ลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 2516

artboard-2-copy-10

  • 1 มกราคม – พล.ท.ถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • 20 ตุลาคม – พล.ท.ถนอมลาออกจากตำแหน่งนายกฯ จากนั้นในช่วงค่ำ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจโดยอ้างภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภา ยกเลิกพรรคการเมือง ปกครองประเทศด้วยประกาศคณะปฏิวัติ

  • 28 มกราคม – ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 มีมาตรา 17 ให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่นายกฯสั่งการหรือกระทำการใดๆ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์

  • 8 ธันวาคม – จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม
  • 9 ธันวาคม – จอมพลถนอม ได้รับโปรดเกล้าฯเป็นนายกรัฐมนตรี

  • 20 มิถุนายน – ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 หลังจากใช้เวลาร่างนานถึง 9 ปีเศษ

  • 10 กุมภาพันธ์ – ผลการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในรอบ 11 ปี พรรคสหประชาไทย ซึ่งมีจอมพลถนอมเป็นหัวหน้าพรรค ชนะการเลือกตั้ง ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
  • 7 มีนาคม – จอมพลถนอมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

  • 1 กุมภาพันธ์ – กลุ่มสังเกตการเลือกตั้งจัดสัมมนานิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ นำไปสู่การก่อตั้ง ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.)

  • 17 พฤศจิกายน – จอมพลถนอมนำคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลตนเอง ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ รัฐสภา และพรรคการเมือง กลับมาใช้ประกาศคณะปฏิวัติเป็นกฎหมายปกครองประเทศ

  • 15 ธันวาคม –  ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 กำหนดให้มีสภาเดียวคือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มาจากการแต่งตั้ง และมีมาตรา 17 ให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่นายกรัฐมนตรี
  • 18 ธันวาคม – จอมพลถนอมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศ

 

artboard-2-copy-11

  • 29 เมษายน – เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกบินกลับจากป่าทุ่งใหญ่นเรศวรตกที่นครปฐม พบซากสัตว์ป่าจนกลายเป็นข่าวใหญ่ เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการใช้ทรัพย์สินราชการในทางมิชอบ คณะที่เข้าไปล่าสัตว์ครั้งนั้นเป็นทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และบุคคลใกล้ชิดกับรัฐบาลประมาณ 60 คน
  • พฤษภาคม – ศนท. และชมรมอนุรักษ์ของนักศึกษาสี่มหาวิทยาลัย ออกมาเคลื่อนไหวเปิดโปงข้อเท็จจริง เรียกร้องให้ลงโทษผู้กระทำผิด นำไปสู่การตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือ ‘บันทึกลับจากทุ่งใหญ่’ 
  • ชมรมคนรุ่นใหม่ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ออกหนังสือ ‘มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ’ มีข้อความเสียดสีกรณีล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่ฯ และการต่ออายุราชการจอมพลถนอมและจอมพลประภาส เป็นเหตุให้นักศึกษา 9 คน ถูกคัดชื่อออก
  • 21-22 มิถุนายน – นักศึกษาหลายสถาบัน นำโดย ศนท. เดินขบวนประท้วงจากทบวงมหาวิทยาลัยไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องให้คืนสภาพแก่นักศึกษารามคำแหง 9 คน ข้อเรียกร้องได้ขยายไปสู่ความต้องการให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน

  • แถลงข่าวโครงการรณรงค์เรียกร้องรัฐธรรมนูญ โดยสมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ มีบุคคลในแวดวงต่างๆ ลงนามเรียกร้องรัฐธรรมนูญชุดแรก 100 คน

  • กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 11 คนถูกจับขณะแจกใบปลิว ด้วยข้อหา ‘มั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน’ ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 4 โดยไม่ยอมให้เยี่ยมและห้ามประกัน

  • เจ้าหน้าที่เข้าค้นสำนักงานทนายความของ ไขแสง สุกใส อดีต สส. นครพนม ตรวจค้นเอกสาร โปสเตอร์ และหนังสือจำนวนหนึ่ง
  • เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล แจ้งข้อหากลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 11 คน ว่าขัดขืนคำสั่งคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 4 และมีความผิดกบฏต่อราชอาณาจักร ตามกฎหมายอาญามาตรา 116
  • ศนท. ออกแถลงการณ์คัดค้านการจับกุม
  • ก้องเกียรติ คงคา นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ปีที่ 3 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกจับเพิ่ม และถูกตั้งข้อหาเช่นเดียวกับ 11 คนแรก
  • ศนท. พยายามเจรจาขอให้ปล่อยผู้ถูกจบกุมทั้งหมด แต่ได้รับการปฏิเสธ ขณะที่องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) มีมติให้ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อหาของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ

  • อมธ. มีมติให้ดำเนินการกิจกรรมรณรงค์เพื่องดสอบ จัดชุมนุมที่ลานโพธิ์จนกว่ารัฐบาลจะปล่อยตัวผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข
  • ตำรวจสันติบาลออกหมายจับ ไขแสง สุกใส อดีต สส. นครพนม ข้อหาอยู่เบื้องหลังกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
  • จอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้บัญชาการทหารบกกล่าวว่า มีคอมมิวนิสต์จากต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงการเคลื่อนไหวของนักศึกษา และ “เชื่อว่านิสิตนักศึกษาจะเสียไปราว 2 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนเป็นแสนคน จำต้องเสียสละเพื่อความอยู่รอดของบ้านเมือง”

  • หนังสือพิมพ์ลงแถลงการณ์ประกาศงดสอบของ อมธ. ปรากฏธงดำครึ่งเสาเหนือยอดตึกโดม ทั่วมหาวิทยาลัยเต็มไปด้วยโปสเตอร์ประณามรัฐบาล ทางเข้าธรรมศาสตร์ด้านสนามหลวงมีผืนผ้าเขียนว่า ‘ธรรมศาสตร์ตายเสียแล้วหรือ’
  • ไขแสง สุกใส อดีต สส. นครพนม เข้ามอบตัว รวมเป็น 13 กบฏ
  • นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ เดินทางมาร่วมชุมนุมที่ลานโพธิ์
  • อมธ. ทำหนังสือเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้ง 13 คน โดยไม่มีเงื่อนไข โดยมีนักศึกษาทุกสถาบันร่วมลงชื่อ
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์รัฐบาลว่า บุคคลทั้ง 13 คน ที่ถูกตำรวจจับกุมภายใต้อำนาจมาตรา 17 มีแผนล้มล้างรัฐบาล และมีการกระทำอันเป็นภัยต่อความสงบสุข

  • ศนท. รับช่วงงานในการต่อสู้จาก อมธ.
  • นักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชน เดินทางมาชุมนุมที่ลานโพธิ์คับคั่ง จนต้องย้ายสถานที่ไปสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์

  • ผู้ถูกจับกุม 13 คน ประกาศอดอาหาร
  • จอมพลถนอม กิตติขจร สั่งทหาร 3 เหล่าทัพ เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ และสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสกัดรถที่บรรทุกนักศึกษาจากต่างจังหวัดไม่ให้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ

  • รัฐบาลตกลงปล่อยผู้ถูกจับกุม 13 คน ตามเงื่อนไขการประกันตัว ส่วนข้อกล่าวหากบฏและคอมมิวนิสต์ให้ไปต่อสู้ในชั้นศาล
  • ที่ประชุม ศนท. มีมติให้เจรจากับรัฐบาล เพื่อยื่นข้อเสนอปล่อยผู้ต้องหา 13 คนโดยไม่มีเงื่อนไข และให้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ผู้ได้รับมอบหมายในการเจรจาคือ สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ในฐานะเลขาธิการ ศนท. และกรรมการ ศนท. อีกจำนวนหนึ่ง ที่ประชุมตกลงว่าหากไม่ได้รับคำตอบตามข้อเสนอ จะเคลื่อนขบวนออกจากธรรมศาสตร์ในเวลาเที่ยงตรงของวันรุ่งขึ้น

  • เที่ยงตรง ที่ชุมนุมยังไม่ได้การสื่อสารจากตัวแทนเจรจา เสกสรรค์ ประเสริฐกุล สั่งเคลื่อนขบวนมวลชนออกจากธรรมศาสตร์สู่ถนนราชดำเนิน ขบวนหยุดพัก ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในช่วงเย็น ก่อนเคลื่อนต่อไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และวางแผนพักค้างคืนบริเวณข้างสวนจิตรลดาฯ เพื่ออาศัยเป็นหลังพิง
  • เกิดปัญหาการสื่อสารระหว่างผู้คุมขบวนมวลชนและตัวแทน ศนท. ผู้เจรจากับรัฐบาล หลังเที่ยงคืนมีการพูดผ่านเครื่องขยายเสียงจากข้างทางระบุว่า เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ผู้คุมขบวนมวลชนเป็นคอมมิวนิสต์หวังโค่นราชบัลลังก์ 

  • ตีสามเศษ ธีรยุทธ บุญมี ฝ่าฝูงชนเข้าไปหาเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ที่รถบัญชาการ แจ้งข่าวผลการเจรจาสำเร็จ ธีรยุทธพาเสกสรรค์ปรับความเข้าใจกับกรรมการ ศนท. และเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่วังสวนจิตรลดาฯ
  • ช่วงฟ้าสาง ระหว่างที่ผู้ชุมนุมกำลังสลายตัวหลังจากแกนนำชี้แจงผลการเจรจากับรัฐบาล กลับเกิดการกระทบกระทั่งระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ เกิดการใช้กระบองและยิงแก๊สน้ำตาใส่ฝูงชน จากจุดปะทะเล็กๆ ลุกลามบานปลายไปอย่างรวดเร็ว กองกำลังติดอาวุธสงครามเคลื่อนออกมาประจันหน้ากับผู้ประท้วงตามจุดต่างๆ ใจกลางเมือง
  • เกิดความขัดแย้งในกองทัพและชนชั้นนำ ส่งผลให้จอมพลถนอมตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีกระแสพระราชดำรัสขอให้ทุกฝ่ายระงับเหตุรุนแรง อย่างไรก็ตาม ยังเกิดเหตุปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมต่อบริเวณโดยรอบถนนราชดำเนิน
  • ใกล้เวลาเที่ยงคืน นายกรัฐมนตรีคนใหม่แถลงผ่านโทรทัศน์ ขอให้ทุกฝ่ายคืนสู่ความสงบ และสัญญาว่าจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน ทว่าสถานการณ์สงบลงในช่วงเย็นวันที่ 15 ตุลาคม ภายหลังจากสถานีวิทยุประกาศข่าวจอมพลถนอมและจอมพลประภาสลาออกจากทุกตำแหน่ง และเดินทางออกนอกประเทศ

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า