“เด็กสมัยนี้…” วรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์

  • วรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์
  • สถาปนิก นักธุรกิจ นักเขียน นักแสดง อาจารย์
  • เป็นแม่ลูกสอง คนหนึ่งเป็นแรปเปอร์ คนหนึ่งเป็นพ่อครัวที่เป็นแดรกควีน

คุณเคยรู้สึกไม่เข้าใจหรือรำคาญใจกับพฤติกรรมการแสดงออกของเด็กสมัยนี้หรือไม่ (รวมถึงลูกตัวเอง)

มีบ้างที่ไม่เข้าใจในพฤติกรรมของเด็กยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะลูกตัวเอง แต่ไม่รำคาญเพราะเห็นใจที่เด็กสมัยนี้ไม่ค่อยได้มีโอกาสใช้ชีวิตแบบเที่ยวเล่นผจญภัยหัวหกก้นขวิด ไม่มีโอกาสท่องโลกกว้างหรือพบปะผู้คนมากมายเหมือนสมัยเรา เด็กส่วนมากเรียนรู้โลกจากทีวี หนัง จอคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และเพื่อนที่โรงเรียน แบบผิวเผิน สมัยเรามีสังคมเพื่อนบ้าน ญาติมิตร ที่เป็นสังคมใหญ่มากให้ได้เรียนรู้ อีกทั้งการเป็นคนชั้นกลางในต่างจังหวัดที่ไม่ได้ร่ำรวย ทำให้เราได้มีเพื่อนหลายระดับ 

เด็กสมัยนี้มีเพื่อนแค่ระดับเดียวคือเพื่อนที่โรงเรียน เรารู้ว่าประสบการณ์ชีวิตเขาไม่เหมือนเรา ก็เลยไม่ได้คาดหวังว่าเขาจะเป็นแบบเรา

คุณคิดว่าคำบ่นของคนปัจจุบันที่ว่า “เด็กสมัยนี้…” มีที่มาจากอะไร

คิดว่ามาจากทัศนะของคนที่อาจจะผ่านการมองโลกไม่รอบด้านนัก หรือคบคนมาน้อย เลยทำให้ไม่รู้ว่า คนสมัยไหนมันจะเป็นยังไงก็ได้ ไม่ได้มีข้อจำกัดว่า จะต้องเป็นแบบใดแบบหนึ่ง คนสมัยก่อนบางคนที่เลวกว่าคนสมัยนี้ก็มี และคนสมัยนี้บางคนที่เลวกว่าคนสมัยก่อนก็มี คนมันจะดีเลวก็เพราะตัวมันเอง ไม่ได้ขึ้นกับยุคสมัย ที่เราคิดว่าเราดี ก็เพราะพ่อแม่เราเลี้ยงเรามาดี และที่เราคิดว่าลูกเราไม่ดีหรือไม่ได้ดังใจ ก็อย่าไปโทษใคร นอกจากตัวเองที่เลี้ยงลูกไม่ดีเอง สังคมภายนอกยังไงมันก็ต้องเปลี่ยนไปตามกาลเวลาไม่หยุดนิ่งอยู่แล้ว จะไปโทษสังคมหรือยุคสมัยคงไม่ถูก

คุณคิดว่าอะไรคือที่มาของพฤติกรรมการแสดงออกของเด็กยุคปัจจุบัน ที่อาจสร้างความไม่เข้าใจให้ผู้ใหญ่จำนวนหนึ่ง

สื่อของยุคนี้มันมีตัวเลือกให้เสพตามรสนิยมและตามความสนใจของวัยหลากหลายขึ้น ผู้ใหญ่ก็เสพสื่อแบบที่ตัวเองสนใจ ในขณะที่เด็กเขาก็เสพสื่อที่เขาสนใจ การหล่อหลอมทางความคิดหรือทัศนคติของคนที่เสพสื่อต่างประเภทหรือรับข้อมูลข่าวสารต่างกันก็ย่อมจะทำให้เกิดชุดความคิดที่ต่างกัน มาตรฐานการตัดสินว่าอะไรดีหรือชั่วก็ต่างกัน เมื่อเด็กทำอะไรบางอย่างที่คิดว่าโอเค ก็อาจจะไม่โอเคในทัศนะของผู้ใหญ่

คุณโตมากับการเลี้ยงดูแบบไหน แล้วเลี้ยงดูลูกแตกต่างหรือเหมือนกันกับที่ถูกเลี้ยงมาหรือไม่ อย่างไร

โตมากับทัศนะทางสังคมที่ค่อนข้างหัวโบราณ อนุรักษ์นิยม ไม่มีความทัดเทียมทางเพศ ไม่สนิทกับแม่ แต่ได้รับความรักเต็มที่และแบบอย่างที่ดีหลายอย่างจากพ่อ ได้รับการสนับสนุนในทุกเรื่องที่สนใจ แม้ที่บ้านจะไม่ได้มีฐานะร่ำรวย ทำให้กล้าตัดสินใจใช้ชีวิตในแบบที่แตกต่างจากเด็กรุ่นเดียวกัน เมื่อถึงตอนเลี้ยงลูกตัวเองก็พยายามมอบโอกาสและการสนับสนุนให้ในแบบเดียวกัน 

แต่ในเรื่องการฝึกให้เป็นคนที่อดทนยังทำได้ไม่ดีเท่าที่พ่อแม่เราสอนเรามา เพราะลูกโตมาในสิ่งแวดล้อมที่สุขสบาย ถึงจะมีความสามารถหลายอย่าง แต่ขี้เกียจและอดทนน้อยกว่าเรามาก ซึ่งก็โทษใครไม่ได้ เราเลี้ยงเขาไม่ดีเอง  

คุณคิดว่า อะไรคือตัวแปรสำคัญที่ทำให้เด็กคนหนึ่งเติบโตและมีชีวิตที่ดี

จากประสบการณ์ตรงของชีวิตที่ผ่านมา ตอบว่า เป็นเรื่องของ ‘เวรกรรม’ เพราะไม่ว่าเราจะให้การศึกษาดีแค่ไหน รักเขามากแค่ไหน สอนเขา หรือให้โอกาสเขามากแค่ไหน ชีวิตเขาจะได้ดีหรือไม่ดี เห็นคุณค่าในสิ่งที่เราให้หรือไม่เห็น เราก็ไม่อาจควบคุมได้ 

เด็กบางคนโตมาจากชีวิตขาดๆ เกินๆ ก็อาจเติบโตมาเป็นคนคุณภาพและมีชีวิตที่ดีได้ เด็กบางคน เกิดมาดีทุกอย่าง โตมาชีวิตก็พังได้ ไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่า เลี้ยงลูกวิเศษแค่ไหนแล้วจะออกมามีชีวิตที่ดี ถ้าเป็นแต่ก่อน เห็นโลกมาน้อยกว่านี้ อาจจะไม่ตอบแบบนี้ แต่ตอนนี้ เชื่อว่า ทุกอย่างเป็นเรื่องของ เวรกรรมล้วนๆ ค่ะ


WAY ชวนทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างรุ่นอย่างกระชับ โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ กับหนังสือใหม่ ‘เปลี่ยนผ้าพันแผลในหัวใจให้บุตรหลาน’ ที่จะบอกเล่าความรู้ของฟรอยด์ ทักษะสมอง EF ไปจนถึงทักษะศตวรรษที่ 21 ภายใต้บริบทสังคมไทย

ร่วมทำความเข้าใจ หาคำตอบ และลงมือทำสิ่งที่ถูกต้องอย่างซื่อตรงได้แล้ววันนี้

เปลี่ยนผ้าพันแผลในหัวใจให้บุตรหลาน

ผู้เขียน นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

ปกแข็ง

จำนวน 328 หน้า | ราคา 500 บาท

พบกันที่บูธ J29 ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม – 9 เมษายน 2566

รอบออนไลน์สั่งซื้อได้ทาง https://m.me/waymagazine

(* เริ่มจัดส่งวันที่ 5 เมษายน 2566 เป็นต้นไป)

ปกอ่อน

จำนวน 328 หน้า | ราคา 350 บาท

ติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่บริษัท เคล็ดไทย จำกัด

Web: www.kledthai.com | Tel: 02 225 9536-39

Facebook: kledthai | Line: @kledthai

Email: [email protected]

#WAY #เคล็ดไทยจัดจำหน่าย #นายแพทย์ประเสริฐผลิตผลการพิมพ์ #สัปดาห์หนังสือ66 #BKKIBF2023 #Bookfluencer

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า