Social Credit มาตรวัดคนดีของจีน ‘พี่เบิ้ม 2020’

สองสามวันที่ผ่านมา มีข่าวสหรัฐกล่าวพาดพิงจีนว่าเป็นประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดศีลธรรม ขณะที่พี่เบิ้มจากโลกตะวันออกโต้กลับว่า แล้วทำไมสหรัฐถึงเชื่อว่าตัวเองเคารพสิทธิเพื่อนมนุษย์ ในเมื่อประชาธิปไตยแบบอเมริกันชนยังทำให้คนดำ คนผิวสี กระทั่งชนพื้นเมืองเป็นเหมือนประชากรชั้นสองอยู่เลย

จากการที่สองชาติโวยวายกันไปมาตามประสาการเมือง จีนมีแผนจัดตั้งโครงการคัดกรอง ‘คนดี’ ด้วยคะแนนทางสังคม (social credit) ใครมีแต้มมากก็จะถือว่าเป็นผู้ซื่อสัตย์ต่อชาติบ้านเมือง ควรได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น ส่วนลดในการซื้อน้ำมัน ความน่าเชื่อถือในการทำทุรกรรม สิทธิการเข้าเรียน ตรงกันข้ามกับคนอีกกลุ่มที่ได้คะแนนน้อยถือว่าสอบตก และต้องเจอกับมาตรการอีกแบบ…

โครงการที่วางแผนมาหลายปีถูกนำมาใช้จริงแล้ว โดย จาง ยง (Zhang Yong) รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (National Development and Reform Commission: NDRC) บอกว่าระบบ social credit จะครอบคลุมประชากร 1,400 ล้านคนภายในปี 2020

การสะสม social credit ทำได้ตั้งแต่ปฏิบัติตัวตามกฎหมาย ทำงานรับใช้สังคม ซื้อสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ ส่วนพฤติกรรมอื่นๆ ที่จะนำมาคำนวณเป็นคะแนน เช่น การจ่ายภาษี ระยะเวลาการเล่มเกมออนไลน์ ข้อความที่โพสต์ ผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ต คะแนน social credit จะส่งผลถึงสิทธิในการเดินทางทั้งรถไฟ เครื่องบิน การซื้ออสังหาริมทรัพย์ แม้แต่การใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และตอนนี้มีชาวจีนราว 11 ล้านคนถูกห้ามเดินทางโดยเครื่องบิน อีก 4 ล้านคนห้ามขึ้นรถไฟ

สำหรับการเก็บข้อมูล รัฐบาลพยายามสร้างเครือข่ายกล้องวงจรปิดให้กว้างและครอบคลุมที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ปัจจุบันจีนมีกล้องอยู่ประมาณ 176 ล้านตัวและจะขยายเพิ่มให้มากกว่า 600 ล้านตัวภายในปี 2020

ซู่ หลี่ (Xu Li) ซีอีโอของ SenseTime บริษัท AI รายใหญ่ของจีนบอกว่าพวกเขากำลังผลิตกล้องอัจฉริยะให้รัฐบาล โดยกล้องจะสามารถระบุได้ในเบื้องต้นว่า บุคคลผู้นั้นเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชายหรือผู้หญิง และคาดกันว่า ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่ตำรวจจะใช้แว่นตาที่สามารถระบุตัวตนได้จากใบหน้าโดยใช้ฐานข้อมูลของรัฐบาลกลาง

ปัจจุบันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเก็บข้อมูลลูกค้าหลายร้อยล้าน โดยเฉพาะรูปถ่ายที่จะใช้เป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ระบุตัวตนให้กับฐานข้อมูลใหญ่ของรัฐบาล รวมถึงยังมีอีกหลายช่องทางที่ทำให้ชาวจีนถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวได้ โดยเฉพาะระบบสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนที่เริ่มใช้งานแล้วในหลายธุรกิจ เช่น ยืนยันตัวตนลูกค้าของบริษัทประกัน Taikang หรือใช้เพื่อทำธุรกรรมกับ Ant Financial ของ Alibaba


อ้างอิงข้อมูลจาก:
forbes.com
cbsnews.com
wired.co.uk
telegraph.co.uk

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า