‘สนามบินดอนเมือง’ ติดอันดับสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก

ความกลัวแรกๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างโดยสารด้วยเครื่องบิน คงหนีไม่พ้นความกังวลว่าเครื่องบินอาจจะตกหรือเกิดระบบขัดข้องระหว่างไฟลต์ เมื่อเครื่องบินลงจอดที่ท่าอากาศยาน ดูเหมือนว่าความกลัวเหล่านั้นจะหายเป็นปลิดทิ้ง เสมือนว่าเราถึงจุดหมายปลายทางอย่างสวัสดิภาพ 

‘สนามบิน’ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ขึ้นชื่อว่าอันตราย เนื่องจากเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดจลาจล การปล้นชิงทรัพย์ การโจมตีของผู้ก่อการร้าย รวมไปถึงถูกใช้เป็นข้อต่อรองทางการเมือง นั่นทำให้สนามบินเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่มีมาตรการป้องกันสูง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามันปลอดภัยแล้ว
ข้อมูลจากเว็บไซต์ the boutique adventurer เผยแพร่บทความเกี่ยวกับ 29 สนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก หนึ่งในนั้น ‘สนามบินดอนเมือง’ จากประเทศไทย ติดอันดับที่ 26 จาก 29 อันดับ โดยให้เหตุผลว่า สนามกอล์ฟที่เปิดให้บริการอยู่ระหว่างรันเวย์ที่สนามบินอาจเพิ่มความอันตรายให้กับผู้ใช้บริการได้ และปัญหาน้ำท่วมเรื้อรังที่อาจส่งผลต่อการลงจอดและนำเครื่องบินขึ้น อีกทั้งสนามบินดอนเมืองยังถือเป็นหนึ่งในสนามบินที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งระบบของสนามบินอาจไม่ได้รับการดูแลหรือพัฒนาให้ทันสมัยและปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ

ลักษณะที่ปลอดภัยของสนามบิน

ระดับความสูงของพื้นที่

ระดับความสูงของพื้นที่สนามบินส่งผลต่อการนำเครื่องขึ้นหรือลงจอด ดังนั้นพื้นที่รันเวย์และสนามบินไม่ควรอยู่บริเวณพื้นที่สูง หากสนามบินอยู่บนพื้นที่สูง เครื่องบินอาจต้องเพิ่มความเร็วในการลงจอดมากขึ้น ส่งผลให้ต้องเพิ่มระยะการม้วนตัวของเครื่องบินระหว่างการลงจอด ซึ่งนั่นอาจหมายถึงการเพิ่มความเสี่ยงในการลงจอดมากขึ้น

สภาพอากาศ

อย่างที่เราทราบกันดี สภาพอากาศที่แย่ เช่น ลมกระโชกแรง อาจทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศได้ และส่งผลต่อการนำเครื่องขึ้นหรือลงจอด 

ระยะทางของรันเวย์

โดยปกติพื้นที่ที่เหมาะกับการลงจอดของเครื่องบินจะอยู่ที่ระยะทางประมาณ 1,800-2,400 เมตร ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องบิน หากสนามบินตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด อาจส่งผลต่อการลงจอดของเครื่องบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ 

ตำแหน่งของรันเวย์

บริเวณรันเวย์ของสนามบินต้องไม่ใกล้ชิดกับพื้นที่ที่อาจเพิ่มอุปสรรคในการลงจอด พื้นดินบริเวณนั้นต้องแข็งแรง ไร้สิ่งกีดขว้าง หรือไม่อยู่ใกล้กับที่พักอาศัยของผู้คนจนเกินไป 

สถานการณ์ทางการเมือง

สถานการณ์ทางสังคมหรือการเมืองอาจส่งผลต่อการเกิดจลาจลในสนามบิน รวมไปถึงการชุมนุมประท้วงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสาร อีกทั้งยังทำให้ไฟลต์บินเกิดความล่าช้าตามมา

29 อันดับสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก

1. ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ (ประเทศญี่ปุ่น)
2. ท่าอากาศยานนานาชาติบาร์รา (สกอตแลนด์)
3. ท่าอากาศยานนานาชาติเวลลิงตัน (นิวซีแลนด์)
4. ท่าอากาศยานนานาชาติพรินเซสจูเลียนา (เซนต์มาร์ติน)
5. ท่าอากาศยานลูกลา (เนปาล)
6. ท่าอากาศยานพาโร (ภูฏาน)
7. ท่าอากาศยานซานโตส ดูมองต์ (บราซิล)
8. สถานีแมคเมอร์โด (แอนตาร์กติกา)
9. ท่าอากาศยานสวาลบาร์ด (นอร์เวย์)
10. ท่าอากาศยานกุสตาฟที่ 3 (แคริบเบียน)
11. ท่าอากาศยานซาบา (ดัตช์แคริบเบียน)
12. ท่าอากาศยานกิสบอร์น (นิวซีแลนด์)
13. ท่าอากาศยานมาเดรา (โปรตุเกส)
14. ท่าอากาศยานนาร์ซาร์ซวก (กรีนแลนด์)
15. ท่าอากาศยานนานาชาติยิบรอลตาร์ (ยิบรอลตาร์)
16. ท่าอากาศยานนานาชาติซานดิเอโก (แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา)
17. ท่าอากาศยานนานาชาติตันคอนติน (ฮอนดูรัส)
18. ท่าอากาศยานแอสเพน/พิตคิน เคาน์ตี้ (โคโลราโด สหรัฐอเมริกา)
19. ท่าอากาศยานนานาชาติอเลฮานโดร เวลาสโก อัสเตเต กุสโก (เปรู)
20. ท่าอากาศยานไคตั๊ก (ฮ่องกง)
21. ท่าอากาศยานอะกัตติ (อินเดีย)
22. ท่าอากาศยานนานาชาติคลีฟแลด์ ฮอปคินส์ (คลีฟแลนด์ สหรัฐอเมริกา)
23. ท่าอากาศยานภูมิภาคเทลลูไรด์ (โคโลราโด สหรัฐอเมริกา)
24. ท่าอากาศยานคองโกฮาส-เซาเปาโล (บราซิล)
25. ท่าอากาศยานกูร์เชเวล (ฝรั่งเศส)
26. ท่าอากาศยานดอนเมือง (ประเทศไทย)
27. ท่าอากาศยานเกาะเตียวมัน (มาเลเซีย)
28. ท่าอากาศยานชิมลา (อินเดีย)
29. ท่าอากาศยานนานาชาติดามัสกัส (ซีเรีย)

ที่มา:

Author

กนกวรรณ เชียงตันติ์
ผู้ถูกเลือกให้ปวดหลัง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า