อุบัติการณ์โรคอ้วน อยู่ใกล้แค่ปลายลิ้น

ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) คือตัวชี้วัดความสมดุลระหว่างน้ำหนักกับส่วนสูงของแต่ละบุคคลเพื่อประเมินระดับไขมันในร่างกาย สามารถคำนวณได้โดยใช้น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง

ตัวเลขที่ได้จะสะท้อนถึงอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เพราะโรคอ้วนคือสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases: NCDs) อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต รวมถึงมะเร็งบางชนิด

รายงานจากวารสารการแพทย์ the New England Journal of Medicine ตีพิมพ์เมื่อเดือนมิถุนายน 2017 ศึกษาเรื่องดัชนีมวลกายของประชากร 195 ประเทศ ตั้งแต่ปี 1980-2015 บ่งชี้ว่า ขณะนี้ประชากรโลกกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ หรือกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก เข้าข่ายน้ำหนักเกิน (Overweight) และเป็นโรคอ้วน (Obesity)

ในจำนวนผู้ที่ถูกระบุเป็นโรคอ้วน เป็นเด็กกว่า 107 ล้านคน เป็นผู้ใหญ่ 603 ล้านคน เฉพาะตัวเลขผู้เสียชีวิตจำนวน 4 ล้านคน ในปี 2015 พบว่า มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) เกิน 25 และกว่า 2 ใน 3 ของคนเหล่านี้เสียชีวิตเพราะโรคเกี่ยวกับหัวใจ

เมื่อหันกลับมามองสถานการณ์โรคอ้วนในกลุ่มประเทศอาเซียน งานวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2011 พบว่า ประชากรในประเทศไทยที่มีค่า BMI เกินกว่า 25 มีสัดส่วนอยู่ที่ 32.2 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียน และความชุกของภาวะอ้วนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การรับมือโรคอ้วนจำเป็นต้องใช้หลายมาตรการควบคู่กัน ทั้งการส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การกำหนดเงื่อนไขการโฆษณาอาหารที่ทำร้ายสุขภาพ การควบคุมด้วยฉลากอาหาร รวมถึงการจัดการทั้งอุตสาหกรรมอาหารทั้งระบบ

เหนืออื่นใดอาจต้องเริ่มต้นที่ตัวเราเอง การคำนวณค่า BMI จึงเป็นวิธีง่ายๆ ขั้นพื้นฐานที่จะช่วยให้แต่ละคนสามารถตรวจสอบสุขภาพเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

สนับสนุนโดย

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

Author

บัว คำดี
จากนักเรียนสายหนังผันตัวมาทำกราฟิกดีไซน์และงานโมชั่น แม่นยำเรื่องจังหวะเวลาแม้กระทั่งการเคี้ยวข้าวทีละคำด้วยความเร็วสม่ำเสมอจนหมดเวลาพักเที่ยง ฝากลายเส้นไว้ในชิ้นงานแนวรักเด็ก รักโลก ละมุนละไม แต่อีกด้านที่ทำให้กองบรรณาธิการต่างเกรงกลัวไม่กล้าแบทเทิลด้วย คือความเอาจริงเอาจังกับตารางเวลา ตรงไปตรงมา ลงจังหวะเน้นเป๊ะตามบาร์แบบชาวฮิพฮอพ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า