FOOD MANIFESTO: “อาหารชั้นเลิศคือการสร้างระบบสาธารณสุขต้นทุนต่ำ”

 

ไม่ว่าใครก็ล้วนเกี่ยวข้องกับอาหารด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าเกษตรกร หมอ พยาบาล ตำรวจ ทหาร วิศวกร สถาปนิก นักเขียน บรรณาธิการ คนทำงานภาคประชาสังคม หรือกระทั่งนักบวช
นักบวชอาจมองอาหารเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงร่างกาย ทันตแพทย์อาจมองอาหารคืออนาคตของคนรุ่นถัดไป ชาวลาหู่คนหนึ่งอาจมองอาหารคือสิทธิที่มนุษย์ทุกคนพึงมี หมอคนหนึ่งอาจมองอาหารที่ดีคือการสร้างระบบสุขภาพต้นทุนต่ำ
FOOD MANIFESTO คือมุมมองต่ออาหาร คือคำประกาศว่าอาหารประเทศนี้ควรเดินทิศทางไหน คนหนึ่งเป็นทันตแพทย์ คนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คนหนึ่งเป็นคนทำงานภาคประชาสังคม คนหนึ่งทำงานผลักดันเชิงนโยบาย
WAY เดินทางไปยัง 4 จังหวัดทั่วภูมิภาคของประเทศ เชียงราย หนองบัวลำภู นครศรีธรรมราช และกรุงเทพมหานคร อาหารจากมุมมองของแต่ละคนได้แตกแขนงไปสู่เรื่องอื่นๆ ตั้งแต่เรื่องสุขภาพ การบริโภค ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สิทธิ และนโยบายสาธารณะ
แม้ว่ามุมมองต่อเรื่องอาหารของพวกเขาจะมีรายละเอียดที่ต่างออกไป แต่ก็มีจุดร่วมมีเป้าหมายเดียวกัน คือการสร้างความมั่นคงด้านอาหารในวันที่นโยบายด้านอาหารของประเทศกำลังถูกตั้งคำถาม
FOOD MANIFESTO: “อาหารชั้นเลิศคือการสร้างระบบสาธารณสุขต้นทุนต่ำ” คือ 1 ใน 4 ของซีรีส์ FOOD MANIFESTO

 

คำประกาศของหมอ: “อาหารชั้นเลิศคือระบบสุขภาพต้นทุนต่ำ”

กินดีอยู่ดีในความหมายของ จะแฮ ถูกอธิบายออกมาในมุมของผู้ผลิตอาหาร ต้นน้ำของกระบวนการผลิตอาหาร ต้นน้ำทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ

แต่ ‘กินดีอยู่ดี’ ของ ธีรวัฒน์ แดงกะเปา หรือ หมอวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกสวนป่า ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช คือฝันปลายทางของผู้บริโภค คือฝันของนักสาธารณสุขคนหนึ่งที่อยากเห็นระบบสุขภาพต้นทุนต่ำเกิดขึ้นจริงในประเทศ

“ถ้าไม่ต้องซื้อเลย กินดีอยู่ดีแน่นอน ถ้าไม่ไปตลาดหรือไม่ซื้อเลย ปลอดภัยที่สุดแล้ว”

ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าไม่ใช่ทุกคนจะผลิตอาหารเองได้ หมอวัฒน์จึงคาดหวังว่าในชุมชนควรมีกลุ่มเกษตรกรผลิตอาหารที่ผู้บริโภคไว้ใจได้

“ถ้าผมไม่มีเวลาปลูกแต่มีกลุ่มที่ไว้วางใจได้ เช่น มีกลุ่มที่ผลิตอาหารอินทรีย์คอยให้คนในชุมชนบริโภค นอกจากนี้เราควรมีระบบเฝ้าระวังให้คนในชุมชนของเรากินดีอยู่ดี ระบบคอยติดตามว่าสัญญาณตรงนี้ไม่น่าไว้วางใจ ชุมชนตรวจสอบร่วมกัน อันนี้คือกินดีอยู่ดี ถ้าพึ่งตัวเองได้มากที่สุดคือกินดีอยู่ดี ถ้าพึ่งตนเองไม่ได้แต่ชุมชนมีระบบตรวจสอบความปลอดภัย นี่จึงจะกินดีอยู่ดี”

น่าตกใจที่หมอวัฒน์บอกว่า “ถ้าไม่ไปตลาดหรือไม่ซื้อเลย ปลอดภัยที่สุดแล้ว”

น่าตกใจที่หมอฝนบอกว่า “เวลาเลือกซื้อผักผลไม้บางครั้งก็แทบจะเป็นโรคประสาท ไม่รู้จะกินอะไร”

 

อำเภอบางขันเคยมีเกษตรกรปลูกข้าวเพียง 6 ครัวเรือน อาชีพหลักของคนที่นี่คือการทำสวนยางพารา แต่นั่นคือสมัยที่ยางพารากิโลกรัมละ 150 บาท ข้าวจึงไม่มีคุณค่าและมูลค่าให้เกษตรกรปลูก แต่หมอวัฒน์มองเห็นทั้งคุณค่าและมูลค่าระยะยาว นั่นคือข้าวที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและลดรายจ่ายไม่ต้องเสียสตางค์ซื้อ เขาส่งเสริมเกษตรกรสวนยางให้ปลูกข้าวตามร่องยางเหมือนกับที่เคยสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกผักไว้กินเอง กระทั่งวันหนึ่งจำนวนผู้ปลูกข้าวเพิ่มเป็นกว่า 100 ครัวเรือน และราคายางพาราก็ร่วงลงมากิโลกรัมละหลักสิบ ต้นข้าวจึงเริ่มแทงดินขึ้นบนผืนดินที่เคยเป็นสวนยาง ปัจจุบันชุมชนมีการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวบ้านด่านปลิง

 

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกสวนป่า ปลูกพืชผักแทบจะทุกอย่างที่สามารถหากินได้จากถาดผักขนาดมหึมาในร้านข้าวแกงปักษ์ใต้ ยอดมันปู ลูกเหรียง สะตอถูกแขวนอยู่บนกิ่งก้านของลำต้น พื้นที่โดยรอบปลูกไผ่ กระถางไม้ประดับของที่นี่สามารถกินได้ทุกกระถาง โรงปุ๋ยอินทรีย์ เลี้ยงกบ ไก่ เป็ด ปลา มองเพลินจนลืมไปว่านี่คือโรงพยาบาล

 

ธีรวัฒน์ แดงกะเปา หรือ หมอวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกสวนป่า ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช คือฝันปลายทางของผู้บริโภค คือฝันของนักสาธารณสุขคนหนึ่งที่อยากเห็นระบบสุขภาพต้นทุนต่ำเกิดขึ้นจริงในประเทศ

 

อาหารมื้อนี้เป็นการปรุงของชาวอำเภอสวนป่าที่พยายามปรุงรสด้วยเหลือเพียงอย่างเดียว หลีกเลี่ยงซอสปรุงรสต่างๆ แต่ไม่น่าเชื่อว่าอาหารทุกเมนูอร่อยมาก โดยเฉพาะแกงส้มกบ ขากบนี่เบ้อเริ่มเลย

 

ข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารได้รับการสนับสนุนจากผลตรวจการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรพืชผักและผลไม้ที่ประชาชนนิยมบริโภคโดยเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกะหล่ำปลี แตงกวา ผักบุ้งจีน มะเขือเทศ ผักกาดขาวปลี คะน้า ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ กะเพรา และพริกแดง แตงโม มะม่วงน้ำดอกไม้ มะละกอ แก้วมังกร ฝรั่ง และส้มสายน้ำผึ้ง ล้วนแต่พบสารตกค้างทั้งสิ้น

น่าตกใจไปกว่านั้น ผักและผลไม้ซึ่งได้รับตรา Q โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กลับพบสารเคมีตกค้างสูงถึง 57.1 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ผักและผลไม้อินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง Organic Thailand ซึ่งไม่ควรตรวจพบการตกค้างของสารเคมีกลับพบการตกค้างสูงเกินมาตรฐานถึง 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนตัวอย่าง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกสวนป่า จึงปลูกพืชผักแทบจะทุกอย่างที่สามารถหากินได้จากถาดผักขนาดมหึมาในร้านข้าวแกงปักษ์ใต้ ยอดมันปู ลูกเหรียง สะตอถูกแขวนอยู่บนกิ่งก้านของลำต้น พื้นที่โดยรอบปลูกไผ่ กระถางไม้ประดับของที่นี่สามารถกินได้ทุกกระถาง โรงปุ๋ยอินทรีย์ เลี้ยงกบ ไก่ เป็ด ปลา มองเพลินจนลืมไปว่านี่คือโรงพยาบาล

“ถ้าหมอแนะนำให้ชาวบ้านกินอาหารปลอดภัย ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่พอคนมารับบริการที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล กลับไม่มีผักบุ้งสักต้น มะเขือก็ไม่มี มีแต่สนามหญ้า มันไม่น่าจะใช่นะ ถ้าอย่างนั้นเราเริ่มปลูกพืชผักที่ปลอดภัยกินเองดีกว่าไหม เป็นจุดเริ่มต้นชวนคนปลูกพืชผักผลไม้กินเอง”

ชื่อของหมอวัฒน์ปรากฏตามสื่อต่างๆ ในฐานะ ‘คนนอกกรอบ’ ‘คนต้นแบบ’ เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน อสม. แห่งแรกของประเทศไทย โรงเรียนนอกสารบบของกระทรวงศึกษาธิการสำหรับคนขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพจากพื้นที่ต่างๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อาหารคือเรื่องสำคัญของชีวิต อาหารสร้างชีวิต แต่โรงพยาบาลซ่อมชีวิต ในฐานะคนทำงานด้านสาธารณสุขคนหนึ่ง หมอวัฒน์เลือกเดินบนเส้นทางของการสร้างสุขภาพด้วยอาหารที่ปลอดภัย และความรู้เกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง

ต้นกล้าต้นแล้วต้นเล่าจากสถานีอนามัยจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถูกแจกจ่ายไปยังบ้านของชาวบ้านในพื้นที่ วันหยุดราชการหมอวัฒน์ชวนชาวบ้านนำต้นกล้าอย่างต้นมะม่วงหิมพานต์ ต้นขี้เหล็กไปปลูกตามสองข้างทางของถนนในชุมชน เหมือนกับกลุ่มขโมยปลูกต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะต่างประเทศ

อำเภอบางขันเคยมีเกษตรกรปลูกข้าวเพียง 6 ครัวเรือน อาชีพหลักของคนที่นี่คือการทำสวนยางพารา แต่นั่นคือสมัยที่ยางพารากิโลกรัมละ 150 บาท ข้าวจึงไม่มีคุณค่าและมูลค่าให้เกษตรกรปลูก แต่หมอวัฒน์มองเห็นทั้งคุณค่าและมูลค่าระยะยาว นั่นคือข้าวที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและลดรายจ่ายไม่ต้องเสียสตางค์ซื้อ เขาส่งเสริมเกษตรกรสวนยางให้ปลูกข้าวตามร่องยางเหมือนกับที่เคยสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกผักไว้กินเอง กระทั่งวันหนึ่งจำนวนผู้ปลูกข้าวเพิ่มเป็นกว่า 100 ครัวเรือน และราคายางพาราก็ร่วงลงมากิโลกรัมละหลักสิบ ต้นข้าวจึงเริ่มแทงดินขึ้นบนผืนดินที่เคยเป็นสวนยาง ปัจจุบันชุมชนมีการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวบ้านด่านปลิง

ชื่อของหมอวัฒน์ปรากฏตามสื่อต่างๆ ในฐานะ ‘คนนอกกรอบ’ ‘คนต้นแบบ’ เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน อสม. แห่งแรกของประเทศไทย โรงเรียนนอกสารบบของกระทรวงศึกษาธิการสำหรับคนขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพจากพื้นที่ต่างๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

อดีตเคยเป็นไร่ยาง แต่ปัจจุบันเกษตรกรบางส่วนหันมาปลูกพืชผสมผสานตามร่องยาง

ความคิดที่ดีต้องก่อให้เกิดรูปธรรมและขยายผลไปสู่ที่อื่น หมอวัฒน์ขยับขยายแนวคิดและรูปธรรมไปตามเครือข่ายต่างๆ ในส่วนของราชการ ถ้าสวนผักใน รพ.สต.สี่แยกสวนป่า น่าทึ่งแล้ว ที่หน้าโรงพยาบาลอำเภอบางขันก็ต้องเป็นที่สุดของความน่าทึ่ง เพราะมีแปลงนายาวเป็นพรืดหน้าโรงพยาบาล คนบางขันทำนาหน้าโรงพยาบาล ปลูกพืชผักสวนครัวข้างหอพักผู้ป่วย ทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองในโรงพยาบาล พืชผักเหล่านี้จะถูกนำไปปรุงในโรงครัว ส่งต่อให้ผู้ป่วยกินเป็นอาหาร

“คุณมองสิ่งเหล่านี้คุณอาจจะเห็นนาข้าวหรือสวนผัก แต่ผมมองเป็นนิทรรศการที่มีชีวิต คนมานอนที่โรงพยาบาลเห็นว่าหมอพยาบาลปลูกผัก แล้วตัวเองก็กินผักนั้น ผมว่าเขาคงได้คิดบ้างแหละ เขาอาจจะกลับไปริ่เริ่มชักชวนคนที่บ้านปลูกผัก เพราะมานอนอยู่โรงพยาบาล 2-3 คืน เขาอาจซึมซับเนื้อหาที่เราใส่ให้เขาเห็น”

 

ทีมงานของโรงพยาบาลบางขัน พื้นที่ที่รับแนวคิดของหมอวัฒน์ไปพัฒนาต่อ

 

หมอวัฒน์ขยับขยายแนวคิดและรูปธรรมไปตามเครือข่ายต่างๆ ในส่วนของราชการ ถ้าสวนผักใน รพ.สต.สี่แยกสวนป่า น่าทึ่งแล้ว ที่หน้าโรงพยาบาลอำเภอบางขันก็ต้องเป็นที่สุดของความน่าทึ่ง เพราะมีแปลงนายาวเป็นพรืดหน้าโรงพยาบาล คนบางขันทำนาหน้าโรงพยาบาล ปลูกพืชผักสวนครัวข้างหอพักผู้ป่วย ทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองในโรงพยาบาล พืชผักเหล่านี้จะถูกนำไปปรุงในโรงครัว ส่งต่อให้ผู้ป่วยกินเป็นอาหาร

การแพทย์ก็คือการซ่อมสุขภาพ การสาธารณสุขคือการสร้างสุขภาพคน หน้าที่ของหมอวัฒน์คือสร้างสุขภาพคน รักษาคนด้วยความรู้

“ผมคิดว่าสองส่วนนี้ยังไม่สมดุล เราโตไปทางด้านการแพทย์คือการซ่อมสุขภาพเป็นหลัก ซึ่งการซ่อมสุขภาพต้องยอมรับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ผมพยายามจะทำอีกด้านหนึ่งคือการสร้างสุขภาพของคน การรักษาด้วยความรู้ คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าสุขภาพที่ดีไม่ได้อยู่ที่หมอแต่อยู่ที่ตัวเรา นอกจากเขาได้สุขภาพที่ดี มันช่วยลดค่าใช้จ่ายของประเทศนี้ลงไปได้เยอะเลยนะ เรื่องการสร้างสุขภาพเป็นเรื่องที่ควรทุ่มเทมากที่สุด ณ ตอนนี้ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ เราใช้งบการซ่อมสุขภาพมากจนไม่รู้ว่าลิมิตอยู่ตรงไหน”

หลังจากคนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหารที่ปลอดภัยได้แล้ว แนวคิดเรื่อง ‘เฟอร์นิเจอร์สุขภาพประจำบ้าน’ จึงถูกเติมเข้าไปในบ้านของผู้คน

“ในบ้านของชาวบ้านก็จะมีทีวี ตู้เย็น พัดลม หม้อหุงข้าว มีครบเลยนะ นี่คือเฟอร์นิเจอร์อำนวยความสะดวก แต่ถ้าเราถามว่ามีเครื่องวัดความดันไหม มีสายวัดรอบเอวไหม มีเครื่องชั่งน้ำหนักไหม มีปรอทวัดไข้ไหม ไม่มีครับ เพราะเขาไม่รู้ว่าจะมีไว้ทำไม แต่สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตคือสุขภาพนะ ทุกอย่างที่คุณมีในบ้านจะไร้ค่าเลยถ้าสุขภาพไม่ดี ก็ไม่มีประโยชน์เลย

“จะดีไหมที่เราพลิกมิติของการกระทำแบบนี้โดยทำให้เขาไม่ต้องเดินเข้ามาสู่วงจรนี้วงจรของการซ่อมสุขภาพ รักษาชาวบ้านของเราด้วยความรู้ เบาหวานเกิดจากอะไร ความดันเกิดจากอะไร ทุกโรคเกิดจากอะไร คนหายใจปกติหายใจยังไง หัวใจเต้นเท่าไร สอนให้เขาเจาะเลือดวัดน้ำตาลเองได้ สอนให้วัดความดันเองได้ มีแบบบันทึกชีวิตที่บ้านของเขา เขาก็จะตระหนัก ก็กลายเป็นว่าเราไปรักษาเขาด้วยความรู้

“อำเภอบางขันของเราต้องการก้าวไปสู่ระบบสุขภาพต้นทุนต่ำที่รักษาคนด้วยความรู้ ไม่ใช่รักษาคนด้วยยาเพราะยาต้นทุนสูงขึ้นตลอดเวลา รักษาคนด้วยความรู้ต้นทุนมันจะลดลงเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งมันจะนำไปสู่ระบบสุขภาพต้นทุนต่ำตามที่เราคาดหวังเอาไว้”

นี่คือความฝันของหมอวัฒน์ อาหารปลอดภัยเชื่อมโยงเรื่องสุขภาพ วางรากฐานเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ “เพราะเราจะพูดเรื่องสุขภาพโดยไม่เชื่อมมิติอื่น มันก็ไม่ใช่วิถีชีวิต ชีวิตต้องมองให้ครบ เวลาเราทำก็ทำทุกอย่างให้ครบ อย่าใจแคบทำแค่เรื่องสาธารณสุข คนหรือชุมชนไม่ได้แบ่งหรอกว่านี่คือเรื่องสาธารณสุข นี่คือเรื่องเกษตร นี่คือเรื่องมหาดไทย ถ้าเราเอาสาธารณสุขไปอยูในทั้งกระบวนของชีวิตเลย ผมคิดว่ามันเอื้อให้ชุมชนเข้มแข็ง และก้าวเดินไปได้”

 

สนับสนุนโดย

Author

วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์
1 ใน 3 คณะบรรณาธิการหนุ่มของ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า