วันที่ 16 สิงหาคม 2565 คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ 51 คน จาก 15 มหาวิทยาลัย เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรณี การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และต้องพ้นตำแหน่งทันทีหลังวันที่ 24 สิงหาคม 2565 โดยมี 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
หนึ่ง – รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 264 ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาล บัญญัติว่า “ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ …”
เมื่อมาตรา 264 บัญญัติไว้เช่นนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งเริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาก่อนรัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ จึงเป็น ‘นายกรัฐมนตรี’ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และดังนั้นจึงเป็น ‘นายกรัฐมนตรี’ ตามมาตรา 158 วรรคสี่ ซึ่งบัญญัติว่า “นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้”
สอง – รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่มีบทเฉพาะกาลหรือบทบัญญัติอื่นใดที่จะยกเว้นมาตรา 158 วรรคสี่ มิให้ใช้บังคับแก่นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งมาก่อนรัฐธรรมนูญประกาศใช้
ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญมิได้ยกเว้นมาตรา 158 วรรคสี่ พล.อ.ประยุทธ์ จึงเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2565 เท่านั้น
สาม – การนับระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 8 ปี ของนายกรัฐมนตรี ต้องนับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ที่ห้ามมิให้นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งรวมกันเกินกว่า 8 ปีนั้น เป็นเรื่อง ‘การควบคุมและการจำกัดอำนาจ’ โดยผู้ร่างรัฐธรรมนูญคือคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ระบุไว้ว่า “การกำหนดระยะเวลา 8 ปี ไว้ก็เพื่อมิให้เกิดการผูกขาดอำนาจในทางการเมืองยาวเกินไปอันจะเป็นต้นเหตุเกิดวิกฤติทางการเมืองได้” (ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตรา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พทุธศักราช 2560, น.275)
นอกจากนี้แล้ว การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ของ พล.อ.ประยุทธ์ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2562 นั้น พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 105 วรรคสี่ บัญญัติว่า “ถ้าพ้นจากตําแหน่งและได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเดิมหรือตําแหน่งใหม่ ภายใน 1 เดือน ผู้นั้นไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน … แต่ไม่ต้องห้ามที่ผู้นั้นจะยื่นเพื่อเป็นหลักฐาน” ซึ่งโดยข้อเท็จจริง พล.อ.ประยุทธ์ ได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินแล้ว แต่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ไม่เปิดเผย แม้จะมีการร้องขอจากสาธารณะ โดยให้เหตุผลว่า ปปช. ไม่มีอำนาจเปิดเผย นั่นหมายความว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีมาก่อนแล้ว และดำรงตำแหน่งต่อ ทำให้ได้ประโยชน์จากมาตรา 105 วรรคสี่ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าต้องนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 “รวมกัน” เข้าไปด้วย
หาก พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีไปจนเกินวันที่ 24 สิงหาคม 2565 โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญยังวินิจฉัยไม่แล้วเสร็จ ก็จำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรา 82 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่า … ผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้ … ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย” นั่นคือ หากถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2565 แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีคำวินิจฉัย ก็จะต้องพิจารณามีคำสั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ หยุดการปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
“ข้าพเจ้าทั้งหลายซึ่งเป็นอาจารย์สอนกฎหมาย ได้นำเสนอความเห็นทางกฎหมายในเรื่องนี้ต่อท่านประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ด้วยความตั้งใจเพียงประการเดียวคือ ให้ประเทศไทยยึดถือหลักการปกครองโดยกฎหมายให้มากยิ่งกว่าที่ผ่านมา เพราะการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความเห็นต่างทางการเมืองนั้น ไม่มีทางออกอื่นใดนอกจากฝ่ายตุลาการ…
“และที่สำคัญที่สุดจะต้องเป็นอิสระจากผู้มีอำนาจที่ฝ่ายตุลาการต้องใช้อำนาจตุลาการในการควบคุม ซึ่งในกรณีนี้คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี
“เพราะความอิสระของตุลาการ และการใช้กฎหมายในการตัดสินต่อทุกคนอย่างเสมอกัน คือสิ่งที่เรียกว่า ความยุติธรรม” เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกระบุ
ทั้งนี้ 51 รายชื่อนักวิชาการยื่นหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญ จาก 15 มหาวิทยาลัย มีดังต่อไปนี้
51 คณาจารย์
1. กรรณภัทร ชิตวงศ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
2. กฤษณ์พชร โสมณวัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. กันตพงศ์ แสงพวง มหาวิทยาลัยพะเยา
4. กาญจนุรัตน์ ไมรินทร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
5. ขรรค์เพชร ชายทวีป มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
6. เจษฎา ทองขาว มหาวิทยาลัยทักษิณ
7. เฉลิมวุฒิ สาระกิจ มหาวิทยาลัยพะเยา
8. ณัฐ จินตพิทักษ์กุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9. ณัฐดนัย นาจันทร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
10. ณัฐวัฒน์ กฤตยานวัช มหาวิทยาลัยบูรพา
11. ครุณี ไพศาลพาณิชย์กุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12. ต่อพงศ์ ตติยานุพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14. ธนรัตน์ มังคุด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15. ธีรยุทธ ปักษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
16. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
17. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
18. นัทมน คงเจริญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
19. นิฐิณี ทองแท้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
20. นิติลักษณ์ แก้วจันดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
21. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22. ปวีร์ เจนวีระนนท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
23. ปารณ บุญช่วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
24. ปิยากร เลี่ยนกัตวา มหาวิทยาลัยรามคําแหง
25. ปีดิเทพ อยู่ยืนยง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
26. ผจญ คงเมือง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
27. พัชร์ นิยมศิลป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
28. มณฑิรา เตียประเสริฐ แก้วตา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
29. มุนินทร์ พงศาปาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
30. ยอดพล เทพสิทธา มหาวิทยาลัยนเรศวร
31. รชณัฐ มะโนแสน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
32. วัชรพงษ์ เขื่อนพันธ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
33. วีระยุทธ หอมชื่น มหาวิทยาลัยพะเยา
34. ศรัณย์ จงรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร
35. ศักดิ์ชาย จินะวงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
36. ศักดิ์ณรงค์ มงคล มหาวิทยาลัยรังสิต
37. ศุภกร ชมศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
38. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
39. สถาพร สระมาลีย์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
40. สมชาย ปรีชาศิลปกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
41. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
42. สุรพ โพธิสาราช มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
43. สุรินรัตน์ แก้วทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
44. สุวิทย์ ปัญญาวงศ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
45. อจิรวดี เหลาอ่อน มหาวิทยาลัยทักษิณ
46. อนุสรณ์ ไชยปุระ มหาวิทยาลัยพะเยา
47. อรพรรณ พนัสพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
48. อานนท์ ศรีบุญโรจน์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
49. อารยา สุขสม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
50. อุดมศักดิ์ จิรกาลกุเกษม มหาวิทยาลัยพะเยา
51. เอื้อการย์ โสภาคดิษฐพงษ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15 มหาวิทยาลัย
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. มหาวิทยาลัยทักษิณ
4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. มหาวิทยาลัยนเรศวร
6. มหาวิทยาลัยบูรพา
7. มหาวิทยาลัยบูรพา
8. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
9. มหาวิทยาลัยรังสิต
10. มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร
11. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
12. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
13. มหาวิทยาลัยรามคําแหง
14. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี