Main Way
เกิดมาทำไม ชีวิตคืออะไร มนุษย์มีชีวิตอยู่บนโลกด้วยเหตุผลใด ความตายคือสิ่งใด
คำถามเหล่านี้ผ่านการอภิปราย ถกเถียง หาคำตอบ และสร้างนิยามความหมาย ผ่านความคิดและการดั้นด้นควานหาคำตอบของบรรดาปวงปราชญ์เมธีมาตลอดเวลาในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
แต่คำถามเหล่านี้ คำตอบอาจไม่ได้อยู่ในอดีต
บางที…คำตอบอาจอยู่ในอนาคต
5Qs
ปุจฉาแบบโลกย์ๆ ก็คืออินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สาธารณะ หรือเป็นพื้นที่ส่วนตัวบนพื้นที่สาธารณะ ปุจฉาที่ตามมาก็คือ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สาธารณะ ควรหรือมิควรที่ผู้อื่นสามารถเข้ามาละลาบละล้วงดูการเคลื่อนไหวของคุณ
ปุจฉาทั้งหลายถูกมอบหมายให้ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล นักวิจัยโครงการวิจัยความเป็นส่วนตัวออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต เป็นผู้ตอบ
ท่ามกลางท่าทีขึงขังของผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ว่าการล้วงข้อมูลการสนทนาระหว่างบุคคลผ่านแอพพลิเคชั่นยอดนิยมอย่าง Line รวมถึงการกด Like กด Share ทั้งหลายในเฟซบุ๊ค เป็นสิ่งชอบธรรม
Interview
น้ำมันรั่วบนผืนทะเลเมืองระยองเป็นจุดตั้งต้นของเรื่องนี้ ทว่าอุบัติเหตุระดับนี้ก็แสดงให้เห็นลักษณะบางอย่างของระบบทุนนิยมที่เกี่ยวพันกับเรื่องสิ่งแวดล้อม การรั่วของน้ำมันภายใต้การดูแลของ ปตท. น่าจะเป็นเพียงปลายทางของโศกนาฏกรรมสีดำคราวนี้
เราต้องการเดินทางย้อนศรไปยังต้นทางหรือความหมักหมมของระบบ
ชื่อของ สฤณี อาชวานันทกุล ผู้ที่เชื่อว่า ทุนนิยมนั้นมีหัวใจ ก็หล่นออกมาจากเรียวปากใครบางคน เราคุยกับเธอตั้งแต่นิยามความหมายของคำว่า ‘ทุนนิยมเสรี’ มันเหี้ยจริงอย่างที่เขาว่าหรือไม่ ระดับการกำกับควบคุมของรัฐถึงขั้นไหนจึงสมควร ความสมดุลระหว่างอำนาจทุนและอำนาจของรัฐ เลยไปจนถึงการทำ CSR
เพื่อย้อนกลับไปสู่นิยามความหมายของ ‘ทุนนิยมที่มีหัวใจ’ ในแบบของเธอ หรือ ‘ทุนนิยมสามานย์’ ที่พูดๆ กันอย่างอึงคะนึง