ตลอดเส้นทางอาชีพการงานของ ‘พี่ใหญ่’ ของรัฐบาลพลังประชารัฐดูจะเหนียวแน่นมั่งคั่งยิ่งกว่าใคร ซึ่งการครองอำนาจต่อเนื่องกันมาตั้งแต่หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ไม่เพียงทำให้เครือข่ายของรัฐกว้างขวางมากขึ้น หากแต่เป็นเพียงผลของการที่สามารถก้าวเดินได้ถูกจังหวะในแต่ละห้วงเวลาผันผวนของการเมืองไทยร่วมสมัย
ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับนายทหารวัย 74 ปีผู้นี้คือ เส้นทางการไต่เต้าขึ้นสู่ผู้นำสูงสุดของกองทัพที่ ‘แปลกไป’ จากธรรมเนียมที่ผ่านมาของกองทัพ ซึ่งนายทหารจากต่างจังหวัดสามารถผงาดขึ้นแซงผู้บัญชาการกองทัพในเขตเมืองได้
‘ทหารเสือราชินี’ ผู้นี้เติบโตในหน่วยทหารภาคตะวันออกในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ เข้าสู่ไลน์ผู้นำกองทัพในยุค ทักษิณ ชินวัตร เรืองอำนาจ และก็เป็นหน่วยที่เขาเติบโตมาเอง นำกำลังโค่นอำนาจรัฐบาลไทยรักไทยยุติบทบาททักษิณ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี ที่ยาวนานถึง 6 ปี
ก่อนที่ประวิตรจะมีบทบาทสำคัญในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงในปี 2552-2553 ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรแปลกใจ หากประวิตร วงษ์สุวรรณ จะเป็นคนสำคัญของคณะรัฐประหาร คสช. 2557 และสืบทอดอำนาจต่อมายังรัฐบาลปัจจุบัน ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ และรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง
เส้นทางข้าราชการทหาร
บริบททางการเมือง
2514-2516
เริ่มรับราชการที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือฉายา ‘ทหารเสือราชินี’ ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดเครื่องยิงหนัก กองร้อยเครื่องยิงหนัก
2517-2518
ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
2519
นายทหารยุทธการและการฝึก
2520-2521
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
2522
นายทหารฝ่ายยุทธการ
2523
รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
2524-2526
ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
2527-2528
ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
2529-2531
รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
2532-2535
ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
2536-2538
รองผู้บัญชาการกองพลที่ 2 รักษาพระองค์
2539
ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
2514
การรับราชการครั้งแรกของประวิตรเริ่มขึ้นในปีที่ จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหารตัวเอง
2516-2519
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ก็เข้าสู่เส้นทางผู้บังคับบัญชาน้อยจนกระทั่งถึง 6 ตุลาฯ
2524-2539
เข้าสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบที่นักการเมืองภูธรเริ่มมีบทบาท ประวิตรเริ่มสนิทกับเจ้าพ่อวังน้ำเย็น อย่าง เสนาะ เทียนทอง ระหว่างเติบโตในในกรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
2539
หลังการขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกของ พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร ประวิตรก็เข้าสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
2540
รองแม่ทัพภาคที่ 1
2541-2542
แม่ทัพน้อยที่ 1
2543
ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
2544
ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก
2545
แม่ทัพภาคที่ 1
2546
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
2547-2548
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกปีที่ ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นช่วงที่ทักษิณมีอำนาจเด็ดขาดในการจัดโผบัญชีโยกย้ายผู้นำกองทัพ
2540
วิกฤติเศรษฐกิจ กองทัพภายใต้การนำของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประกาศนำทหารกลับสู่กรมกองหลังจากเสื่อมเสียเกียรติอย่างมากจากเหตุการณ์พฤษภาคม 2535
2544-2549
ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประวิตรและกลุ่มนายทหารที่เติบโตมาในหน่วยเดียวกับประวิตร เข้าสู่ตำแหน่งสำคัญในกองทัพทั้งหมด เช่น ผู้บัญชาการกองทัพ แม่ทัพภาคที่ 1
2549
รัฐประหาร 19 กันยายน กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ มีบทบาทสูงในปฏิบัติการยึดอำนาจ
โยชิฟูมิ ทามาดะ เสนอว่า หลังการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพบกของประวิตรในปี 2547 นับเป็นรูปแบบใหม่ของการเติบโต คือ “ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ สู่แม่ทัพภาคที่ 1 มาสู่ 4 เสือ กองทัพบก และสิ้นสุดที่ ผู้บัญชาการทหารบก”
2551-2554
รัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำเชิญ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2551-2554
ภายใต้รัฐบาลประชาธิปัตย์ ประวิตรกลับมาพร้อมกับพี่น้องที่เคยเติบโตมาในกองพลทหารราบที่ 2 ขณะที่ประวิตรเป็นรัฐมนตรีว่าการทรวงกลาโหม อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็น ผบ.ทบ. ส่วน ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าสู่ไลน์ 5 เสือ กองทัพบกในตำแหน่งเสนาธิการ หนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญคือ การปราบปรามขบวนการเสื้อแดงเมื่อปี 2552-2553
2554-2557
แม้ประวิตร จะไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองในยุคนี้ แต่รุ่นน้องที่รับราชการในหน่วยเดียวกันมาตลอดจาก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ถึง ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ครองตำแหน่งสำคัญในกองทัพที่สามารถเข้าแทรกแซงทางการเมืองได้ เช่น ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
2557-2562
หลังรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 ขณะที่พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตรก็เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคอยดูการโยกย้ายฝ่ายความมั่นคงจากกองทัพทั้งหมด
2562-2563
การเลือกตั้งเมื่อ 24 มี.ค. 2562 นอกจากตำแหน่งรัฐมนตรี ประวิตรขยับบทบาทมาสู่ตำแหน่ง ประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ พรรคที่สืบทอดอำนาจ คสช.
อ้างอิง
Duncan McCargo and Ukrist Pathmanand, The Thaksinization of Thailand, (Copenhagen: NIAS Press, 2005), Chapter 4
โยชิฟูมิ ทามาดะ, “รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารในกองทัพบกกับการแทรกแซงการเมืองในประเทศไทย,” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 12, ฉบับที่ 2-3 (พฤษภาคม-ธันวาคม 2557)