กินๆ นอนๆ เวลาเดิมตั้งแต่เด็ก ลดความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน

ข้อสรุปดังกล่าวไม่ใช่สมมุติฐานตั้งต้นในงานวิจัยของ ซาราห์ แอนเดอร์สัน (Sarah Anderson) นักระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยโอไฮโอ (The Ohio State University) ในสหรัฐ หากพบโดยบังเอิญว่า การกำหนดตารางให้เด็กๆ วัยก่อนเข้าโรงเรียนกินและนอนเวลาเดิม เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กอายุ 11 ปีด้วยกัน เด็กที่มีกิจวัตรซ้ำเดิมมีความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนน้อยกว่า แอนเดอร์สันทำการศึกษากับนักเรียนในประเทศอังกฤษ บันทึกกิจวัตรประจำวันของเด็กๆ ตั้งแต่อายุ 3 ขวบจนพวกเขาอายุ 16 ปี

อีกงานวิจัยในปี 2010 แอนเดอร์สัน และ โรเบิร์ต วิเทเคอร์ (Robert Whitaker) เผยแพร่งานวิจัยที่ให้ผลใกล้เคียงกัน แต่ตัวอย่างศึกษาคือเด็กๆ ในสหรัฐกว่า 8,550 คน พบว่า เด็กที่มีกิจวัตรสามอย่างที่ชัดเจน คือ กินอาหารเย็นกับครอบครัว เข้านอนในเวลาเดิม และถูกจำกัดเวลาดูโทรทัศน์ แม้พวกเขาจะหาว่าเป็นยาขมที่น่าเบื่อ นอกจากจะให้ตัวเลขว่าเด็กกลุ่มนี้เสี่ยงอยู่ในภาวะอ้วนน้อยกว่าอีกกลุ่มอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์แล้ว พวกเขายังเสนอว่า การกินอาหารเย็นพร้อมหน้าพร้อมตา ยังส่งผลต่อนิสัยการกินที่ดี และสุขภาพจิตของเด็กๆ เมื่อพวกเขาโตขึ้นด้วย

คำอธิบายงานวิจัยทั้งสองชิ้นมีว่า เพราะร่างกายของคนเราขึ้นอยู่กับแสงแดดและความมืดมิดที่มีมาสม่ำเสมอในทุกๆ วัน ร่างกาย โดยเฉพาะระบบเผาผลาญของเราจึงถูกเซ็ตค่าอย่างเป็นระบบ และถ้ามันถูกขัดจังหวะ ก็อาจหมายถึงระบบที่ถูกเซ็ตไว้ย่อมแปรปวน


อ้างอิงข้อมูลจาก: npr.org

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า