อย่าไว้ใจครีมกันแดด

sunscreen1

ครีมกันแดดที่ใช้อยู่อาจไม่ช่วยกันแดด ซ้ำยังอาจเป็นอันตราย จากการสำรวจผลิตภัณฑ์กันแดดในตลาดสหรัฐอเมริกากว่า 1,700 ชนิดพบว่ามีเพียง 21 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีประสิทธิภาพกันแดดและใช้ได้อย่างปลอดภัย

Environmental Working Group’s (EWG) กลุ่มองค์กรอิสระที่ทำงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสารเคมีเป็นพิษในสหรัฐอเมริกา ได้สำรวจผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่ามีคุณสมบัติกันแดด 1,700 ชนิด (รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ นอกจากครีมกันแดด เช่น มอยซ์เจอไรเซอร์,ลิปบาล์ม ที่โฆษณาว่ามีส่วนผสมของสารกันแดด) เพื่อเป็นคู่มือผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต(ยูวี) ได้จริง

เดฟ แอนดรูวส์ นักวิทยาศาสต์อาวุโสประจำ EWG ให้ข้อมูลว่า ครีมกันแดดทุกตัวไม่ได้มีประสิทธิภาพกันแดดเท่ากันหมด การซื้อจากคำโฆษณาจึงไม่เพียงพอ

“ผลิตภัณฑ์กันแดดหลายชนิด ไม่ได้ช่วยป้องกันรังสียูวีได้เพียงพอ บางชนิดมีส่วนผสมของสารเคมีอันตรายเช่น Oxybenzone และ retinyl palmitate  ที่เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน  ที่มาในรูปแบบของวิตามินเอ ซี่งอาจทำลายผิว”

EWG พบว่าผู้ผลิตบิดเบือนข้อมูลหลายอย่างผ่านคำโฆษณาสรรพคุณ  เช่น ครีมกันแดดแบบสเปรย์ที่ถูกยกให้เป็น Hall of shame ไม่สามารถปกป้องผิวได้เพียงพอ โดยเฉพาะกับเด็กๆ ผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดสเปรย์ถือเป็นอันตรายอย่างยิ่งเมื่อสูดดมเข้าไป แต่ก็ยังนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกาเพราะง่าย สะดวก รวดเร็ว องค์การอาหารและยาสหรัฐหรือFDA ก็เคยออกมาตั้งข้อสงสัยถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่แบนสักที

sunscreen2

รวมถึงการใส่ส่วนผสมที่อันตรายลงไป เช่น oxybenzone ที่เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน งานวิจัยบางชิ้นพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิดโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในสตรีสูงอายุ

อีกส่วนผสมสำคัญที่ผลิตภัณฑ์กันแดดมาใส่ลงไปคือ retinyl palmitate ซึ่งมาในรูปของวิตามิน A ที่มีส่วนก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง

หรือๆผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่ามีค่า SPF เกิน 50  เพราะจากข้อมูลของ EWG ค่า SPF สูงสุดอยู่ที่ 30-50 เท่านั้น และ ค่า SPF สูงๆ  เหล่านี้ไม่เคยโฆษณาโดยการบอกว่าป้องกันได้แค่รังสียูวีบี แต่ปกป้องผิวจากรังสียูวีเอได้น้อยมาก ซึ่งเมื่อรังสียูวีเอซึมลงไปในผิวหนัง จะไปก่อกวนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังได้

จากข้อมูลของ Watchdog (องค์กรอิสระที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เอกชน และองค์กรอิสระด้วยกันเพื่อประโยชน์สาธารณะ) เผยว่า เมื่อพิจารณาจากส่วนผสมและวิธีการโฆษณาแล้ว ผลิตภัณฑ์กันแดดประมาณครึ่งหนึ่ง “ไม่สามารถวางขายในยุโรปได้” อันเนื่องมาจากกฎระเบียบของสหภาพยุโรปที่เข้มงวด  อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐอเมริกา กฎระเบียบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเองในปัจจุบัน อนุญาตให้ผู้ผลิตเติมส่วนผสมประเภทสารไม่ออกฤทธิ์ลงไปในผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งรวมถึงสารเคมีต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนต่างๆ ของร่างกาย หรือทำลายผิว และก่อให้เกิดอาการแพ้

EWG ยังเสริมอีกว่า งานวิจัยหลายชิ้น แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเชื่อคำของสรรพคุณในโฆษณา เกี่ยวกับการป้องกันแสงแดด และ ผลก็คือ คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF สูง มีแนวโน้มที่จะออกแดดนานกว่า และ มีโอกาสผิวไหม้ได้มากกว่า

สามารถติดตามตรวจสอบรายชื่อผลิตภัณฑ์กันแดดในสหรัฐอเมริกาที่ปลอดภัยและอันตรายทั้งหมดได้ที่ http://www.ewg.org/2015sunscreen/

 

 

ที่มา : ewg.org,treehugger.com

logo

Author

WAY

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า