ขานนามที่แท้จริงของฉัน! ‘อินเดีย’ จ่อเปลี่ยนไปใช้ชื่อเดิม ‘ภารัต’ หวังลบมรดกล่าอาณานิคม

ในการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G20 ที่จะถึงในวันที่ 9-10 กันยายน 2023 นี้ อินเดียรับบทบาทเป็นเจ้าภาพของงาน แต่ไฮไลต์ที่เตะตาหลายคนก็คือ บัตรเชิญผู้นำแต่ละประเทศที่ถูกส่งโดยทางเจ้าภาพ จั่วหัวคำว่า ‘ประธานาธิบดีแห่งภารัต’​ ไม่ใช่คำว่า ‘อินเดีย’​

ทำให้เกิดกระแสข่าวว่าประเทศอินเดียกำลังเตรียมจะเปลี่ยนชื่อหรือไม่ เรามาดูกันว่า สาเหตุใดจึงมีคำว่า ‘ภารัต’​ ขึ้นมาในประเทศอินเดีย แล้วเพราะอะไรจึงต้องเปลี่ยน

ที่จริงแล้วคำว่า ‘ภารัต’ หรือ ‘ภารัตตะ’ เป็นคำที่มีมาก่อนคำว่าอินเดียเสียอีก และเชื่อกันว่า คนอินเดียแต่โบราณก็เรียกแคว้นการปกครองของตัวเองว่า ดินแดนภารัต แม้แต่ในรัฐธรรมของประเทศอินเดียเอง ในหมวดหมู่แรก  เกี่ยวกับอาณาจักรและการปกครองก็ปรากฏคำคำนี้ด้วยว่า

“อินเดีย นั่นก็คือภารัต จึงเป็นสหภาพแห่งรัฐ”
(India, that is Bharat, shall be a Union of States.
)

ทีนี้แล้วชื่อ ‘ อินเดีย’ นั้นมาจากไหน จากการสืบค้นพบว่า มีหลายแหล่งที่มา และพูดยากว่าใครเป็นคนแรกเริ่มก่อนกันแน่ บางแหล่งอ้างว่ามาจากคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ที่เป็นผู้ตั้งชื่อให้อินเดียตั้งแต่ในยุคก่อนปี 1500 แต่ดูจากหลักฐานโดยรวมแล้วเชื่อถือได้ยากนัก เพราะไม่ปรากฏหลักฐานว่าโคลัมบัสเดินทางไปถึงอินเดียจริงไหม มีเพียงความเข้าใจผิดว่าแผ่นดินสหรัฐอเมริกา คือ แผ่นดินอินเดียเพียงเท่านั้น

ในขณะที่บางแหล่งอ้างว่าชื่ออินเดีย มาจากแม่น้ำอินดัสในภาษาฮินดู หรือ แม่น้ำสินธุในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลุ่มชาวต่างชาติกลุ่มแรกที่มาคือคนกรีก สมัยเมื่อ 2500 ปีก่อน ถึงอย่างไรเรื่องนี้ไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้

แต่มีคนจำนวนมากค่อนข้างเชื่อในทฤษฎีนี้ และเชื่อว่าจักรวรรดิอังกฤษได้รับความคิดนี้ จึงเรียกชื่อประเทศอินเดีย เริ่มตั้งแต่ช่วงของการล่าอาณานิคมในยุคศตวรรษที่ 18 และไม่ใช่แค่นั้น ยังมีชื่อเมือง และสถานที่จำนวนมากในอินเดียถูกตั้งชื่อใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการออกเสียงของเจ้าจักรวรรดิ

อาทิ เมืองตรีรุโกจิ (Triru-Kochi) ถูกเปลี่ยนเป็น เคเรลา (Kerela) ในปี 1956, เมืองบอมเบย์ (Bombay) ถูกเปลี่ยนเป็น มุมไบ (Mumbai) ในปี 1996, เมืองแมดรัส (Madras)  ถูกเปลี่ยนเป็น เชนไน (Chennai) ในปี 1996 เป็นต้น

อย่างไรก็ดี แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนชื่อกลับไปใช้ชื่อเดิม เป็นแนวคิดที่ถูกเสนอโดย พรรคภารตียชนตา (Bharatiya Janata Party: BJP) พรรคชาตินิยมฮินดูแบบดั้งเดิม ปัจจุบันเป็นพรรครัฐบาล และเป็น 1 ใน 2 พรรคใหญ่ของอินเดีย ด้วยเหตุผลเรื่องของความเป็นชาตินิยม ที่ต้องการจะลบล้างมรดกตกทอดที่มาจากการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ

ทางด้าน ฮิมันตา บิสวา ซาร์มา (Himanta Biswa Sarma) มุขยมนตรี หรือ หัวหน้าฝ่ายบริหาร ประจำรัฐอัสสัม (Chief Minister of Assam) ได้ออกมาทวีตเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2023 โดยมีข้อความว่า

 “สาธารณรัฐภารัต – ดีใจ และภูมิใจที่อารยธรรมของเราได้ก้าวเข้าสู่อัมริต คาล์ล (หมายถึง ความเชื่อที่พูดถึงช่วงเวลาสู่การเริ่มต้นใหม่ สวรรค์เปิดทาง)” 
(REPUBLIC OF BHARAT – happy and proud that our civilisation is marching ahead boldly towards AMRIT KAAL)

และยังเปลี่ยนข้อความไบโอในโปรไฟล์ของตัวเองเป็น “Chief Minister of Assam, BHARAT” “มุขยมนตรีประจำรัฐอัสสัม, ประเทศภารัต”

ส่วนอีกพรรคหนึ่งก็คือ พรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดีย (Indian National Congress) จากการรายงานของสำนักข่าว THE HINDU BUREAU อ้างว่า มีสมาชิกพรรคหลายคนตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของช่วงเวลา ในการเปลี่ยนชื่อ และการเชื้อเชิญผู้นำชาติอื่นในนามของภารัต ดูเป็นการกระทำที่พลการเกินไหรือไม่ และต้องคำนึงถึงความเสียหาย ความยุ่งยากจากการเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ ในเวลานี้อีกด้วย

ประเด็นเรื่องนี้เป็นที่น่าจับตามอง ว่าจะมีผลกระทบใดๆ ตามมาสู่กระแสสังคมของโลก โดยที่ก่อนหน้านี้ ‘ประเทศตุรเคีย’ ก็เคยเปลี่ยนมาแล้วจากเดิมคำว่า ‘ตุรกี’ เพราะเป็นการออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษาของคนพื้นเมือง เพื่อรักษาและยืนหยัดในเอกลักษณ์ของชาติตนเอาไว้ หลายประเทศก็เคยมีการเปลี่ยนมาแล้ว ทั้ง ‘ฮอลแลนด์’ ก็เปลี่ยนมาเป็น ‘เนเธอร์แลนด์’ แม้แต่ ‘ไทย’ เองก็เคยใช้ชื่อ ‘สยาม’ หรือประเทศอย่างฟิลิปปินส์ ก็เคยมีประเด็นเรื่องนี้ เนื่องจากชื่อ ฟิลิปปินส์ ถูกตั้งตามกษัตริย์สเปน พระเจ้าฟิลิป ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาณานิคมของฟิลิปปินส์เช่นกัน

ในทางกลับกัน ก็ย่อมมีกระแสทัดทาน และตั้งคำถามถึงความยุ่งยากที่จะตามมา

อ้างอิง ​:

Author

ยอดเยี่ยม ยิ่งยืนยง
เพราะหมีกับกระต่าย ไม่เคยเป็นศัตรูตามธรรมชาติ
พวกมันก็เลยนั่งอึอยู่ข้างกันเป็นปกติ
วันหนึ่งหมีถามกระต่ายว่า "เธอมีปัญหาเรื่องอึติดขนบ้างมั้ย"
กระต่ายตอบว่า "ไม่นะ ไม่มีนะ"
หมีได้ยินดังนั้น ก็เลยหยิบเอากระต่ายขึ้นมาเช็ดตูด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า