เด็กฟุกุชิมะน้ำหนักเกินมาตรฐาน เพราะกลัวสารเคมีตกค้างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ผลสำรวจสุขภาวะของเด็กนักเรียนญี่ปุ่นอายุระหว่าง 5-17 ปี ประจำปี 2017 เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2017 โดยกระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ชี้ว่า เด็กนักเรียนญี่ปุ่นสายตาสั้น โดยมีค่าความคมชัดของสายตา หรือ visual acuity (VA) ต่ำกว่า 1.0 มากขึ้นและเร็วกว่ากำหนด เฉพาะนักเรียนประถมมีค่า VA ต่ำกว่ามาตรฐานราว 32.46 เปอร์เซ็นต์ นักเรียนมัธยมมีค่า VA ต่ำกว่ามาตรฐานราว 56.33 เปอร์เซ็นต์ โดยสำนักข่าว Japantimes ให้ความเห็นในบทความชิ้นดังกล่าวว่า ส่วนหนึ่งเพราะพฤติกรรมวัยรุ่นที่เปลี่ยนไป จดจ้องอยู่กับสมาร์ทโฟนมากขึ้นและเริ่มใช้ตั้งแต่อายุยังน้อย

หากข้อมูลที่น่าจับตามองในเอกสารฉบับนี้อีกประการหนึ่งคือ เด็กในเมืองฟุกุชิมะมีปัญหาน้ำหนักเกินค่ามาตรฐานมากกว่าเด็กๆ ในจังหวัดอื่น โดย 6.53 เปอร์เซ็นต์ของเด็กอายุ 5 ขวบ และ 15.23 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่มีอายุ 11 ปี จะมีน้ำตัวเกินกว่าค่ามาตรฐานอยู่ราว 20 เปอร์เซ็นต์

รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นว่า อาจเพราะเด็กๆ ในเมืองฟุกุชิมะยังคงหวาดกลัวการออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน อันเนื่องมาจากการระเบิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากเหตุการณ์สึนามิในปี 2011

ข้อมูลอื่นๆ ในเอกสารฉบับนี้รายงานว่า นอกจากนี้ยังมีตัวเลขที่ชี้ว่าเด็กญี่ปุ่นมีปัญหาเรื่องความบกพร่องทางการได้ยิน กล่าวคือไม่ใช่อาการหูหนวก แต่เป็นความบกพร่องที่มาจากการได้ยินเสียงดังเกินค่ามาตรฐานที่ควรได้ยิน ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการฟังเพลงด้วยหูฟังมากเกินไป


อ้างอิงข้อมูลจาก: japantimes.co.jp

 

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า