู้วิพากษ์วิจารณ์เพื่อการพัฒนา จัดการความมั่นคงทางไซเบอร์ เพื่อให้เศรษฐกิจดิจิตัลเป็นไปตามวิสัยทัศน์ ไทยแลนด์ 4.0 ในท้ายที่สุด

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า