ผู้เลี้ยงวัว หมู เป็ด และไก่ ให้พวกมันกินยาปฏิชีวนะเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่า พวกมันจะแข็งแรงและโตไว แต่ตอนนี้ องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐ หรือ FDA ออกมาเรียกร้องให้บริษัทผู้เลี้ยงสัตว์หยุดใช้ เพื่อลดการเกิดโรคติดเชื้อที่ดื้อยาในมนุษย์
องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาหรือ FDA ได้ศึกษาและหาทางแก้ไขประเด็นยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์มาหลายปีแล้ว เพราะ เชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฎิชีวนะ เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และ ผู้บริโภคเองก็ออกมาเรียกร้องเนื้อสัตว์ที่ปลอดยาปฏิชีวนะ โดยแมคโดนัลด์เป็นรายแรกๆ ที่ออกมาประกาศไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ต่าง ซึ่งทำให้ผู้ผลิตและจำหน่ายเนื้อสัตว์จำนวนมากหันมาขานรับนโยบายนี้ตาม ร้านอาหารในเครือ Chipotle ก็พยายามใช้เนื้อที่ปลอดสารปฏิชีวนะ แต่ก็เผชิญปัญหาเรื่องการตรวจสอบ
เจ้าหน้าที่ FDA เผยว่า โครงการดังกล่าวมีขึ้นเพื่อ ลดเชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะในผู้บริโภค ซึ่งกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นและเป็นปัญหาสุขภาพใหญ่ การได้รับยาปฏิชีวนะเข้าไปมากๆ ทำให้เชื้อโรค ต้านยา และไม่มีประสิทธิภาพในการรักษา จนล้มป่วยในที่สุด
เดือนกันยายนที่ผ่านมา ศูนย์ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคแห่งสหรัฐอเมริกา เผยข้อมูลว่า มีประชากรมากกว่า 23,000 คนที่เสียชีวิตจากการโรคติดเชื้ออันเนื่องมาจากการดื้อยา
โรงพยาบาลคือ สถานที่เสี่ยงอันตรายต่อเชื้อโรคดังกล่าวมากที่สุด และ ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์นั้นมีมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม FDA แถลงว่า นี่จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการลดเชื้อโรคที่ดื้อยา
“เราจำเป็นต้องเลือกใช้ยาและช่วงเวลาที่ใช้กับสัตว์” วิลเลียม ฟลินน์ จากศูนย์การสัตวแพทย์แห่ง FDA เผย เราอาจไม่สามารถป้องกัน“ การดื้อยาปฏิชีวนะได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เราก็ต้องทำทุกทางเพื่อให้มันแพร่กระจายช้าลง”
แนวทางนี้ของ FDA จะให้เวลาแก่ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเนื้อสัตว์ต่างๆ 3 ปีในการนำไปปรับใช้ปฏิบัติ
รองผู้อำนวยการด้านอาหารของFDA ไมเคิล เทเลอร์เชื่อว่า การขอความร่วมมือให้กลุ่มอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เปลี่ยนแปลง จะเป็นวิธีลดการใช้ยาได้เร็วที่สุด เพราะถ้า FDA ดำเนินโครงการนี้ในรูปของกฎหมายเข้มงวด บรรดาผู้ผลิตต่างๆ อาจจะต้องดำเนินตามขั้นตอนของรัฐที่ซับซ้อน ซึ่งคิดว่าต้องใช้เวลาหลายปี
“เราเชื่อว่าการพูดคุยกัน จะเป็นการเริ่มต้นที่ประสบผลสำเร็จ” ไมเคิล เทเลอร์ เชื่ออย่างนั้น
สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา แถลงว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้ จะมีผลดีต่อเด็กๆ ที่ร่างกายรับสารปฏิชีวนะได้จำกัด
“เมื่อยาปฏิชีวนะถูกตรวจพบว่าดื้อยาและนำไปสู่โรคติดเชื้อ ส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กบางคนเสียชีวิตไปทั้งที่ยังไม่ทันได้รับการรักษา” ประธานสมาคคมกุมารแพทย์ โทมัส เค แมคิลเนอร์นี กล่าว
อย่างไรก็ตาม นักถ้าบริษัทยาลงนามตามแนวทางของ FDA ซึ่งใจความสำคัญคือ ทำให้การใช้ยาปฎิชีวนะในสัตว์เป็นเรื่องผิดกฎหมาย จะใช้ได้ต่อเมื่อมีใบรับรองแพทย์เท่านั้น แต่ช่องโหว่สำคัญคือ ยาปฎิชีวนะสามารถหาได้ทั่วไป รวมถึงปฏิชีวนะอันตราย และ ยาปฏิชีวนะที่ใช้กับคนได้แต่ห้ามใช้กับสัตว์ เช่น เพนนิซิลิน และ เตตราไซคลิน
เกษตรกรบางกลุ่มส่งสัญญาณ สนับสนุนแนวทางของ FDA รวมถึงสมาคมผู้ค้าเนื้อหมูแห่งชาติ ดร.ลิซ แวกสตรอม จากสมาคมผู้ค้าเนื้อหมู เผยว่า นโยบายของ FDA ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้สารปฏิชีวนะในฟาร์มอย่างแท้จริง แต่ก็กังวลว่าสัตว์บางชนิดอาจไม่โตเร็วและผู้ผลิตอาจเผชิญกับเชื้อโรคต่างๆ มากขึ้น ซึ่งไม่รู้ว่าจะสร้างความสูญเสียทางอุตสาหกรรมไปมากเท่าไหร่
กลุ่มผู้สนับสนุนแนวทางนี้มองว่า FDA ควรผลักดันให้ยกเลิกการใช้อาหารสัตว์ที่ผสมยาปฏิชีวนะออกไปจากวงจรด้วย และให้ความเห็นว่า FDA ยังไม่ลงลึกพอในการแก้วิกฤติสุขภาเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ลอร่า โรเจอร์ นักเคลื่อนไหวจาก Pew Charitable Trusts’ human health and industrial farming campaign ให้ความเห็นว่าได้เรียกร้องให้ FDA เริ่มจัดการเรื่องลดการใช้สารปฏิชีวนะมาตั้งแต่ปี 1977 แล้ว
“มันมีเรื่องให้ทำมากกว่านี้ แต่นี่ FDA เพิ่งจะเริ่มต้น หลังจากไม่ทำอะไรเลยมานานกว่า 30 ปี” ลอร่า ทิ้งท้าย
****************************************************
ที่มา : AP,Huffingtonpost.com