Contents of the Year 2019

ตลอดทั้งปี 2019 WAY นำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ผ่านรูปแบบหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบทความ สกู๊ป สารคดี บทสัมภาษณ์ อินโฟกราฟิก และวิดีโอ

Video

วิดีโอเป็นรูปแบบหนึ่งที่เราใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและบอกเล่าประเด็นทางสังคม ตั้งแต่เรื่องใกล้ไปจนถึงเรื่องไกลตัว งานวิดีโอทั้งหมดผลิตโดยทีม WAY Documentary

เรารวบรวม Video content ที่มียอด Engagement สูงสุด 10 อันดับ มาให้ชมกันอีกครั้ง เพื่อทบทวนว่าในรอบปี 2019 ที่ผ่านมา เรื่องไหนประเด็นใดที่สังคมให้ความสนใจ และมันสะท้อนขวบปีที่ผ่านมาของสังคมไทยอย่างไร เพราะทุกสิ่งที่ผ่านไปนั้นจะหมุนวนกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง อนาคตก่อร่างสร้างตัวมาจากอดีต

*อันดับที่ 1

420 กัญชา ≠ อาชญากรรม

เผยแพร่เมื่อ 21/04/2019
Engagement: 56.2K
Estimated reach: 1.7M

‘กัญชา = ยาเสพติด’ คือมายาคติที่ฝังหัวคนไทยมาเกือบชั่วอายุคน

แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ค้นพบว่า กัญชาไม่ใช่สิ่งชั่วร้ายอย่างที่ถูกกล่าวหาเสมอไป เพียงแต่เหรียญอีกด้านของมันยังไม่เคยถูกพลิกขึ้นมาพิจารณาด้วยใจที่ปราศจากอคติต่างหาก

เสียงเพรียกของหนุ่มสาวชาว ‘กัญชาชน’ พยายามบอกสิ่งนี้กับสังคมไทย ด้วยหวังว่าสักวันหนึ่งมายาคติในโลกเก่าที่ตัดสินทุกอย่างด้วยเส้นแบ่งสีขาวกับสีดำ จะต้องถูกทลายลง

ตลอดปี 2562 คือยุคสมัยที่ข้อถกเถียงเรื่องกัญชาเบ่งบานขึ้นอีกครั้งในสังคมไทย

การเคลื่อนไหวของกัญชาชนยังไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ ก้าวย่างถัดไปคือการเรียกร้องให้ปลดล็อคกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 และการลดโทษทางอาญาที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ

 

*อันดับที่ 2

คุยเรื่องชาติแบบไม่ต้องแถ: รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

เผยแพร่เมื่อ 18/06/2019
Engagement: 36.1K
Estimated reach: 828K

ในวันที่ความแตกต่างทางความคิดใช้ความ ‘รักชาติ’ เข้ามาเป็นตัวประกัน

จู่ๆ น้องใหม่ในโลกทวิตเตอร์ก็พิมพ์คำถามที่สอนบ่อยๆ ในห้องเรียนว่า “ชาติคืออะไร” พร้อมคำอธิบายให้เพื่อนๆ ในโลกของนกสีฟ้าได้อ่าน

รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ เจ้าของ user name ว่า Kovitw ก็ร้อนแรงขึ้นมาในบัดดล เพราะเอาเข้าจริง คำว่าชาติที่ถูกเอาไปใช้เพื่ออ้างความรักและภักดี มันเป็นไปเพื่อแถมากกว่ารับฟังและยอมรับความแตกต่าง

“บัวใต้คอนกรีต” คือคำที่อาจารย์ใช้เปรียบเทียบพวกนิยมและชื่นชมการแถ

 

*อันดับที่ 3

1 ปีหลังจาก ‘ประเทศกูมี’ ถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

เผยแพร่เมื่อ 17/12/2019
Engagement: 26.5K
Estimated reach: 536K

“1 ปีหลังเพลงประเทศกูมี ต้องร้องเพลงอีกกี่ร้อยปี ประเทศถึงจะมีเสรีภาพ”

วิดีโอชิ้นนี้ WAY คุยกับ Rap Against Dictatorship เรื่องซิงเกิลล่าสุด ‘ถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง’ และทบทวนย้อนหลังไปจนถึง ‘ประเทศกูมี’ บทเพลงของพวกเขาเป็นเสมือนจดหมายเหตุประเทศไทย จารึกไว้ใช่เพราะชัง ในวาจาก้าวร้าวนั้น เราได้ยินความรัก

 

*อันดับที่ 4

นิยามใหม่กัญชา-กระท่อม ‘พืชยา’ ไม่ใช่ยาเสพติด

เผยแพร่เมื่อ 17/05/2019
Engagement: 20.1K
Estimated reach: 406K

พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สาระสำคัญคือให้สามารถนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้

ทว่า พ.ร.บ.ยาเสพติด ฉบับนี้ยังเป็นเพียงการ ‘คลายล็อค’ มิใช่ ‘ปลดล็อค’ อย่างที่หลายคนเข้าใจ เนื่องด้วยมีข้อจำกัดหลายประการที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาของวงการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก อีกทั้งยังติดเงื่อนปมทางกฎหมายที่จัดให้กัญชาอยู่ในบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ซึ่งมีบทลงโทษที่รุนแรง

เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาสังคมจึงเสนอร่าง พ.ร.บ.พืชยา กัญชา กระท่อม (ฉบับประชาชน) เป้าหมายในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ เพื่อจะแยกกัญชาและกระท่อมออกจาก พ.ร.บ.ยาเสพติด และ พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

หากสามารถกำหนดนิยามใหม่ของคำว่า ‘พืชยา’ ขึ้นมาได้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้จริง

 

*อันดับที่ 5

เสียงบนบัตรเลือกตั้ง ใครเลือกพลังประชารัฐ ใครเลือกอนาคตใหม่ (อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์)

เผยแพร่เมื่อ 08/04/2019
Engagement: 19.3K
Estimated reach: 773K

จากผลการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะมีความชอบมาพากลบรรจุปะปนอยู่ในหีบมากน้อยแค่ไหน ที่แน่ๆ คือหลายคนเซอร์ไพรส์กับคะแนนพลังประชารัฐ และประหลาดใจกับผลที่ได้รับของพรรคอนาคตใหม่

ชนชั้น (class) รุ่น (generation) และเขตความเป็นเมือง (urban) คือสิ่งที่ ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชื่อว่าเป็นตัวบ่งบอกว่าทำไมหลายเขตเลือกตั้งจึงกลายเป็นสีส้มของอนาคตใหม่ โดยเฉพาะการเป็นม้ามืดคว้าคะแนนดิบอันดับที่ 1 ในกรุงเทพฯ 800,000 เสียง

อีกด้านหนึ่ง popular vote ที่มากมาย-มากจนน่าเซอร์ไพรส์ของพลังประชารัฐก็มีคำอธิบายหลายชุดว่าฐานเสียงที่สนับสนุนนั้นมาจากไหน ปีกอนุรักษนิยม, กปปส. เดิม, กลุ่มสนับสนุนรัฐบาลทหาร, ฝ่ายที่ผิดหวังกับประชาธิปัตย์, ฝ่ายต่อต้าน ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย

 

*อันดับที่ 6

ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์: ผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนฯ

เผยแพร่เมื่อ 16/01/2019
Engagement: 18K
Estimated reach: 851K

ทั้งหมดเกิดจากนโยบายอนุญาตให้ใส่ชุดไปรเวทมาโรงเรียนได้อาทิตย์ละหนึ่งวัน ชื่อของ ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ ในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน จึงดังชั่วข้ามคืน

หลังจากวันนั้น ถึงจะเกิดเรื่องราวมากมายกับเขา แต่ในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียน เขาเป็น ‘ที่รัก’ ของนักเรียน

“ยูนิฟอร์มเป็นสิ่งที่ปิดซ่อนความจริง เราจะไปปิดซ่อนความจริงทำไม คือกลัวว่ามันจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ แล้วสังคมจริงมันไม่เหลื่อมล้ำเหรอ แล้วถ้ามันเหลื่อมล้ำคุณจะไปปิดมันทำไม”

ชวนย้อนชมความคิดที่แตกต่างผ่านคลิปสัมภาษณ์ ผอ.ศุภกิจ อีกครั้ง

 

*อันดับที่ 7

Old school voter

เผยแพร่เมื่อ 22/03/2019
Engagement: 18.1K
Estimated reach: 788K

เลือกตั้งครั้งนี้ First time voter ถูกตั้งความหวังไว้สูง ภาระทางสังคมฝากไว้บนไหล่บ่าคนรุ่นใหม่

เรายังไม่รู้หรอกว่า ผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร คนรุ่นใหม่จะเป็นตัวแปรสำคัญต่อผลการเลือกตั้งครั้งนี้จริงหรือไม่ ที่เราพอรู้คือ สังคมไทยยังมีลุงๆ ป้าๆ คนแก่คนเฒ่า คนรุ่นเก่าที่ยังหายใจอยู่ในสังคมเดียวกัน

ถ้าคนรุ่นใหม่ไม่ได้แปลว่าต้องก้าวหน้าไปเสียทั้งหมด คนรุ่นเก่าก็ใช่ว่าจะกะโหลกกะลาทั้งเจนเนอเรชั่น เรายังต้องอยู่ร่วมกัน และหนทางหลังการเลือกตั้ง ยังมีเรื่องราวอีกยาวไกล

 

*อันดับที่ 8

คุยเรื่องทำแท้งปลอดภัย กับ ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ

เผยแพร่เมื่อ 18/07/2019
Engagement: 15.2K
Estimated reach: 403K

ผู้หญิงเสียชีวิตจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย 70,000 คน/ปี โดย 95% มาจากประเทศที่กำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทย

ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคน รวมถึงบุคลากรในระบบสุขภาพ จะต้องทำความเข้าใจว่า ‘การทำแท้งปลอดภัย’ นั้นเป็นไปเพื่อรักษาชีวิตและสุขภาพของผู้หญิง

 

*อันดับที่ 9

กระจกวิเศษบอกข้าเถิด ใครกำหนดความงามเลิศในปฐพี

เผยแพร่เมื่อ 12/08/2019
Engagement: 13.7K
Estimated reach: 652K

สัมภาษณ์ ฐิติพงษ์ ด้วงคง นักวิชาการอิสระผู้ศึกษาด้านประกวดความงาม สตรีและเพศสถานะ ใครเป็นผู้กำหนดความงาม ความงามทำหน้าที่อย่างไรในความสัมพันธ์ทางสังคม ความงามแบบไหนเปี่ยมอำนาจทางเศรษฐกิจ โลกในศตวรรษที่ 21 กำลังเนรมิตความงามแบบไหนขึ้นมา

 

*อันดับที่ 10

พรุควนเคร็งก่อนเปลวไฟ

เผยแพร่เมื่อ 08/23/2019
Engagement: 12.8K
Estimated reach: 292K

ไกลออกไปอีกซีกโลก แอมะซอนกำลังถูกไฟไหม้อย่างหนัก ใกล้เข้ามาอีกหน่อย ป่าพรุควนเคร็งตกอยู่ใต้เปลวไฟมาร่วมเดือนแล้ว

ด้านหนึ่ง ผู้คนหลายฝ่ายพยายามอย่างยิ่งที่จะควบคุมเปลวไฟ บางจุดจัดการได้ แต่บางส่วนก็ยังต้องเฝ้าระวัง และเตรียมพร้อมสกัดไฟที่พร้อมโหมทุกเมื่อ แต่อีกด้าน คือการถือโอกาสนี้ทำความเข้าใจป่าพรุควนเคร็ง ที่นั่นสำคัญอย่างยิ่งยวดอย่างไร และทำไมจึงได้รับการขนานนามว่า “แอมะซอนแห่งไทยแลนด์” เพียงเพราะหน้าตามันคล้ายกันกับแอมะซอนแห่งอเมริกาใต้ หรือเพราะมันอยู่ในชะตากรรมร่วม


Website

ตลอดทั้งปี 2019 WAY นำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ผ่านรูปแบบหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบทความ สกู๊ป สารคดี บทสัมภาษณ์ อินโฟกราฟิก และวิดีโอ

เรารวบรวมชิ้นงานที่มียอด Pageviewes สูงสุด 10 อันดับ จาก waymagazine.org มาให้อ่านกันอีกครั้ง

โดยไม่ได้ตั้งใจ ชิ้นงานทั้งสิบอันดับมีความหลากหลาย ทั้งระดับความเคี้ยวยาก-ง่าย มีทั้งอ่านเพื่อผ่อนคลายหรือกระตุ้นให้อะดรีนาลีนหลั่ง ลีลาการเขียนมีทั้งขึงขังจนถึงขั้นหยอกเย้าทีเล่นทีจริง

ผู้อ่านคือคำยืนยันต่อเรา ว่า content ขนาดยาวในเรื่องที่ไม่ง่าย บ้างขัดแย้งกับแนวคิดจารีตเดิม ยังมีผู้สนใจและกระหายใคร่รู้เสมอ

ขอบคุณ


*อันดับที่ 1

ทำแท้งปลอดภัย: “สำหรับผม ชีวิตตรงหน้า สำคัญกว่าบาปบุญคุณโทษ” ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ

เผยแพร่เมื่อ 19/7/2019
Pageviewes: 115,807
Unique Pageviewes: 56,155

คุยกับ ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เคยจงเกลียดจงชังผู้หญิงท้องไม่พร้อม แต่เพราะ ‘ความตาย’ ทำให้ความคิดคุณหมอเปลี่ยนไป

“อย่าเอาตัวเราเข้าไปเป็นเขา ไม่ต้องมาเป็นผู้มอบความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ถ้าเขาต้องการเลือกวิธี ทางออกแบบไหนเราต้องแนะนำ ว่าสิ่งที่คุณเลือกมา มันปลอดภัยหรือไม่ ถ้าปลอดภัยก็ทำซะ”

เพราะสำหรับคุณหมอ ชีวิตของผู้หญิงตรงหน้า สำคัญกว่าบาปบุญคุณโทษ

*อันดับที่ 2

ตาย 49 เจ็บ 48 เหตุกราดยิงที่ไครสต์เชิร์ช “หนึ่งในวันมืดมนที่สุดของนิวซีแลนด์”

เผยแพร่เมื่อ 15/3/2019
Pageviewes: 83,962
Unique Pageviewes: 39,859

ปีนี้มีเหตุกราดยิงเกิดขึ้นหลายครั้งในหลายประเทศทั่วโลก
เหตุการณ์เหล่านี้บอกอะไรเราบ้าง

“เขาเดินมาด้านนี้ แล้วยิง แล้วไปที่อีกห้องหนึ่ง แล้วไปที่ห้องของผู้หญิง แล้วยิงอีก”

*อันดับที่ 3

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์: เสียงบนบัตรเลือกตั้ง ใครเลือกอนาคตใหม่ ใครเลือกพลังประชารัฐ

เผยแพร่เมื่อ 04/04/2019
Pageviewes: 72,211
Unique Pageviewes: 33,691

คุยกับ ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหัวข้อ ‘ผู้คน’ และ ‘เสียง’ จากผลการเลือกตั้ง

อะไรคือจุดสวิงของคะแนนในโค้งสุดท้าย ความเหมือนและต่างของแนวคิดทางการเมืองสองข้าง คนกลุ่มไหนเลือกอนาคตใหม่ และใครคือฐานเสียงพลังประชารัฐ

*อันดับที่ 4

6 ตุลา: อ่านข้อเท็จ-จริง จาก ‘หน้าหนึ่ง’ เมื่อ 43 ปีที่แล้ว

เผยแพร่เมื่อ 05/10/ 2019
Pageviewes: 71,716
Unique Pageviewes: 33,458

ชวนนั่งไทม์แมชชีนไปอ่านพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ดาวสยาม, ชาวไทย, เดลิไทม์, สยามรัฐ, ไทยรัฐ และ Bangkok Post ในช่วงเดือนกันยายน 2519 ไปถึงหลังเหตุการณ์ #6ตุลา

เพื่อดูน้ำเสียง ลีลาภาษา ทัศนะ และข้อเท็จ-จริงของน้ำหมึกที่ซ่อนอยู่บนกระดาษ

ก่อนเหตุการณ์นองเลือดจะเกิดขึ้น ข้อความแบบใดที่สื่อมวลชนไทยยุคอนาล็อกส่งสารสู่สาธารณชน

ชิ้นงานนี้หยิบวิธีการนำเสนอมาจากหนังสือ ปริซึมของภาพถ่าย: การแตกตัวขององค์ความรู้และความทรงจำว่าด้วยเหตุการณ์ 6 ตุลา โดย ธนาวิ โชติประดิษฐ และ กรกฤช เจียรพินิจนันท์

*อันดับที่ 5

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก คืออะไร

เผยแพร่เมื่อ 02/01/2019
Pageviewes: 61,010
Unique Pageviewes: 28,982

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปฏิบัติสืบต่อกันเรื่อยมากระทั่งกำลังจะเกิดขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน

ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 69 ปีที่แล้ว และครั้งนั้นมีเหตุการณ์ในความทรงจำคือพระปฐมบรมราชโองการในหลวงรัชกาลที่ 9 “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

*อันดับที่ 6

เลิกเนื้อสัตว์ กินผัก ออกวิ่ง สัญญาณวิกฤติวัยกลางคน

เผยแพร่เมื่อ 18/11/2019
Pageviewes: 48,914
Unique Pageviewes: 23,506

ข้อเขียนสั้นๆ นี้อาจเป็นภาพสะท้อน ว่าการย่างเข้าสู่ขวบปีที่ 40 หรือ 50 ของชีวิตนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่นี่คือวิกฤติวัยกลางคนที่ส่งผลในทางที่ดี

*อันดับที่ 7

คู่มือการหายใจ อยู่อย่างไรให้รอดในเมืองฝุ่น PM2.5

เผยแพร่เมื่อ 31/01/2019
Pageviewes: 52,089
Unique Pageviewes: 23,059

ช่วงรอยต่อระหว่างปลายปี 2561 ถึงต้นปี 2562 มนุษย์ในกรุงเทพฯ ต้องกลับมาเรียนรู้วิธีการหายใจกันใหม่ หลังจากที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้สภาพอากาศที่ย่ำแย่มานานนับแรมเดือน เริ่มจากโหลดแอพพลิเคชั่นเช็คสภาพอากาศ พกหน้ากาก N95 ออกจากบ้าน ซื้อเครื่องฟอกอากาศ ฯลฯ ยังมีอีกหลายวิธีการเอาชีวิตรอดในเมืองฝุ่นให้เราต้องเรียนรู้กันต่อไป และไม่แน่ว่าอีกหลายปีถัดไป เราต้องอยู่ร่วมกับมันไปอีกนาน

*อันดับที่ 8

10 คำถามจาก ผบ.ทบ. กับคำตอบที่ใครก็ตอบได้

เผยแพร่เมื่อ 02/04/2019
Pageviewes: 47,398
Unique Pageviewes: 20,960

2 เมษายน 2562 พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกตั้งโต๊ะแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยได้แสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองด้วยท่าทีขึงขังเฉกเช่นชายชาติทหาร

กองบรรณาธิการ WAY ฟังแล้ว พบคำถามมากมายในความคิดเห็นของ ผบ.ทบ. จึงอยากตอบด้วยความสุภาพตามประสาประชาชน

*อันดับที่ 9

ขายให้รู้ว่าขาย จะทำอะไรก็ได้ เพราะที่นี่คือ ‘บ้านกูเอง

เผยแพร่เมื่อ 31/05/2019
Pageviewes: 43,648
Unique Pageviewes: 20,942

เมื่อโลกโซเชียลกลายเป็นพื้นที่หอมหวานของนักขาย ไม่แปลกที่ในยุคนี้เพียงแค่ไถนิ้วไปทางซ้ายสะบัดปัดไปทางขวา สินค้าหรือร้านค้า รวมถึงโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งที่เราสนใจและไม่สนใจ ก็เด้งมารอต่อคิวพร้อมเสิร์ฟ

คุยกับ นอท-สัณหณัฐ ทิราชีพ เจ้าของเพจ บ้านกูเอง ถึงลีลาการขายอย่างครีเอทีฟ ชวนถอดรหัสไอเดีย การคิดคอนเทนต์ รวมถึงคุยลึกถึงประเด็นเพศและความเป็นมนุษย์

รับรองว่าบทสัมภาษณ์จะทำให้คุณแล้วรู้สึกว่า “เฮ้ย ขายแบบนี้ก็ได้หรอ!?”

*อันดับที่ 10

กุลลดา เกษบุญชู มี้ด: สมบูรณาญาสิทธิราชย์ จุดเริ่มต้นและการล่วงเลย

เผยแพร่เมื่อ 26/04/2019
Pageviewes: 41,898
Unique Pageviewes: 19,539

จากการศึกษาประวัติศาสตร์สมบูรณาญาสิทธิราชย์มานานกว่าสองทศวรรษ รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด นักวิชาการอาวุโส ผู้เขียน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิวัฒนาการรัฐไทย (The Rise and Decline of Thai Absolutism) อธิบายว่า สมบูรณาญาสิทธิราชย์คือระบบที่ ‘กินตัวเอง’

อาจกล่าวได้ในเบื้องต้นว่า กลุ่มคนที่ทำให้สมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลงในปี 2475 คือชนชั้นใหม่ที่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สร้างขึ้นมา เรียกว่า ‘กระฎุมพีข้าราชการ’


Facebook page

รวบรวมชิ้นงานยอดนิยมทุกประเภท (ยกเว้นวิดีโอ) ที่นำเสนอผ่าน facebook page ของ WAY Magazine ให้อ่านกันอีกครั้ง เพื่อทบทวนว่าในรอบปี 2019 ที่ผ่านมา เราแสดงความคิดเห็นอันร้อนแรงผ่านเรื่องราวแบบใด มันสะท้อนขวบปีที่ผ่านมาของสังคมไทยอย่างไร
และเทคโนโลยีช่วยสร้างสีสันของวิวาทะได้ยังไงบ้าง

content is king, platform is kingdom

หลายครั้งเราได้คอนเทนต์ดีๆ จากคำวิพากษ์วิจารณ์ และนี่คือ 10 อันดับชิ้นงาน (ไม่นับวิดีโอ) ที่สร้างบทสนทนาจำนวนมากที่สุด

*อันดับที่ 1

สมบัติยื่นหนังสือที่ กกต.

เผยแพร่เมื่อ 14/03/2019
Engagements: 490,606
People Reached: 1,846,797

15 มีนาคม 2561 สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด หัวหน้าพรรคเกียน มายื่นหนังสือที่ กกต. เพื่อเสนอตัวเป็นพยาน ยืนยันว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ (สืบเนื่องจากการใช้อำนาจเรียกตัวประชาชนมา ‘ปรับทัศนคติ’ ในช่วงปี 2557 ในระหว่างการยึดอำนาจ)
—–

*อันดับที่ 2

พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา สมาชิกวุฒิสภา เลือก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี

เผยแพร่เมื่อ 05/06/2019
Engagements: 246,843
People Reached: 906,069

ไม่มีใครแปลกใจกับผลโหวต แต่แปลกใจที่เขาเข้าประชุมสภา
—–

*อันดับที่ 3

ส่องดูจำนวนผู้ชมทางบ้าน การปราศรัยใหญ่ของสี่พรรคการเมือง ณ เวลา 18.45

เผยแพร่เมื่อ 22/03/2019
Engagements: 281,689
People Reached: 818,090

แม้ตัวเลขนี้จะดูน่าหัวเราะ แต่ยอดผู้ชมช่วงดึกๆ ในขณะเปิดตัว พล.อ. ประยุทธ์ นั้นผู้ชมทางบ้านต่างล้นหลามเข้ามากด emoticon แสดงความรู้สึก
—–

*อันดับที่ 4

กษิดิ์เดช ปะทะ ปิยบุตร

เผยแพร่เมื่อ 05/06/2019
Engagements: 225,285
People Reached: 1,194,610

แทบจะนับได้ว่าเป็นวรรคทองแห่งปี ด้วยประโยคที่ว่า “คนเราเกิดมาไม่เท่ากัน” ที่สะท้อนถึงทัศนคติและหลักคิดของ กษิดิ์เดช ชุติมันต์ สส.พรรคพลังประชารัฐ จากการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 ในวาระโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

และเมื่ออภิปรายพาดพิงถึง ปิยบุตร แสงกนกกุล สส.พรรคอนาคตใหม่ จึงจำเป็นต้องลุกขึ้นชี้แจงให้ฟังชัดๆ อีกครั้งว่า พรรคอนาคตใหม่และพรรคร่วมทั้ง 7 พรรค เชื่อมั่นว่าคนไทยเท่าเทียมกัน มีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคเท่ากัน
—–

*อันดับที่ 5

 

เข้าใจท่าทีของ เกรตา ธุนเบิร์ก เบื้องหลังคือแอสเพอร์เกอร์

เผยแพร่เมื่อ 24/9/2019
Engagements: 674,693
People Reached: 146,830

“How dare you” คือวรรคทองของปี

ด้วยท่าทีที่จริงจังของ เกรตา ธันเบิร์ก แอคติวิสต์ด้านสิ่งแวดล้อม ที่หลายคนมองว่าค่อนข้างเกรี้ยวกราด อาจเกี่ยวพันกับบทสัมภาษณ์ของเธอเมื่อสี่ปีก่อน เกี่ยวกับอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome) ซึ่งอยู่ในการวินิจฉัยเดียวกับออทิสติก ความแตกต่างคือ เด็กแอสเพอร์เกอร์อาจจะมีระดับสติปัญญาสูงกว่าปกติ แต่มีพฤติกรรมซ้ำๆ หมกมุ่นกับเรื่องซับซ้อน ไม่ยืดหยุ่น ไม่เข้าใจลูกเล่น การเปรียบเปรย หรืออารมณ์ขันในการสื่อสาร มีปัญหาในการเข้าสังคม และอาจแสดงความก้าวร้าวออกมาในบางครั้ง

เกรตาไม่ได้มองอาการแอสเพอร์เกอร์เป็นความบกพร่องหรือผิดปกติ แต่มันเป็นเหมือนของขวัญที่ทำให้เธอตาสว่าง และเห็นปัญหาวิกฤตการณ์ของสภาวะภูมิอากาศโลก
—–

*อันดับที่ 6

ก่อนเป็น สว เป็นอะไรกันมาก่อน

เผยแพร่เมื่อ 14/05/2019
Engagements: 145,420
People Reached: 860,421

สว. ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการของ คสช. มีทำหน้าที่สำคัญ เช่น เป็นตัวแปรหลักในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ควบคุมรัฐบาลให้ทำตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องได้รับเสียงเห็นชอบจาก สว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
ดูรายชื่อทั้ง 250 คนได้ที่ https://waymagazine.org/senate-list-2019/
—–

*อันดับที่ 7

ย้อนดูเลือกตั้งปี 2522 ตุน สว.ไว้แล้ว 225 เสียง

เผยแพร่เมื่อ 08/03/2019
Engagements: 111,243
People Reached: 446,721

ย้อนดูเลือกตั้งปี 2522 ตุน สว. ไว้แล้ว 225 เสียง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 การเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นการเลือกตั้งครั้งแรก ที่มีขึ้นหลังเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
—–

*อันดับที่ 8

“แม้เป็นยามที่บ้านผมก็ไม่เอา”

เผยแพร่เมื่อ 05/06/2019
Engagements: 91,438
People Reached: 637,576

ไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆ
—–

*อันดับที่ 9

ผังล้มกูเกิ้ล

เผยแพร่เมื่อ 28/09/2019
Engagements: 75,767
People Reached: 310,828

“วันนี้ ศิลาก็เปิดจากกูเกิ้น อยากรู้เรื่องอะไร อยากรู้เรื่องนายก ก็กดชื่อท่านเข้าไปแต่อะไรไม่รู้ออกมาเต็มไปหมดเบย ประวัติมีหมด ทุกเรื่อง อยากรู้วิธีใส่สูทก็ยังจะมี”

น่าชื่นใจแทนคนไทยทั้งชาติ ที่เรามีนายกรัฐมนตรีผู้เก่งในการแจกมีม สร้างอารมณ์ขันและเสียงหัวเราะ
—–

*อันดับที่ 10

วันชัย สอนศิริ สมาชิก​วุฒิสภา เล่าว่า สส. ใหม่หมาดบางท่านยังงงไม่หายว่าตนเป็น สส. ได้ยังไง

เผยแพร่เมื่อ 05/06/2019
Engagements: 63,258
People Reached: 223,725

“ผมเองก็รู้จักกับ สส. หลายท่านแล้วก็สนิทสนมกัน บางท่านกระซิบบอกกับผมนะครับ บอกว่าต้องขอบคุณ​รัฐธรรมนูญ​ฉบับนี้ ผมสมัคร สส. มากี่ยุคกี่สมัยไม่เคยได้ แต่ได้รัฐธรรมนูญ​ฉบับนี้ทำให้ผมได้เป็น มีบางคนที่เป็น สส. เป็นเพื่อนผมครับท่านประธาน ยังงงไม่หายว่าเป็น สส. ได้อย่างไร เพราะรัฐธรรมนูญ​ฉบับนี้ให้เป็น อันนี้เพื่อนผมเลยครับ อยู่ในสภานี้”

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า