ตับคืออวัยวะที่มีขนาดพื้นที่ผิวใหญ่เป็นอันดับสองของร่างกายรองจากผิวหนัง ที่รับหน้าที่สำคัญในร่างกายหลายประการ อาทิ ช่วยล้างพิษ ผลิตน้ำย่อยอาหารประเภทโปรตีน ทั้งยังทำหน้าที่ผลิตสารสำคัญอีกหลายชนิด ความพยายามในการดูแลรักษาสุขภาพตับ จึงจำเป็นต่อการมีชีวิตยืนยาว
ชวนคุณร่วมสำรวจ 5 พฤติกรรมและอุปนิสัยประจำวันที่อาจเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการทำงานของตับ
ถือเป็นสาเหตุหลักของการทำลายตับ พฤติกรรมการดื่มติดต่อกันนานๆ อาจนำไปสู่อาการไวรัสตับอักเสบ ไขมันสะสมในตับหรือไขมันพอกตับ และอาการตับแข็ง เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ตับต้องรับบทหนักในการขับแอลกอฮอลออกจากร่างกาย
2. พฤติกรรมการกินและน้ำหนัก
การรับประทานอาหารไม่มีคุณภาพ ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของตับ นอกจากนั้น อาหารบางชนิด โดยเฉพาะขนมหรืออาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เมื่อได้รับติดต่อกันนานๆ อาจนำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล (non-alcoholic fatty liver disease: NAFLD) โดยผู้ที่มีน้ำหนักเกินจะเสี่ยงต่อภาวะนี้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ
นอกจากการใช้ยาเกินความจำเป็น ทำให้ตับทำงานหนักกว่าปกติแล้ว อีกประเด็นที่พึงระวังคือ ยาจำเป็นบางชนิดมีผลข้างเคียงต่อตับ โดยเฉพาะพาราเซตามอล และยารักษามะเร็งส่วนใหญ่ สารสังเคราะห์หลายชนิดในยาอาจกลายเป็นพิษต่อตับ แม้จะเป็นเคสที่พบได้ไม่บ่อย แต่เคยมีกรณีที่คนไข้เกิดอาการตับวายจนถึงแก่ชีวิต หลังจากได้รับยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
4. สูบบุหรี่
นอกจากจะเป็นพฤติกรรมทำลายปอด การสูบบุหรี่ยังมีผลต่อตับ โดยสารที่ปะปนอยู่ในควันบุหรี่จะเข้าสู่ตับ ซึ่งจะทำให้ตับทำงานหนักขึ้น และนำไปสู่การกีดขวางกระบวนการทำงานของร่างกายโดยรวม
มีงานวิจัยศึกษาเกี่ยวกับการพักผ่อนและการทำงานของตับ เผยแพร่ใน Journal of Anatomy เมื่อเดือนมีนาคม 2008 พบว่าการพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดภาวะ oxidative stress หรือระดับของสารอนุมูลอิสระเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่อาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญของร่างกาย หากมีพฤติกรรมนอนไม่พอติดต่อกันนานๆ จะทำให้เสี่ยงต่ออาการป่วย อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง ไปจนถึงอาการต้านทานต่อฮอร์โมนอินซูลินที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเอง (insulin resistance: IR)
ที่มา:
herbs-info.com
livertox.nih.gov
ncbi.nlm.nih.gov