อายุ – วัณโณ – สุขัง – สตางค์

‘เกิด แก่ เจ็บ ตาย’ ธรรมดา! วัฏจักรชีวิตคนเป็นเช่นนี้เอง

คิดแบบปัจจุบันนิยม เราพอจะมองเห็นว่า การเกิด การเจ็บ มีสิ่งใดเป็นตัวช่วยบ้าง มีมือใครบ้างที่คอยรองรับไว้ไม่ให้ร่วงหล่น

นั่นเรื่องของปัจจุบัน แล้วอนาคตล่ะ

แน่นอนว่าหลายคนยืนยันว่าเรากำหนดอนาคตได้ แต่ไม่ใช่ถ้วนทั่วประชากรที่จะมีคุณภาพชีวิตของวันพรุ่งนี้และวันข้างหน้า ‘ดี’ อยู่

ในวัยทำงาน ทุกคนมองเห็นแหล่งรายได้ตามกำลัง มีค่าแรง มีเงินเดือน มีสวัสดิการตามเกณฑ์ แต่วันเกษียณ – วันที่พ้นภาระหน้าที่ ไม่มีรายได้เหมือนสมัยมีกำลังแรงงาน เรามีชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัยใดบ้าง

‘เงิน’ คือปัจจัยหลักที่ใครๆ ฟันธง ข้าราชการเป็นกลุ่มคนโชคดีที่มีบำนาญเป็นหลักประกัน ผู้อยู่ในข่ายประกันสังคมมีเงินก้อนจำนวนหนึ่งรออยู่ในวันข้างหน้า สิทธิอื่นๆ ก็ยังมีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ณ ปัจจุบันวันนี้เราวางแผนการในอนาคตไว้อย่างไร นี่คือข้อมูลที่จะบอกว่า ในความเป็นจริง (ที่ต้องยอมรับ) ผู้สูงอายุได้ ‘เงิน’ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ว่ามาจากไหน คนกี่มากน้อยที่มีความสามารถจัดการเงินให้เหลือเก็บ และคนวัยเกษียณควรมีเงินออมเท่าไหร่ถึงจะทำให้ชีวิตบั้นปลายไม่ต้องอยู่อย่างอนาถาเกินไปนัก

เหล่านี้เพื่อนำไปสู่คำตอบที่ว่า ทำไมโครงการ #บำนาญถ้วนหน้า จึงควรถูกผลักดันให้เป็นหนึ่งในสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน หนึ่งในระบบ #รัฐสวัสดิการ เพื่อให้ทุกคน ทุกวัย สามารถมีชีวิตอยู่ในวันนี้และวันข้างหน้าได้…โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

Author

ณขวัญ ศรีอรุโณทัย
อาร์ตไดเร็คเตอร์ผู้หนึ่ง ชอบอ่าน เขียน และเวียนกันเปิดเพลงฟัง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า