Main way
สิ่งหนึ่งพึงพิจารณาว่าการที่เราด่าใครสักคนว่า “ไอ้เย็_แม่” เราไม่ได้มุ่งเสนอภาพว่านายคนนั้นกำลังมีเพศสัมพันธ์กับบุพการีของตนแต่อย่างใด เราไม่ได้นึกเห็นภาพดั้งเดิมของถ้อยคำยามที่เราขว้างคำด่าใส่ใครสักคน เราหยิบถ้อยคำเหล่านั้นมาใช้สอยก็เพราะคำเหล่านั้นเป็นถ้อยคำที่ลดทอนคุณค่าของบุคคลที่เราด่า การร้องใส่หน้าใครสักคนว่า “ไอ้ควาย” จึงมีน้ำหนักพอๆ กับการชกหน้า การด่าอาจเป็นการชกหน้าโดยไม่ต้องกำหมัดและเราไม่ต้องเจ็บนิ้ว (แต่จะเจ็บอย่างอื่นหรือไม่ก็ต้องแล้วแต่กรณี)
ด้วยสันนิษฐานข้างต้น WAY จึงรวบรวมเหตุผลเบื้องหลังถ้อยคำที่เราใช้ด่ากัน ถ้อยคำที่ทำให้อีกฝ่าย ‘ไร้เกียรติ’
Interview
หลังจากที่ ครม. เห็นชอบชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตัลอย่างรวบรัดตัดตอน ก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า แท้จริงแล้วร่างกฎหมายชุดนี้มีเจตนาใดกันแน่ ทั้งยังส่อถึงความไม่ชอบมาพากล ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพจนเลยเถิดถึงขั้นละเมิด ลิดรอน ปิดกั้น
WAY พูดคุยกับ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ นักรณรงค์เคลื่อนไหวโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เฝ้าเกาะติดสถานการณ์การละเมิดสิทธิเสรีภาพและการแสดงออกทางการเมืองมาตั้งแต่ก่อนและหลังรัฐประหาร รวมถึงเฝ้าจับตาตรวจสอบการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทั้งวิเคราะห์ให้เห็นจุดอ่อนและช่องโหว่ของกฎหมายเป็นรายมาตราอย่างชนิดที่เรียกว่ากัดไม่ปล่อย
Sub way
นั่งรถแท็กซี่ 4 คันบนถนนกรุงเทพฯ เพื่ออ่านความในใจ ‘คนขับแท็กซี่’ ในยุคที่อาชีพนี้กำลังเปลี่ยนผ่านจากผู้ให้บริการบนมาตรวัดมิเตอร์สู่เทคโนโลยีการให้บริการแบบใหม่ๆ นี่คือเรื่องเล่าที่ถูกส่งตรงมาจากหลังพวงมาลัย ท่ามกลางเสียงแตร และเสียงตีไฟเลี้ยว
Face of entertainment
เวลาที่ได้ยินคำ ‘ติ่ง’ ‘โอปป้า’ ‘นูนา’ ‘ออนนี’ แล้วเกิดอาการไม่เห็นความหมายของคำ พูดให้ง่ายก็คือเกิดคำถามขึ้นมาว่า ‘คืออะไร’ ก็พึงรู้ไว้ว่านี่คืออาการ ‘ตามไม่ทัน’
วัฒนธรรมเกาหลีที่ถูกนำเข้ามาในสังคมย่อมเปลี่ยนแปลงรสนิยมรวมถึงวิธีคิดบางอย่างในคนรุ่นหนึ่ง way เดินเข้าไปในโลกใบนี้ผ่าน กมลทิพย์ มีชูคุณ เจ้าของนามปากกา Bluesherbet แอดมินเพจ ‘คุยบันเทิงเกาหลี กับ Bluesherbet’