หลายคนอาจจะแก้เบื่อ แก้ง่วง ไปจนถึงแก้เครียดด้วยการเคี้ยวหมากฝรั่ง แต่ทราบไหมว่า มีการเติมสารอะไรในหมากฝรั่งบ้าง และปัจจุบันสารเหล่านั้นเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาไปอย่างไร กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนผสมเล็กจิ๋วที่เรียกว่า อนุภาคนาโน (nanoparticles) จากนาโนเทคโนโลยี เริ่มเข้ามาอยู่ในอาหารของเราอย่างเงียบๆ และไม่ใช่แค่ในหมากฝรั่ง แต่ยังพบได้ในอาหารหลากหลาย ตั้งแต่ซุป แครกเกอร์ คุกกี้ ช็อกโกแลต ไปจนถึงครีมเทียม ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีส่วนผสมของอนุภาคนาโน
ไม่มีการเปิดเผยจากบรรษัทอุตสาหกรรมอาหาร และแน่นอนว่า ยังไม่มีมาตรการควบคุมออกมาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (Food and Drug Administration: FDA) แต่อย่างใด
สารชื่อคล้ายโลหะและแร่ธาตุที่เติมลงไปในอาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกวันนี้ ได้แก่ ไทเทเนียมไดออกไซด์ (titanium dioxide) ไฮดรอกซีอพาไทต์ (hydroxyapatite) และซิงก์ออกไซด์ (zinc oxide) นับสิบปีที่สารเหล่านี้ถูกใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและยา ในรูปอนุภาคขนาดปกติ ซึ่งขณะนั้น FDA จัดให้สารเหล่านี้อยู่ในกลุ่มที่ยอมรับได้ว่าปลอดภัย (generally recognized as safe: GRAS) ขณะที่ปัจจุบันเริ่มมีความกังวลในเรื่องของสารดังกล่าวที่เข้ามาในรูปของอนุภาคเล็กจิ๋วอย่างอนุภาคนาโน โดยเฉพาะความเสี่ยงในการก่อพิษ เมื่อร่างกายย่อยสารตัวเดียวกันแต่ต่างขนาด
รายงานศึกษา ‘Tiny Ingredients, Big Risks’ ของกลุ่ม Friends of the Earth (FOE) หนึ่งในกลุ่มขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก เมื่อปี 2014 พบว่า อนุภาคนาโนอาจก่อพิษทั้งในเซลล์เดี่ยวๆ และในสัตว์ทดลอง หลักฐานเบื้องต้นแสดงให้เห็นระดับของอนุภาคนาโนที่พบในอาหารผ่านกระบวนการ สูงขึ้นถึงระดับร้อยนาโนเมตร และมีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน และการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร ในผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ (Crohn’s disease) และมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์ตรวจพบอนุภาคนาโนในเนื้อเยื่อทางเดินอาหาร
FOE ให้ข้อมูลว่า บรรษัทอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยี โดยไม่ต่ำกว่า 200 บริษัท มีการลงทุนด้านนี้อย่างจริงจังและอยู่ระหว่างการโฆษณาผลิตภัณฑ์ คาดการณ์ว่าตลาดอาหารนาโนจะเติบโตถึง 20,000 ล้านดอลลาร์ ภายในปี 2020 รายชื่อบริษัทที่มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี
บวกกับปัญหาเรื่องอาหารตัดแต่งพันธุกรรมที่สามารถเข้ามาในระบบอาหารโดยไม่มีการควบคุม ติดฉลาก หรือการทดสอบความปลอดภัยก่อนวางจำหน่าย ผู้บริโภคอย่างเราจึงมีสภาพไม่ต่างไปจากหนูทดลองสักเท่าไหร่
[table caption=”ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีส่วนผสมของอนุภาคนาโน” width=”500″ colalign=”left|left”]
เครื่องดื่มจากอัลมอนด์;ลูกอม
ซีเรียล;ช็อกโกแลต
น้ำเชื่อมช็อกโกแลต;ครีมเทียม
คุกกี้;แครกเกอร์
ครีมชีส;โดนัท
หมากฝรั่ง;มันบด
มายองเนส;นม
มินต์;น้ำมัน
พาสต้า;ป๊อปคอร์น
พุดดิ้ง;เครื่องดื่มจากข้าว
น้ำสลัด;ถั่วเหลือง และน้ำถั่วเหลือง
เครื่องดื่มเกลือแร่และเครื่องดื่มต่างๆ;โยเกิร์ต
[/table]
[table caption=”รายชื่อบริษัทที่มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี” width=”500″ colalign=”left|left”]
Altria (Mondelez);Associated British Foods
Ajinomoto;BASF
Cadbury Schweppes;Campbell Soup
Cargill;DuPont Food
Industry Solutions;General Mills
Glaxo-SmithKline;Goodman Fielder
Group Danone;John Lust Group Plc
J. Heinz;Hershey Foods
La Doria;Maruha
McCain Foods;Mars, Inc.
Nestle;Northern Foods
Nichirei;Nippon Suisan
Kaisha;PepsiCo
Sara Lee;Unilever
United Foods
[/table]
อ้างอิงข้อมูลจาก:
alternet.org
foe.org
fda.gov