1,000 วันในคลิตี้ ยังคงพบสารตกค้างในข้าวปลาอาหาร สายน้ำ และเลือดของเด็ก
1,000 วันคือกรอบเวลาที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) จ่ายค่าชดเชยและฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้
ผลการฟื้นฟูถูกเปิดเผยจากคณะวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร พบค่าตะกั่วปนเปื้อนในผัก ปลา ตะกอนดินในท้องน้ำ สูงเกินมาตรฐาน ประกอบกับรายงานผลเลือดของกระทรวงสาธารณสุข ชี้ชัดว่า ปริมาณตะกั่วเด็กในหมู่บ้านคลิตี้เกินค่ามาตรฐาน 59.3 เปอร์เซ็นต์
คำถามสำคัญจากคณะวิจัยถึงผู้มีส่วนเกี่ยว นั่นคือ หากการฟื้นฟูไม่สำเร็จ ใครจะรับผิดชอบ?



