ภาพ: อนุช ยนตมุติ
Main Way
ว่ากันว่า ‘การโกหก’ นั้นเป็นเรื่องไม่ดีไม่งาม ผิดศีลธรรม สร้างความร้าวฉานให้สังคม แต่เรื่องโกหกก็ยังอยู่ในโลก ยิ่งไปกว่านั้น เรายังอยู่ในยุคสมัยที่การโกหกทำได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน แล้วสังคมก็มีท่าที ‘รับได้’ มากขึ้นเสียด้วย
กองบรรณาธิการ WAY เลยอยากชวนผู้อ่านมานั่งดูการโกหกกันอย่างจริงๆ จังๆ ว่า ทำไมเรื่องบาปๆ แบบนี้จึงมาเกาะขอบเหงือกขอบลิ้นของผู้คนอยู่ได้
ภาพ: อนุช ยนตมุติ
Interview
ดูภายนอก เขาดูเหมือนดีเจคลื่นอีเอฟเอ็มมากกว่าอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาดูเป็นคนรักสุขภาพและชอบออกกำลังกาย และยังสนใจแขนงวิชาที่ชื่อ ลาตินอเมริกันศึกษา อาจารย์ท่านหนึ่งเคยบอกว่า เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ เป็นคนเก่ง รู้เยอะ แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก
เช่นเดียวกับแขนงวิชาที่ชื่อ ‘ลาตินอเมริกันศึกษา’ เป็นแห่งเดียวที่เปิดสอนในประเทศไทย ในทางวรรณกรรม ลาตินอเมริกาคือดินแดนสัจนิยมมหัศจรรย์ ในทางฟุตบอล คนลาตินอเมริกาเล่นฟุตบอลเก่งหาตัวจับยาก ในทางประวัติศาสตร์ก็ถูกชาวยุโรปกดขี่ข่มเหง นี่คือที่มาของการทำความเข้าใจกับลาตินอเมริกา และอาจารย์หนุ่มที่ชื่อเชาวฤทธิ์
Illustration: Nai
Subway
นี่คือเรื่องราวที่มีประวัติศาสตร์สั้นที่สุด – แฮคเกอร์ พวกเขาเพิ่งจะเกิดขึ้นมาบนโลกไม่นาน แต่ดูเหมือนว่าจะทรงอิทธิพลกับโลกของเราเหลือเกิน ในฐานะนักเจาะ ผู้งัดแงะ สิ่งที่คนธรรมดาไม่น่าจะเปิดได้ พวกเขาจึงยืนอยู่บนเส้นด้ายของจรรยาบรรณ ที่ต้องกุมความลับเอาไว้ เช่นเดียวกับช่างทำกุญแจ และจิตแพทย์
ภาพ: ศุภโชค พิเชษฐ์กุล
Face of Entertainment
ถ้าใครชอบดูข่าวพยากรณ์อากาศจะต้องคุ้นหน้า ธนวรรณ มิลินทสูต ผู้ประกาศข่าวพยากรณ์อากาศประจำสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส หน้าตาของเธอดี และเป็นคนสวย แต่เธอไม่เชื่อในความรักเท่ากับอากาศ
เธอว่า “Love is all around นั่นมันไม่จริงหรอก Weather is all around ต่างหากที่เป็นของจริง”