หวยออกวันนี้ 18 กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐลาออก เปิดทางประวิตรขึ้นหัวหน้าพรรค

13.30 น. ของวันที่ 1 มิถุนายน 2563 นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แถลงข่าวกรณีกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ 18 คน ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค ส่งผลให้ตามข้อกำหนดพรรคข้อที่ 15 (3) และตามข้อบังคับพรรค ข้อที่ 15 วรรค 3 กรรมการบริหารพรรคทั้งหมดต้องสิ้นสุด เหลือเพียงตำแหน่งรักษาการ และที่ประชุมพรรคต้องมีการเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ขึ้นทำหน้าที่ 

กรณีนี้สืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายในพรรคพลังประชารัฐที่มีกระแสข่าวอย่างหนักว่า ตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กรรมการบริหารจากปีกของ ‘กลุ่มสามมิตร’ ต้องการกดดันให้มีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคจาก นายอุตตม สาวนายน และ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค เป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐอยู่แล้วให้ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค และให้ นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นเลขาธิการพรรค

เรื่องนี้มาชัดเจนยิ่งขึ้นหลังการปภิปรายและลงมติ พ.ร.ก.กู้เงิน 3 ฉบับ เพียง 1 วัน ที่สุดกระแสข่าวการลาออกของกรรมการบริหารพรรคเกินกึ่งหนึ่งก็เป็นจริง ทั้งนี้การเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ยังไม่มีการกำหนดวันแต่อย่างใด แต่ทั้งหมดต้องอยู่ภายในกรอบ 45 วันตามกฎหมาย

สำหรับรายชื่อกรรมการบริหารพรรค ที่ลาออก 18 คน ประกอบด้วย

  1. นายสันติ พร้อมพัฒน์
  2. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
  3. นายสุพล ฟองงาม
  4. นายธรรมนัส พรหมเผ่า
  5. นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์
  6. นายไผ่ ลิกค์
  7. นายนิโรธ สุนทรเลขา
  8. นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ
  9. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
  10. นายพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์
  11. นายชาญวิทย์ วิภูศิริ
  12. นายสกลธี ภัททิยกุล
  13. นายสัมฤทธิ์ แทนทรัพย์
  14. นายสุรชาติ ศรีบุศกร
  15. นายนิพันธ์ ศิริธร
  16. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
  17. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน

พรรคพลังประชารัฐนับเป็นพรรคการเมืองที่เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็วหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 โดยผู้เชี่ยวชาญหลายท่านมองว่า พรรคพลังประชารัฐเป็นโมเดลที่แตกต่างออกไปจากพรรคที่สืบทอดอำนาจคณะรัฐประหารในอดีต เช่น พรรคสหประชาไท (2514) พรรคสามัคคีธรรม (2535) นั่นคือมีพลังของทุนใหญ่หนุนหลังมหาศาล จนสามารถรวบรวม สส. ได้จำนวนมาก 

อีกทั้งภายใต้กติกาการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรญ 2560 ยังเอื้อให้มีการแตกพรรคได้ง่าย รวมถึงการคำนวณคะแนนเสียงในการเลือกตั้งเปิดโอกาสให้พรรคใหญ่ในระบบอ่อนแอ ดังการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ไม่มีระบบปาร์ตี้ลิสต์ กลุ่มตระกูลการเมืองกลับมามีบทบาทนำ เช่น กลุ่มกำแพงเพชร กลุ่มชลบุรี กลุ่มเพชรบูรณ์ เป็นต้น 

พรรคพลังประชารัฐประสบความสำเร็จอย่างสูงในการรวบรวมผู้แทนจากหลายกลุ่มหลายพื้นที่ โดยเฉพาะตระกูลการเมืองที่มีความสำคัญกับการเมืองในอดีต ซึ่งมีฐานเสียงและเครือข่ายท้องถิ่นแน่นหนา 

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของพรรคพลังประชารัฐครั้งนี้ จึงมิได้เป็นเพียงภาพของพรรคการเมืองหนึ่ง แต่ยังสะท้อนภาพใหญ่ของการเมืองรัฐสภาไทยในยุคที่สืบเนื่องจากรัฐบาล คสช. 

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมจากรายงานเรื่อง ‘6 ปีรัฐประหาร 57: การคืนชีพของการเมืองกลุ่มก๊กที่มีอภิชนาธิปไตยคุมเกม’ 

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า