Main way
แม้จะรอดพ้น ‘ภาวะฉุกเฉินทางพลังงาน’ มาได้อย่างหวุดหวิดเพราะรัฐบาลทุ่มหมดหน้าตัก นำเข้าพลังงานประเภทอื่นเข้ามาเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติที่หายไป จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า จริงๆ แล้ว “พลังงานไทย จะพึ่งใคร” ใน พ.ศ. ที่ประเทศไทยพึ่งตัวเองไม่ได้
Interview
งานวิจัยชิ้นล่าสุดของ ศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ชื่อ ประชาธิปไตยไทย: ปรัชญาและความเป็นจริง นำไปสู่ข้อสรุปในทำนองว่า ความเป็นประชาธิปไตยที่หวาดกลัวคือพลเมืองในประเทศมองเรื่อง ‘ศีลธรรม’ เป็นรสนิยม
กล่าวให้ง่าย ศ.ดร.สมบัติ มองว่าหากผู้คนในสังคมนิยามความดีกันคนละความหมายเสียแล้ว ก็น่าเวียนหัวเหลือเกิน
อาจถูกมองว่าเพ้อเจ้อ แต่วาระสุดท้ายของโสเครตีสทำให้เรานึกถึง ศ.ดร.สมบัติ ในตอนนี้เหลือเกิน โสเครตีสปฏิเสธการช่วยเหลือจากมิตรสหายชาวเอเธนส์ในการหลบหนีออกจากคุก และยินยอมดื่มน้ำเฮมล็อคแต่โดยดี โสเครตีสเลือกที่จะทำตามกฎหมาย มิยอมละเมิดมาตรฐานของสังคม ถูกผิดเป็นหน้าที่ทางกฎหมาย หลังมีชื่อเกี่ยวพันกับคดีร่ำรวยผิดปกติของอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม แต่นาทีนี้ ศ.ดร.สมบัติ เลือกที่จะลาออกจากตำแหน่งทางวิชาการ ประหนึ่งเป็นการยืนยันในสิ่งที่ตนเองพร่ำสอนมาทั้งชีวิต – ความดี ความถูกต้อง
Face of entertainment
ภาพยนตร์สารคดีของ นนทวัฒน์ นำเบญจพล เรื่อง ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง (Boundary) เดินทางไปฉายครั้งแรกในเทศกาลหนังนานาชาติเบอร์ลินครั้งที่ 63 ภายนตร์สารคดีเรื่องนี้มีจุดตั้งต้นที่ความขัดแย้งในประเทศเรื่องทวงคืนเขาพระวิหารเมื่อปี 2553 นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา
เขาเดินทางไปยังพื้นที่ชายแดน เพื่อพูดคุยกับผู้คนทั้งสองฝั่ง แต่เรื่องราวไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เพราะนนทวัฒน์เป็นคนไทย คู่ขัดแย้งโดยตรงกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่กระนั้นการเดินทางข้ามไปพรมแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้านในยุคโลกไร้พรมแดนก็เป็นเรื่องน่าหวาดเสียวเหลือเกิน บางทีเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ สามารถนำไปทำภาพยนตร์ได้อีกเรื่องหนึ่ง
Sub way
หลังจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. แถลงนโยบายลดการบ้านนักเรียน มีทั้งเสียงชื่นชมและก่นด่า สารคดีชิ้นนี้ตั้งต้นที่เรื่อง ‘การบ้าน’ กว่าจะรู้ตัวในบรรทัดสุดท้าย การบ้านก็พาเราไปสู่เรื่องอื่นๆ อย่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ