ไทม์ไลน์แก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องรออีกนานแค่ไหน

นับเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ ที่การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ญัตติ ตลอดทั้ง 2 วัน (23-24 กันยายน 2563) สิ้นสุดลงด้วยการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ ตามที่ สว. และ สส.พลังประชารัฐ เสนอ ทำให้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญถูกยื้อออกไป โดยที่พรรคการเมืองฝ่ายค้านปฏิเสธการร่วมสังฆกรรมกับคณะกรรมาธิการชุดนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นการ ‘หลอกต้มประชาชน’

สิ่งที่เกิดขึ้นถัดจากนี้ หากคิดในทางร้าย เส้นทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะถูกคว่ำอย่างเป็นทางการในการประชุมรัฐสภาสมัยหน้า ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2563

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับความจริงว่า โจทย์เก่าภายใต้สถานการณ์ใหม่ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว แม้ว่าแรงกดดันจากประชาชนนอกสภามีทีท่าจะขึ้นกระแสสูง เนื่องจากรัฐสภาไม่สามารถดูดซับความไม่พอใจของประชาชนทั้งจากวิกฤติทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ระเบิดขึ้นมาพร้อมกัน

แต่อีกด้าน เราอาจจะพอมองเห็นแง่มุมที่ยังมีความหวังว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อฝ่าวิกฤติของประเทศยังมีโอกาสเป็นไปได้ 

หากลองวางกรอบระยะเวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ บนสมมุติฐานว่าจะมีการบรรจุวาระนี้เข้าสู่การพิจารณาในสมัยการประชุมหน้า หลังจากที่ กมธ.ศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เต็มไปด้วย สส.ฝ่ายรัฐบาลและวุฒิสมาชิก ได้ศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราอาจเห็นเส้นทางของการแแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ควรจะเป็นไปตามเงื่อนเวลา ดังนี้

 

ช่วงที่ 1 ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน (พฤศจิกายน 2563 – กุมภาพันธ์ 2564) 

1. กมธ.ศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ 30 วัน 

2. เปิดประชุมรัฐสภาเดือนพฤศจิกายน 2563

3. เสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าสู่ที่ประชุมร่วมรัฐสภาอีกครั้ง (6 ญัตติเดิม + 1 ร่างรัฐธรรมนูญของ ilaw) แต่หากพิจารณาไม่ทัน ต้องเลื่อนไปประชุมสมัยถัดไปคือ เดือนพฤษภาคม 2564

4. หากรับญัตติใดเข้าสู่ที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อลงมติวาระ 1 ขั้นรับหลักการ จากนั้นจะมีการตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณา (ใช้เวลาไม่เกิน 2 เดือน)

5. ลงมติวาระ 2 และ 3 (ใช้ระยะเวลาในการลงมติไม่เกิน 1-2 วัน)

  • ต้องมีเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา
  • ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองรวมกัน 
  • วุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 

6. ทำประชามติ (2 เดือน)

 

ช่วงที่ 2 ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 10 เดือน (มีนาคม – มกราคม 2565)  

1. ตั้ง ส.ส.ร. (2 เดือน) 

2. ร่างรัฐธรรมนูญ (4 เดือน)

3. เปิดรับฟังความคิดเห็น (2 เดือน)

4. ทำประชามติ ครั้งที่ 2 (2 เดือน)

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า