ในภาวะวิกฤติอย่างการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 ครั้งนี้ มีอย่างน้อย 2 สิ่งที่จำเป็นในการดูแลตนเองและผู้อื่น อย่างแรกคือ ข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ อย่างหลังคือน้ำใจที่จะดูแลคนรอบข้าง และสังคม
เนื้อหาต่อไปนี้ เป็นการแปลบางส่วนมาจากหนังสือ The Coronavirus Prevention Handbook: 101 Science Based Tips that Could Save Your Life รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสถานการณ์ระบาด โดยคณะทำงานทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่รับมือกับการระบาดในเมืองอู่ฮั่น
หลังจาก WAY ได้ป่าวประกาศขอระดมแรงในการแปลหนังสือเล่มนี้ มีผู้อาสาออกแรงช่วยแปลส่วนต่างๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในภาวะแบบนี้
เพราะข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็น และน้ำจิตน้ำใจก็เป็นสิ่งสำคัญ
โรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชน (Community-Acquired Pneumonia)
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชนคืออะไร
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชน คือ
(1) เริ่มต้นมีอาการขึ้นในชุมชน
(2) ลักษณะทางคลินิกหรืออาการทางคลินิกของโรคปอดบวม มีดังนี้
- เริ่มมีอาการไอ มีเสมหะ หรือ อาการกำเริบของโรคทางเดินหายใจเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยมีหรือไม่มีเสมหะที่มีหนอง/อาการเจ็บหน้าอก/หายใจลำบาก/ไอเป็นเลือด
- มีไข้
- มีการรวมตัวกันของเนื้อเยื่อปอด และ/หรือ เมื่อฟังเสียงปอดแล้ว มีเสียงที่เกิดจากความชื้นของเหลว (wet rales)
- นับจำนวนเซลล์ของเม็ดเลือดขาว (WBC) ได้สูงกว่า 10 × 109/ L มากกว่า 4 × 109/L โดยมีหรือไม่มีความผิดปกติของนิวโทรฟิลนิวเคลียส (a left shift of neutrophil nucleus/a sign of immature neutrophils)
(3) ลักษณะภาพถ่ายทางการแพทย์โดยการตรวจด้วยรังสี เผยให้เห็นลักษณะของปอดที่เป็นปื้นๆ (patchy infiltrates) เกิดภาพเงาสีขาวทึบคล้ายก้อนสำลีของถุงลมปอดรวมตัวกันมีขนาดใหญ่ที่มีลักษณะที่เรียกว่า 'lobular/segmental' หรือพยาธิสภาพของชั้นที่อยู่ระหว่างเซลล์เยื่อบุถุงลมปอด และเส้นเลือดขนาดเล็กในปอดมีการเปลี่ยนแปลง โดยจะมีหรือไม่มีน้ำในช่องของเยื่อหุ้มปอด (interstitial changes with or without pleural effusion) ก็ตาม
หากเกิดรายการใดๆ ตาม (2) และมีหลักฐานสนับสนุนจากภาพถ่ายรังสีวินิจฉัย การวินิจฉัยโรคปอดบวมที่ติดเชื้อจากชุมชน อาจเกิดขึ้นได้หลังจากที่ได้วินิจฉัยตัดเอาโรคที่ไม่ติดเชื้อออกไปแล้ว
โรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชนเกิดจากเชื้อก่อโรคใด
เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ รวมถึงแบคทีเรีย ไวรัส หรือการรวมกันของแบคทีเรียและไวรัส เชื้อก่อโรคชนิดใหม่ เช่น โคโรนาไวรัส (Coronavirus) สามารถทำให้เกิดโรคระบาด หรือโรคระบาดใหญ่/ทั่วโลก ของโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ
แบคทีเรียเป็นสาเหตุหลักของโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชน Streptococcus pneumonia เป็นหนึ่งในแบคทีเรียที่พบมากที่สุดที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคปอดอักเสบ เชื้อแบคทีเรียก่อโรคกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ กลุ่ม Mycoplasma กลุ่ม Chlamydia กลุ่ม Klebsiella pneumoniae กลุ่ม Escherichia coli และกลุ่ม Staphylococcus aureus และยังมีรายงานการพบโรคปอดบวมที่เกิดจากเชื้อก่อโรคในกลุ่มของ Pseudomonas aeruginosa และ Acinetobacter baumannii ด้วย
อัตราการตรวจพบเชื้อไวรัสในผู้ป่วยปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชนกลุ่มผู้ใหญ่ในประเทศจีน จะอยู่ที่อัตราร้อยละ 15 ถึง 34.9 รวมไวรัสไข้หวัดใหญ่ในกลุ่ม Haemophilus influenzae ที่ครอบคลุมจุดสูงสุดในการระบาด
เชื้อไวรัสก่อโรคอื่นๆ ได้แก่ ไวรัสกลุ่ม Parainfluenza กลุ่ม Rhinovirus กลุ่ม Adenovirus กลุ่ม Human metapneumovirus กลุ่ม Respiratory syncytial virus และกลุ่มโคโรนาไวรัส (Coronavirus) มีอยู่ประมาณร้อยละ 5.8 ถึง 65.7 ของผู้ป่วย จากผลการทดสอบตรวจพบไวรัส มีเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อก่อโรคในกลุ่ม Atypical ร่วมอยู่ด้วย
โรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชนแพร่กระจายได้อย่างไร
ในทางทฤษฎีแล้ว เชื้อก่อโรคทุกชนิดที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชน สามารถที่จะแพร่กระจายจากคนสู่คน (human-to-human transmission)
เส้นทางของการแพร่กระจายจากแหล่งที่มาของการติดเชื้อไปสู่กลุ่มประชากรที่มีความไวในการติดโรค ได้แก่ การแพร่กระจายผ่านทางฝอยละอองขนาดใหญ่ (droplet transmission) การแพร่กระจายโดยการสัมผัส (contact transmission) และการแพร่กระจายผ่านทางอากาศ (airborne transmission)
นอกจากอากาศหนาวเย็นแล้ว ปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่น การเคลื่อนที่ของประชากร (ตัวอย่างเช่น การอพยพขนาดใหญ่ในเทศกาลฤดูใบไม้ผลิในประเทศจีน) ทำให้โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจมีโอกาสแพร่กระจายมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะแพร่กระจายผ่านทางฝอยละอองที่ปล่อยออกมาจากผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะของโรคเมื่อพวกเขาไอหรือจาม
ปัจจัยเสี่ยงของการแพร่กระจายของเชื้อโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชนมีอะไรบ้าง
ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวเป็นฤดูกาลที่มีแนวโน้มให้เกิดความชุกของเชื้อไวรัสกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ และอาจพบเชื้อไวรัสอื่นๆ ที่ทำให้ติดเชื้อในระบบหายใจ จึงทำให้เป็นการยากที่จะแยกแยะว่า เป็นการติดเชื้อจากโรค COVID-9 หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนอื่นๆ ในระยะต้นของการติดเชื้อ
แหล่งที่มาหลักของการติดเชื้อในโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชน คือบรรดาผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย ผู้ที่มาเยี่ยม และสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตของผู้ป่วยเอง
การแพร่กระจายและผลของโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชนนี้ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่อไปนี้
- ปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ สารมลพิษทางอากาศ ความแออัดยัดเยียดในพื้นที่จำกัด ความชื้น สุขอนามัยภายในอาคาร/ห้อง ฤดูกาล และอุณหภูมิ
- การเข้าถึงและประสิทธิผลของการให้บริการด้านสาธารณสุข และมาตรการป้องกันการติดเชื้อต่างๆ เช่น การเข้าถึงและความพร้อมของวัคซีน และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการให้บริการสาธารณสุข และความสามารถในการแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อ
- ปัจจัยต่างๆ ของผู้ป่วย ได้แก่ อายุ นิสัยการสูบบุหรี่ ความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้ สภาพภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย สภาวะทางโภชนาการ ข้อมูลการติดเชื้อก่อนหน้าหรือการติดเชื้อร่วมกับเชื้อก่อโรคอื่นๆ และสุขภาพโดยรวม
- ลักษณะของเชื้อก่อโรค ได้แก่ เส้นทางของการแพร่กระจายของเชื้อโรค ความสามารถในการติดเชื้อ ความรุนแรงในการทำให้เกิดโรค และประชากรของจุลินทรีย์ (การเพาะเลี้ยงเชื้อ)
เราจะป้องกันโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชนได้อย่างไร?
การควบคุมแหล่งที่มาของการติดเชื้อ: เมื่อมีการไอหรือจาม ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน ควรปิดจมูกและปากของตน ด้วยแขนหรือวัสดุอื่นๆ (ผ้าเช็ดหน้า กระดาษชำระ หรือหน้ากากอนามัย) เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อก่อโรคที่ผ่านทางฝอยละออง
หากได้สัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจเหล่านั้น ให้ทำความสะอาดมือหรือล้างมือทันที และล้างมือให้บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน
ข้อควรระวังส่วนบุคคลมีดังนี้:
- ควรกินอาหารให้มีสารอาหารครบถ้วนได้สัดส่วน เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับสารอาหารที่เพียงพอตามหลักโภชนาการ และการรักษาสุขภาพช่องปากจะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้
- ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- เลิกสูบบุหรี่ จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ และดูแลสภาพจิตใจให้ดี
- ทำให้มั่นใจว่ามีการระบายอากาศในห้อง/อาคาร ได้แก่ การเปิดห้องเพื่อระบายอากาศโดยธรรมชาติ และ/หรือการใช้พัดลมดูดอากาศเพื่อทำให้การไหลเวียนของอากาศดีขึ้น
- รับการฉีดวัคซีน (ถ้ามี)
เส้นทางการแพร่กระจายของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV)
ลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค COVID-19 คืออะไร
การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เคยเกิดขึ้น 3 ระยะ ได้แก่ การระบาดในท้องถิ่น (local outbreak) การระบาดระดับการสื่อสารในชุมชน (community communication) และระยะการระบาดในวงกว้าง ที่เรียกว่า โรคระบาด (epidemic)
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายของโรค: ในระยะแรกของการแพร่ระบาดจะมีระยะฟักตัวเฉลี่ย 5.2 วัน ระยะเวลาสองเท่าของการระบาดของโรค คือ 7.4 วัน เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็น 2 เท่า 7.4 วัน ทุกๆ ช่วงเวลาเฉลี่ยต่อเนื่อง (ช่วงเวลาเฉลี่ยของการแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง) คือ 7.5 วัน ดัชนีแสดงค่าจำนวนคนเฉลี่ยที่ผู้ป่วยหนึ่งคนจะแพร่เชื้อได้ (Basic Regeneration Index, R0) อยู่ที่ประมาณ 2.2-3.8 หมายถึง ผู้ป่วยแต่ละรายจะทำให้มีผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 2.2-3.8 คน
ช่วงเวลาเฉลี่ยหลักของเคสผู้ป่วยที่มีอาการความรุนแรงปานกลาง ระยะเวลาจากเริ่มต้นจนมีอาการกระทั่งไปโรงพยาบาล คือ 5.8 วัน และตั้งแต่เริ่มต้นมีอาการจนถึงเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล คือ 12.5 วัน สำหรับกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ช่วงเวลาเฉลี่ยจากการเริ่มต้นติดเชื้อไวรัสจนถึงเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล คือ 7 วัน และตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัส คือ 8 วัน สำหรับกรณีผู้เสียชีวิต ตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสนานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (9 วัน) และจากเริ่มมีอาการจนถึงเสียชีวิต คือ 9.5 วัน
การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้ผ่านไปแล้วทั้ง 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะของการระบาดในพื้นที่ (กรณีของระยะนี้ส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับการติดต่อผ่านการสัมผัสกรณีของตลาดอาหารทะเล); 2) ระยะของการแพร่ระบาดในระยะการสื่อสารของชุมชน (การแพร่ระบาดในการสื่อสารระหว่างบุคคล และการแพร่ระบาดแบบกลุ่มในชุมชนและครอบครัว); 3) ระยะของการแพร่ระบาดในวงกว้าง (การแพร่ระบาดกระจายตัวอย่างรวดเร็ว ผ่านการไหล/เคลื่อนที่ของประชากรจำนวนมาก ไปทั่วประเทศของจีน และแม้แต่ทั่วโลก)
เส้นทางในการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) คืออะไร
ในปัจจุบันมีความเชื่อกันว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่จะผ่านการแพร่กระจายของฝอยละอองจากทางเดินหายใจ (respiratory droplets) และการสัมผัส (contacts) แต่มีความเสี่ยงที่จะมีการแพร่กระจายของเชื้อผ่านทางการปนเปื้อนในอุจจาระของผู้ป่วย (fecal-oral transmission) การแพร่กระจายเชื้อผ่านทางละอองลอย (aerosol transmission) การแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก (mother to child transmission) และช่องทางอื่นๆ ยังไม่ได้รับการยืนยัน
- การแพร่กระจายเชื้อผ่านฝอยละอองจากระบบทางเดินหายใจ (respiratory droplets transmission) เป็นช่องทางการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการสัมผัสโดยตรง เชื้อไวรัสถูกส่งผ่านทางฝอยละอองหยดน้ำที่สร้างขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีการไอ จาม หรือพูดคุย และผู้ที่มีความไวต่อการติดเชื้ออาจติดเชื้อโรคได้จากการสูดดมฝอยละอองที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่เข้าไป
- การแพร่กระจายเชื้อผ่านทางอ้อม (indirect contact transmission) ไวรัสสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคโดยทางอ้อมผ่านการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ ฝอยละอองที่มีเชื้อไวรัสปนอยู่จะตกลงไปติดอยู่บนพื้นผิวของวัตถุ ซึ่งอาจถูกสัมผัสด้วยมือ เชื้อไวรัสจากมือที่ติดเชื้อจากการไปสัมผัสเชื้อโรคอาจส่งผ่านไปยังเยื่อบุ (หรือ mucosae) ของช่องปาก จมูก และดวงตา ของบุคคลที่สัมผัสเชื้อนั้น และนำไปสู่การติดเชื้อ
- เชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่ยังมีชีวิตอยู่ ถูกตรวจสอบพบในอุจจาระของผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อนี้ ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะมีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสผ่านการปนเปื้อนในอุจจาระของผู้ป่วย
- การแพร่กระจายผ่านทางละอองลอย (aerosol transmission) เมื่อฝอยละอองแขวนลอยอยู่ในอากาศและมีการเสียน้ำออกไป เชื้อก่อโรคก็เหลืออยู่ในแกนกลางของฝอยละอองนั้น (เช่น ละอองลอย) ละอองลอยที่มีเชื้อโรคเกาะอยู่ที่แกนกลางนั้น สามารถบินไปได้ไกล เป็นสาเหตุให้มีการแพร่กระจายของเชื้อโรคในระยะไกลได้ ซึ่งเรียกลักษณะการแพร่กระจายแบบนี้ว่า การแพร่กระจายผ่านทางละอองลอย (aerosol transmission) ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้ สามารถแพร่กระจายผ่านละอองลอยได้
- การแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก ลูกของมารดาที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้รับการยืนยันว่า ติดเชื้อจริงจากการตรวจสอบด้วยการเก็บตัวอย่างเชื้อที่ลำคอ (throat swabs) หลังจากการเกิด 30 ชั่วโมง สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า เชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทารกแรกเกิดผ่านทางแม่สู่ลูก แต่ยังต้องการงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานจำเป็นมากกว่านี้ ในการต้องยืนยันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคตามช่องทางนี้
การแพร่ระบาดผ่านทางละอองฝอย คืออะไร
ละอองฝอย (droplets) โดยทั่วไปแล้ว หมายถึง อนุภาคที่ประกอบด้วยน้ำ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 5 ไมโครเมตร (μm)
ละอองฝอย สามารถเข้าสู่พื้นผิวของเยื่อเมือกภายในร่างกายได้ในระยะทางโดยทั่วไป 1 เมตร เนื่องจากขนาดและน้ำหนักที่ค่อนข้างใหญ่ของละอองฝอย พวกมันไม่สามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นานเกินไป
กระบวนการใดบ้างทำให้เกิดละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจ
- อาการไอ จาม หรือพูดคุย
- ในระหว่างที่มีการใช้วิธีการทำหัตถการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจแบบที่อาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ (invasive respiratory tract procedures) เช่น การดูดเสมหะหรือการส่องกล้องหลอดลม การใส่ท่อช่วยหายใจ การเคลื่อนไหวที่กระตุ้นการไอ รวมถึง การเปลี่ยนตำแหน่งบนเตียงหรือหลังการตบหลังเบาๆ และปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพด้วยวิธีปั๊มหัวใจ ฯลฯ
- เชื้อก่อโรคที่แพร่กระจายมาจากละอองฝอย ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสซาร์ส (SARS Coronavirus) ไวรัสอะเอโน (Adenovirus) ไวรัสไรโน (Rhinovirus) ไมโครพลาสมาแบคทีเรีย (Mycoplasma) แบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (Streptococcus A) และ แบคทีเรียเมนิงโกค็อกคัส (Meningococcus or Neisseria) ที่ทำให้เกิดไข้กาฬหลังแอ่น และโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) ที่เพิ่งจะค้นพบเร็วๆ นี้
การแพร่ระบาดผ่านทางอากาศ (airborne transmission) คืออะไร
การแพร่ระบาดผ่านทางอากาศ (airborne transmission) เป็นที่รู้จักกันว่า การแพร่ระบาดผ่านทางละอองลอย (aerosol transmission) ละอองลอยเป็นสิ่งแขวนลอยของอนุภาคเล็กๆ หรือหยดน้ำขนาดเล็กๆ ที่สามารถแพร่กระจายผ่านทางอากาศได้ โดยทั่วไปแล้วจะมีเกณฑ์พิจารณาว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 μm และเชื้อก่อโรคที่ถูกพามาโดยละอองลอย ยังคงสามารถทำให้ติดเชื้อได้หลังจากแพร่กระจายแขวนลอยมาในอากาศได้เป็นระยะทางไกลๆ การแพร่ระบาดของเชื้อก่อโรคผ่านทางละอองลอยนี้สามารถแพร่ระบาดได้ผ่านการสัมผัสโดยตรง เชื้อก่อโรคที่มากับละอองลอย สามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้
- แพร่ระบาดผ่านละอองลอยในอากาศเท่านั้น ได้แก่ กลุ่มไมโครแบคทีเรียม (Mycobacterium tuberculosis) ที่ทำให้เกิดโรควัณโรค กลุ่มเชื้อรารูปแท่ง (Aspergillus) ที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ
- แพร่ระบาดผ่านหลายช่องทางแต่ส่วนใหญ่ผ่านมาทางอากาศ ได้แก่ ไวรัสหัด ไวรัสงูสวัด (Varicella-zoster)
- แพร่ระบาดผ่านช่องทางอื่นๆ แต่ยังสามารถแพร่ระบาดผ่านทางอากาศในสถานการณ์กรณีพิเศษเท่านั้น เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การเปิดช่องทางเดินหายใจเพื่อดูดเสมหะ และขั้นตอนอื่นๆ ที่ทำให้เกิดละอองลอย ได้แก่ ไวรัสไข้ทรพิษ โคโรนาไวรัสซาร์ส (SARS Coronavirus) โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และโคโรนาไวรัส และอื่นๆ
การแพร่ระบาดผ่านทางการสัมผัส คืออะไร
การแพร่ระบาดผ่านทางการสัมผัส (contact transmission) หมายถึง การแพร่กระจายของเชื้อก่อโรคผ่านการสัมผัสทางตรงหรือทางอ้อม ผ่านสิ่งไม่มีชีวิตที่เป็นตัวกลางในการแพร่เชื้อให้กับคนได้ (fomites or pathogen-carrying objects)
(1) การสัมผัส/ติดต่อทางตรง เชื้อก่อโรคจะแพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับเยื่อเมือกหรือผิวหนังของผู้ที่ติดเชื้อ
- เลือดหรือของเหลวในเลือดเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อเมือกหรือทางผิวหนังที่สัมผัสโดยตรง (ส่วนใหญ่เป็นไวรัส)
- การแพร่กระจายเกิดมาจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อก่อโรคบางชนิดซึ่งโดยทั่วไปมักมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต ฯลฯ
(2) การสัมผัส/ติดต่อ ทางอ้อม เชื้อก่อโรคจะแพร่กระจายผ่านวัตถุที่ปนเปื้อนหรือคนที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ เชื้อก่อโรคของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร/ลำไส้ ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการสัมผัสทางอ้อมนี้
(3) เชื้อก่อโรคสำคัญอื่นๆ ที่ส่งแพร่กระจาย/ติดต่อผ่านทางอ้อม ได้แก่ เชื้อดื้อยากลุ่ม MRSA (Benzoxazole/methicillin-resistant Staphylococcusaureus) เชื้อดื้อยาในกลุ่มของ VRE (Vancomycin-resistant Enterococcus) เชื้อที่ทำให้เกิดโรคท้องเสียและลำไส้ใหญ่อักเสบที่รุนแรง (Clostridium difficile)
การสัมผัสแบบใกล้ชิด คืออะไร
ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด หมายถึง บุคคลที่มีการสัมผัส/ติดต่อกับผู้ป่วยผู้ที่ได้รับการยืนยันหรือสงสัยว่าติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (2019-nCoV) รวมถึงสถานการณ์ต่อไปนี้
- ผู้ที่อาศัยอยู่ ศึกษา ทำงาน หรือมีรูปแบบอื่นๆ ที่ใกล้ชิดติดต่อกับผู้ป่วย
- บุคลากรทางการแพทย์ สมาชิกในครอบครัวหรือคนอื่นๆ ที่มีการสัมผัส/ติดต่ออย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยไม่สวมอุปกรณ์ป้องกัน หรือมีการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ ในระหว่างการตรวจวินิจฉัย การทำหัตถการ การให้การรักษาพยาบาล และการมาเยี่ยม
- ผู้ป่วยรายอื่นและคนที่มาด้วยกันกับเขาเหล่านั้น ที่แบ่งปัน/ใช้พื้นที่หอผู้ป่วยเดียวกันกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
- ผู้ใดก็ตามที่ใช้พื้นที่ในการขนส่งหรือใช้ลิฟต์ตัวเดียวกันกับผู้ป่วย
- ผู้ใดก็ตามที่ถือว่าได้ผ่านการตรวจสอบ ณ จุดที่ตรวจสอบแล้ว
เหตุใดผู้ที่ได้สัมผัส/ติดต่ออย่างใกล้ชิด จะถูกแยกตัวในทางการแพทย์เพื่อสังเกตอาการภายใน 14 วัน
ปัจจุบันนี้ ระยะเวลาในการฟักตัวเพื่อสังเกตอาการทางการแพทย์ที่ยาวที่สุดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 คือ 14 วัน
การตรวจสอบอย่างเข้มงวดของการสัมผัส/ติดต่อใกล้ชิด และการใช้มาตรการป้องกันอื่นๆ เท่าที่จำเป็น ไม่ได้เป็นเพียงการกระทำเพื่อความรับผิดชอบในทางสังคมในเรื่องการสาธารณสุขและความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังเป็นไปตามข้อกำหนดในข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยใช้อ้างอิงจากระยะฟักตัวของโรคที่เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัส (Coronaviruses) อื่นๆ
จากข้อมูลกรณีล่าสุดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) และแนวปฏิบัติเรื่องมาตรการป้องกันและควบคุมในปัจจุบัน กลุ่มผู้ที่การสัมผัส/ติดต่อใกล้ชิด ควรอยู่ภายใต้การแยกตัวเพื่อสังเกตอาการทางการแพทย์ เป็นเวลา 14 วัน ที่บ้านตนเอง