Wikipedia ถอดถอนบรรณาธิการประจำภูมิภาค หลังพบรัฐบาลซาอุดีอาระเบียพยายามแทรกแซงการทำงาน 

เมื่อวันที่ 5 มกราคม ที่ผ่านมา สำนักข่าว The Guardian รายงานว่า แพลตฟอร์ม Wikipedia สั่งถอดถอนทีมงานในกองบรรณาธิการบางส่วนในประเทศซาอุดีอาระเบีย หลังพบว่า รัฐบาลซาอุดีอาระเบียพยายามแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในองค์กร เพื่อควบคุมเนื้อหาทั้งหมดที่เกี่ยวกับประเทศซาอุดีอาระเบีย

ด้าน Demoracy for the Arab World Now (DAWN) และ SMEX องค์กรอิสระที่สนับสนุนเสรีภาพบนโลกอินเทอร์เน็ตของอาหรับ ระบุว่า รัฐบาลซาอุดีอาระเบียแทรกแซงการทำงานของ Wikipedia ในภูมิภาคด้วยการส่งเจ้าหน้าที่รัฐแฝงตัวเข้าไปในฐานะบรรณาธิการอิสระ (independent editor) และยังสั่งจำคุกบรรณาธิการที่ไม่ยอมทำตามคำสั่ง 

ทั้งนี้ แม้ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มที่ใครๆ ก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้ แต่ Wikipedia ได้มอบหมายให้บรรณาธิการบางกลุ่มมีอำนาจในการแก้ไข ลบ หรือปกป้องเนื้อหาบางส่วนจากผู้ใช้ทั่วไปได้ บรรณาธิการเหล่านี้ยังสามารถจำกัดการเข้าถึงของผู้ใช้งานที่อยู่ในระดับต่ำกว่าได้ด้วย

ก่อนหน้านี้ในวันที่ 6 ธันวาคม 2565 Wikipedia แบนผู้ใช้งานถึง 16 แอ็กเคานต์ ในข้อหาการขัดกันของผลประโยชน์ (conflict of interest) จากเนื้อหาที่เขียนเกี่ยวข้องกับภูมิภาคอาหรับ ซึ่งคาดว่าจะเกี่ยวกับการแทรกแซงของรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย และย้อนหลังไปในปี 2020 รัฐบาลซาอุดีอาระเบียเคยจับกุมพนักงานของ Wikipedia สองราย คือ โอซามา คาลิด (Osama Khalid) ถูกตัดสินโทษจำคุก 32 ปี และ ซิยาด อัล โซเฟียนี (Ziyad al-Sofiani) ถูกตัดสินโทษจำคุก 8 ปี เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นความพยายามที่จะควบคุมการเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับประเทศของรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย 

Dawn และ SMEX ยังวิเคราะห์ว่า การจับกุมพนักงาน Wikipedia สองรายนี้ น่าจะเป็นการตอบโต้กรณีที่ อามัด อาบูอัมโม (Ahmad Abouammo) พนักงาน Twitter ถูกจับกุมในสหรัฐในข้อหาเป็นสายลับให้ราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 

การแทรกแซงและจับกุมพนักงาน Wikipedia ของรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย จึงสะท้อนความพยายามที่จะควบคุมข้อมูลข่าวสารบนโลกอินเทอร์เน็ต ความพยายามในการปกปิดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมภายในประเทศ และการตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน

ที่มา

Author

ภูภุช กนิษฐชาต
คนหนุ่มผู้หลงใหลการตามหาสาระในเรื่องไร้สาระ คลั่งไคล้การถกเถียงเรื่องปรัชญาการเมืองยามเมามาย นิยมเสพสื่อบันเทิงแทบทุกชนิดที่มีบนโลก ขับเคลื่อนชีวิตด้วยคาเฟอีนและกลิ่นกระดาษหอมกรุ่นของหนังสือราวกับต้นไม้ต้องการแสงแดด ความฝันอันสูงสุดมีเพียงการได้มีชื่อของตนเองจารึกเอาไว้ใน Reading-list ของเหล่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยเพียงเท่านั้น

Illustrator

ณขวัญ ศรีอรุโณทัย
อาร์ตไดเร็คเตอร์ผู้หนึ่ง ชอบอ่าน เขียน และเวียนกันเปิดเพลงฟัง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า