ออกกำลังกายแล้วทำไมยังอ้วน?

obesity 3

วารสารทางการแพทย์ของอังกกฤษ British Journal of Sport Medicine เผยข้อมูลจากทีมแพทย์ว่า การออกกำลังกายไม่ช่วยให้น้ำหนักลด ตราบใดที่ยังบริโภคเครื่องดื่มน้ำตาลสูง

หนึ่งในทีมแพทย์คือ ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ อาซีม มัลโฮตรา (Aseem Malhotra) วิจารณ์อุตสาหกรรมอาหารอย่างตรงไปตรงมา โดยกล่าวหาอาหารและเครื่องดื่ม เช่น โคคาโคล่า ที่เน้นให้ข้อมูลผิดๆ ว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยป้องกันภาวะน้ำหนักเกินแก่ผู้ดื่ม

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว โคคาโคล่าที่ทุ่มเงินโฆษณากว่า 33,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อสื่อสารกับตลาดและผู้บริโภคว่า  ถ้าจะดื่มเท่าที่คุณยังออกกำลังกาย ร่ายกายยังโอเคอยู่  อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็ออกมาบอกว่าเป็นการบิดเบือนและสื่อสารผิดๆ ของเครื่องดื่มน้ำดำ เพราะแคลอรี่จากน้ำตาลยิ่งเพิ่มพื้นที่กักเก็บไขมันและความหิว แต่แคลอรี่จากไขมันต่างหากที่ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่ม

และความจริงยิ่งกว่านั้นก็คือ การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพต่อการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ภาวะสมองเสื่อม และโรคอื่นๆ แต่ไม่ช่วยลดน้ำหนัก

“ผู้บริโภคกำลังจมด้วยข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์เรื่อง การควบคุมน้ำหนักให้พอดี ผ่านการนับและคำนวณแคลอรี่ และยังคงความเชื่อผิดๆ ว่า โรคอ้วนนั้นมาจากการไม่ออกกำลังกาย”

obesity2

การรับรู้ที่ผิดๆ นี้ ที่เผยแพร่ใน British Journal of Sports Medicine เผยรายละเอียดอีกว่า ต้นเหตุของปัญหาเกิดจากกระบวนการประชาสัมพันธ์ของอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหาร ที่ใช้เล่ห์อุบาย แทคทิคต่างๆ ไม่ต่างกับธุรกิจยาสูบ ที่ปฏิเสธ สร้างความสงสัย และสับสนแก่สังคม กระทั่งทุ่มเงินซื้อนักวิทยาศาสตร์ให้พัฒนางานตามผลประโยชน์ โดยเฉพาะการให้ข้อมูลเรื่องโรคอ้วนแบบผิดๆ

หนึ่งในนั้นคือความเข้าใจที่ว่า ถ้าไม่อยากมีน้ำหนักเกิน ควรควบคุมอาหารที่ไขมันสูง น้ำตาลและแป้งต่ำ

แต่ความจริงก็คือ นักกีฬาและคนอื่นๆ ที่ออกกำลังกายควรลดอาหารคาร์โบไฮเดรตสูงและรับประทานอาหารที่ไขมันสูงแทนเพราะ ไขมันรวมถึงสารประเภทคีโตนที่เป็นพลังงานเสริมสร้างกล้ามเนื้อชั้นดีสำหรับการออกกำลังกายและมันมีปริมาณมากเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องทดแทนหรืออาหารเสริมอื่นๆ ระหว่างการออกกำลังกาย

แนวทางของกลุ่มผู้ต่อต้านอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหาร คือกระตุ้นให้พรีเซนเตอร์/คนดัง หยุดโปรโมทและชวนดื่มเครื่องดื่มน้ำตาลสูง หรือเรียกร้องให้กลุ่มสุขภาพและสถานออกกำลังกายทั้งหลายหยุดขายเครื่องดื่มน้ำตาลสูงทั้งหลาย และเรียกร้องรัฐบาลเก็บภาษีเครื่องดื่มเหล่านี้และแบนโฆษณาอาหารขยะทั้งหมด

“ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ไมได้เป็นไปตามโฆษณาชวนเชื่อของอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหาร ไลฟไสตล์ที่ดูแลสุขภาพรวมถึงการควบคุมอาหารและออกกำลังกายให้สมดุลกันต่างหากคือสิ่งเหมาะสม”

อย่างไรก็ตาม แทม ไฟร จาก เวทีแห่งชาติเรื่องภาวะโรคอ้วน เผยว่า อาหารขยะและธุรกิจเครื่องดื่มรับรู้มาหลายปีแล้วว่า สิ่งที่ต้องทำคือทำให้ลิตภัณฑ์นั้นสร้างสุขภาพที่ดี แต่ก็ยังยืนกรานที่จะไม่ทำ

“รัฐบาลชุดต่อไปต้องควบคุมและปราบปรามอาหารขยะถ้าโรคอ้วนหยุดลงชั่วคราว รัฐบาลอังกฤษควรควบคุมการให้การสนับสนุนทางการค้าและการตลาดของกีฬาในรูปแบบต่างๆ แต่ก็ไม่ทำ” แทม ไฟร ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษากลุ่มรณรงค์ลดน้ำตาล Action on Sugar ทิ้งท้าย

ที่มา : theguardian.com, bmj.com

logo

Author

WAY

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า