องค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UN Thailand) ได้เผยแพร่ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals – SDGs) ที่ประชาคมโลกตกลงร่วมกันที่จะใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานด้านการพัฒนา โดยเป้าหมายทั้ง 17 ข้อ
เป้าหมาย 1 ใน 17 ข้อคือ การลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ
ประเทศไทย และอีก 193 ประเทศ ตกลงร่วมกันที่จะใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานด้านการพัฒนา
แม้ว่า ‘อารมณ์และความรู้สึก’ ของสังคมจะสัมผัสถึง ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ในระดับที่สวนทางกับ ‘เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน’
ความเหลื่อมล้ำไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของสถิติตัวเลขหรือสภาพไร้ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์ พลังของอารมณ์ และความตระหนักรู้
ข้อสังเกตของ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ที่สะท้อนผ่านบทความ ‘ภาพรวมความเหลื่อมล้ำกับความขัดแย้ง’ สอดคล้องกับบทสรุปจากการประชุม World Social Science Report 2016 ที่ขยายความหมายของความเหลื่อมล้ำให้กว้างไกลไปกว่ามิติทางเศรษฐกิจตามความเข้าใจเดิม
แต่หากพิจารณาให้รอบด้าน ประเด็นความเหลื่อมล้ำครอบคลุมปริมณฑลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้คนถึง 7 มิติ
1. ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
2. ความเหลื่อมล้ำทางสังคม
3. ความเหลื่อมล้ำด้านวัฒนธรรม
4. ความเหลื่อมล้ำด้านการเมือง
5. ความเหลื่อมล้ำทางสิ่งแวดล้อม
6. ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่
7. ความเหลื่อมล้ำทางความรู้
Author
กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY