สูตรไหนก็ได้รัฐบาลผสมที่อ่อนแอ

หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศผลคะแนนเลือกตั้งทั่วประเทศ โจทย์ใหญ่หลังเลือกตั้ง คือ การคำนวณที่นั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าที่เคย

ล่าสุด วันที่ 5 เมษายน 2562 หลังภาวะฝุ่นตลบในสูตรคำนวณที่นั่ง สส. ผลปรากฏว่า กกต. เลือกเคาะสูตรคำนวณที่นั่ง สส. ที่จะมีพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 25 พรรค ได้รับการจัดสรรที่นั่งให้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวยังสร้างความสับสนและสงสัยเนื่องจากทำให้พรรคที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ ‘สส. 1 คนต่อประชาชน 71,065.2940 เสียง’ แต่กลับได้ที่นั่งไปโดยปริยาย ซึ่งมีทั้งสิ้น 11 พรรค เช่น ประชาชนปฏิรูป ของ ไพบูลย์ นิติตะวัน

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะใช้สูตรคำนวณที่นั่ง สส. แบบไหน ก็เปลี่ยนข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งไม่ได้ว่า ภายใต้ระบบเลือกตั้งแบบใหม่ มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะได้รัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองหลายพรรคและเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ

 

กาง 3 สูตรคำนวณที่นั่ง สส. ในสภา (เท่าที่มีคนเสนอ)

จากการสำรวจรูปแบบการคำนวณที่ทั้งสื่อมวลชนและนักวิชาการเสนอออกมา พบว่า สามารถแบ่งสูตรการคำนวณที่นั่ง สส. ออกมาได้ อย่างน้อย 3 สูตร แต่จุดเริ่มต้นของการคำนวณของทั้ง 3 สูตร มีจุดเหมือนกันดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 นำคะแนนเสียงรวมของทุกพรรคการเมืองที่ส่ง สส. แบบบัญชีรายชื่อมาหารด้วย 500 ซึ่งเป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหาค่าเฉลี่ยคะแนนเสียง ต่อ สส. 1 คน (รัฐธรรมนูญมาตรา 91 (1) และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. มาตรา 128 (1)) ซึ่งคิดเป็นสมการได้ดังนี้

คะแนนเสียงรวมของทุกพรรคการเมืองที่ส่ง สส. แบบบัญชีรายชื่อ / 500 = ค่าเฉลี่ยคะแนนเสียง ต่อ สส. 1 คน

เมื่อแทนค่าลงไป จะได้ผลเท่ากับ 35,528,749/500 = 71,057.498

 

ขั้นตอนที่ 2 นำตัวเลข ‘ค่าเฉลี่ยคะแนนเสียง ต่อ สส. 1 คน’ ไปหารคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้รับ ซึ่งตัวเลขที่ได้มา จะเรียกว่า “จำนวน สส.พึงมี” (รัฐธรรมนูญมาตรา 91 (2) และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. มาตรา 128 (2))

จากนั้น นำจำนวน สส.พึงมี ของแต่ละพรรค ลบด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละพรรคการเมืองได้ เพื่อหา จำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับเบื้องต้น (รัฐธรรมนูญมาตรา 91 (3) และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. มาตรา 128 (3)) จะได้ผล ดังนี้

 

ชื่อพรรค
คะแนนดิบ
ส.ส. พึงมี
ส.ส.เขต
สส.บัญชีรายชื่อ
พลังประชารัฐ 8,433,137 118.6805 97 21.6805
เพื่อไทย 7,920,630 111.4679 137
อนาคตใหม่ 6,265,950 88.1814 30 58.1814
ประชาธิปัตย์ 3,947,726 55.5568 33 22.5568
ภูมิใจไทย 3,732,883 52.5333 39 13.5333
เสรีรวมไทย 826,530 11.6318 0 11.6318
ชาติไทยพัฒนา 782,031 11.0056 6 5.0056
เศรษฐกิจใหม่ 485,664 6.8348 0 6.8348
ประชาชาติ 485,436 6.8316 6 0.8316
เพื่อชาติ 419,393 5.9022 0 5.9022
รวมพลังประชาชาติไทย 416,324 5.8590 1 4.8590
ชาติพัฒนา 252,044 3.5470 1 2.5470
พลังท้องถิ่นไท 213,129 2.9994 2.9994
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 136,597 1.9223 1.9223
พลังปวงชนไทย 81,733 1.1502 1.1502
พลังชาติไทย 73,871 1.0396 1.0396
ประชาภิวัฒน์ 69,417 0.9769 0.9769
พลังไทยรักไทย 60,840 0.8562 0.8562
ไทยศรีวิไลย์ 60,421 0.8503 0.8503
ประชานิยม 56,617 0.7968 0.7968
ครูไทยเพื่อประชาชน 56,339 0.7929 0.7929
ประชาธรรมไทย 47,848 0.6734 0.6734
ประชาชนปฏิรูป 45,508 0.6404 0.6404
พลเมืองไทย 44,766 0.6300 0.6300
ประชาธิปไตยใหม่ 39,792 0.5600 0.5600
พลังธรรมใหม่ 35,533 0.5001 0.5001
ไทรักธรรม 33,748 0.4749 0.4749
เพื่อแผ่นดิน 31,307 0.4406 0.4406
ทางเลือกใหม่ 29,607 0.4167 0.4167
ภราดรภาพ 27,799 0.3912 0.3912
พลังประชาธิปไตย 26,617 0.3746 0.3746
เพื่อคนไทย 26,598 0.3743 0.3743
พลังไทสร้างชาติ 23,059 0.3245 0.3245
กรีน 22,662 0.3189 0.3189
แผ่นดินธรรม 21,463 0.3021 0.3021
มหาชน 17,867 0.2514 0.2514
พลังสังคม 17,683 0.2489 0.2489
เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย 17,664 0.2486 0.2486
แทนคุณแผ่นดิน 17,112 0.2408 0.2408
สยามพัฒนา 16,839 0.2370 0.2370
เพื่อธรรม 15,365 0.2162 0.2162
รวมใจไทย 13,457 0.1894 0.1894
คลองไทย 12,946 0.1822 0.1822
ผึ้งหลวง 12,576 0.1770 0.1770
ภาคีเครือข่ายไทย 12,268 0.1726 0.1726
ประชากรไทย 11,839 0.1666 0.1666
ประชาไทย 11,043 0.1554 0.1554
ชาติพันธุ์ไทย 9,757 0.1373 0.1373
พลังไทยรักชาติ 9,685 0.1363 0.1363
พลังศรัทธา 9,561 0.1346 0.1346
ความหวังใหม่ 9,074 0.1277 0.1277
เพื่อไทยพัฒนา 8,095 0.1139 0.1139
ถิ่นกาขาวชาววิไล 6,799 0.0957 0.0957
พลังครูไทย 6,398 0.0900 0.0900
ไทยธรรม 5,942 0.0836 0.0836
กลาง 5,447 0.0767 0.0767
สังคมประชาธิปไตยไทย 5,334 0.0751 0.0751
สามัญชน 5,321 0.0749 0.0749
ฐานรากไทย 4,786 0.0674 0.0674
พลังรัก 4,624 0.0651 0.0651
พลังแผ่นดินทอง 4,568 0.0643 0.0643
ไทยรุ่งเรือง 4,237 0.0596 0.0596
ภูมิพลังเกษตรกรไทย 3,535 0.0497 0.0497
รักท้องถิ่นไทย 3,254 0.0000 0.0000
พลังแรงงานไทย 2,951 0.0415 0.0415
พลังไทยดี 2,536 0.0357 0.0357
คนธรรมดาแห่งประเทศไทย 2,353 0.0331 0.0331
พลังสหกรณ์ 2,343 0.0330 0.0330
เพื่อชีวิตใหม่ 1,595 0.0224 0.0224
พัฒนาประเทศไทย 1,079 0.0152 0.0152
เพื่อสหกรณ์ไทย 905 0.0127 0.0127
มติประชา 791 0.0111 0.0111
ยางพาราไทย 610 0.0086 0.0086
ประชาธิปไตยเพื่อประชาชน 562 0.0079 0.0079
รักษ์ธรรม 446 0.0000 0.0000
อนาคตไทย 198 0.0000 0.0000
กสิกรไทย 183 0.0026 0.0026
คนงานไทย 0.0000 0.0000
ไทยรักษาชาติ 0.0000 0.0000
พลังคนกีฬา 0.0000 0.0000
เพื่อนไทย 0.0000 0.0000
หมายเหตุ: ข้อมูลผลเลือกตั้งวันที่ 3 เมษายน 2562

 

ขั้นตอนที่ 3 ในขั้นตอนนี้ จะเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้สูตรในการคำนวณที่นั่ง สส. ของแต่ละคน ไม่ตรงกัน โดยแบ่งออก 3 สูตร ดังนี้

สูตรที่ 1 พรรคที่ได้ สส.ปาร์ตี้ลิสต์ คือ พรรคที่ได้ สส.พึงมี อย่างน้อย 1 ที่นั่ง

โดยวิธีนี้ จะยึดการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 91 (4) ที่กำหนดว่า

ห้ามมีพรรคการเมืองใด มี สส. ในสภา เกินจำนวน สส.พึงมี ยกเว้น กรณีที่พรรคการเมืองนั้น ได้ สส.เขต มากกว่า สส. พึงมี และจะไม่ได้รับ สส. แบบบัญชีรายชื่อเพิ่ม

ดังนั้น พรรคที่ได้ สส.ปาร์ตี้ลิสต์ คือ พรรคที่ได้ สส.พึงมี อย่างน้อย 1 ที่นั่ง ซึ่งจะมีเพียง 16 พรรคการเมืองเท่านั้น ที่มีโอกาสได้รับการจัดสรร สส. แบบบัญชีรายชื่อ จากนั้นให้ จำนวน ‘สส.พึงมี’ ลบด้วย สส. ที่ชนะจากระบบแบ่งเขต เพื่อหาจำนวน สส.บัญชีรายชื่อขั้นต้น

ซึ่งจะได้ผลตามตารางนี้

 

ชื่อพรรค
คะแนนดิบ
ส.ส. พึงมี
ส.ส.เขต
สส.บัญชีรายชื่อ
พลังประชารัฐ 8,433,137 118.6805 97 21.6805
เพื่อไทย 7,920,630 111.4679 137
อนาคตใหม่ 6,265,950 88.1814 30 58.1814
ประชาธิปัตย์ 3,947,726 55.5568 33 22.5568
ภูมิใจไทย 3,732,883 52.5333 39 13.5333
เสรีรวมไทย 826,530 11.6318 0 11.6318
ชาติไทยพัฒนา 782,031 11.0056 6 5.0056
เศรษฐกิจใหม่ 485,664 6.8348 0 6.8348
ประชาชาติ 485,436 6.8316 6 0.8316
เพื่อชาติ 419,393 5.9022 0 5.9022
รวมพลังประชาชาติไทย 416,324 5.8590 1 4.8590
ชาติพัฒนา 252,044 3.5470 1 2.5470
พลังท้องถิ่นไท 213,129 2.9994 2.9994
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 136,597 1.9223 1.9223
พลังปวงชนไทย 81,733 1.1502 1.1502
พลังชาติไทย 73,871 1.0396 1.0396

 

ทั้งนี้ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. มาตรา 128 (4) กำหนดว่า ให้จัดสรรจำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ให้กับพรรคการเมืองต่างๆ ตามจำนวนเต็มก่อน ให้ครบ 150 คน หากยังมีที่ว่างค่อยใช้เศษทศนิยมภายหลัง แต่ทว่า หากดำเนินการตาม มาตรา 128 (4) แล้ว เกิดมีจำนวน สส.บัญชีรายชื่อ เกิน 150 คน มาตรา 128 (7) ให้เทียบบัญญัติไตรยางค์ใหม่อีกครั้งและหากได้เศษทศนิยม ก็ให้ใช้จำนวนเต็มก่อน

จากตารางข้างต้น เราจะเห็นว่า เมื่อดึงจำนวนเต็มจากจำนวน สส.บัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคควรจะได้ ผลปรากฏว่า มีจำนวน สส.บัญชีรายชื่อ เกิน 150 คน จึงต้องเทียบบัญญัติไตรยางค์ใหม่อีกครั้งและหากได้เศษทศนิยม ให้พิจารณาจัดสรรที่นั่งจากจำนวนเต็มก่อน และเรียงลำดับตามจุดทศนิยมจนครบ 150 คน ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่นั่งของ สส. แบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคควรได้ดังนี้

 

สูตร 1
ชื่อพรรค
สส.บัญชีรายชื่อ
จำนวนเต็ม
ปรับ overhang
จำนวนเต็ม
จัดที่นั่งเพิ่ม
รวม
พลังประชารัฐ 21.6805 21 20.7237 20 1 118
เพื่อไทย 0 137
อนาคตใหม่ 58.1814 58 57.2368 57 0 87
ประชาธิปัตย์ 22.5568 22 21.7105 21 0 54
ภูมิใจไทย 13.5333 13 12.8289 12 1 52
เสรีรวมไทย 11.6318 11 10.8553 10 1 11
ชาติไทยพัฒนา 5.0056 5 4.9342 4 1 11
เศรษฐกิจใหม่ 6.8348 6 5.9211 5 1 6
ประชาชาติ 0.8316 0 0.0000 0 0 6
เพื่อชาติ 5.9022 5 4.9342 4 1 5
รวมพลังประชาชาติไทย 4.8590 4 3.9474 3 1 5
ชาติพัฒนา 2.5470 2 1.9737 1 1 3
พลังท้องถิ่นไท 2.9994 2 1.9737 1 1 2
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 1.9223 1 0.9868 0 1 1
พลังปวงชนไทย 1.1502 1 0.9868 0 1 1
พลังชาติไทย 1.0396 1 0.9868 0 1 1
รวม 152 150 138 12 500

 

สูตรที่ 2 จัดการให้เหลือ 150 ที่นั่งก่อน ค่อยนับจำนวนเต็ม แล้วค่อยเกลี่ยเศษ

วิธีนี้จะใกล้เคียงกับสูตรที่ 1 คือ ตัดพรรคที่ได้ สส.ปาร์ตี้ลิสต์ คือ พรรคที่ได้ สส.พึงมี น้อยกว่า 1 ที่นั่ง ออกไป แต่สิ่งที่ต่างกันคือ ให้นำจำนวน สส.บัญชีรายชื่อ ของแต่ละพรรคที่รวมทศนิยมจำนวน 4 หลัก มาคำนวณที่นั่ง สส. หากตัวเลขดังกล่าวรวมกันเกิน 150 คน ให้เทียบบัญญัติไตรยางค์ปรับค่า overhang ให้ยอดรวมได้ 150 จากนั้นค่อยพิจารณาจัดสรรที่นั่งจากจำนวนเต็มก่อน และเรียงลำดับตามจุดทศนิยมจนครบ 150 คน ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ ดังนี้

 

สูตร 2
ชื่อพรรค
สส.บัญชีรายชื่อ
ปรับ overhang
จำนวนเต็ม
ทศนิยม
จัดที่นั่งเพิ่ม
รวม
พลังประชารัฐ 21.6805 20.2400 20 0.2400 0 117
เพื่อไทย 0 137
อนาคตใหม่ 58.1814 54.3157 54 0.3157 0 84
ประชาธิปัตย์ 22.5568 21.0581 21 0.0581 0 54
ภูมิใจไทย 13.5333 12.6341 12 0.6341 1 52
เสรีรวมไทย 11.6318 10.8590 10 0.8590 1 11
ชาติไทยพัฒนา 5.0056 4.6730 4 0.6730 1 11
เศรษฐกิจใหม่ 6.8348 6.3807 6 0.3807 0 6
ประชาชาติ 0.8316 0.7763 0 0.7763 1 7
เพื่อชาติ 5.9022 5.5100 5 0.5100 0 5
รวมพลังประชาชาติไทย 4.8590 4.5361 4 0.5361 1 6
ชาติพัฒนา 2.5470 2.3778 2 0.3778 0 2
พลังท้องถิ่นไท 2.9994 2.8001 2 0.8001 1 3
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 1.9223 1.7946 1 0.7946 1 2
พลังปวงชนไทย 1.1502 1.0738 1 0.0738 0 1
พลังชาติไทย 1.0396 0.9705 0 0.9705 1 1
รวม 160.6755 150 142 8 500

 

สูตรที่ 3 นำคะแนน ‘ทุกพรรค’ มาคำนวณให้เหลือ 150 แล้วจึงจัดลำดับปัดเศษ

สำหรับวิธีการนี้ ถือว่าต่างจากสองวิธีแรกมาก และเป็นวิธีการที่ กกต. จะนำไปใช้คำนวณในการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยนำคะแนนของ ‘ทุกพรรค’ มาคำนวณ ไม่ได้จำกัดเฉพาะพรรคที่มีจำนวน สส.พึงมี มากกว่า 1 ที่นั่งแบบ 2 สูตรแรกมาคิด

เริ่มจากคำนวณดูว่า จำนวน สส.พึงมีของทุกพรรครวมกันได้เกิน 150 หรือไม่ หากเกินให้เทียบบัญญัติไตรยางค์ปรับค่า overhang ให้ยอดรวมได้ 150 จากนั้นค่อยพิจารณาจัดสรรที่นั่งจากจำนวนเต็มก่อน และเรียงลำดับตามจุดทศนิยมจนครบ 150 คน ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ ดังนี้

 

สูตร 3
ชื่อพรรค
สส.บัญชีรายชื่อ
ปรับ overhang
จำนวนเต็ม
ทศนิยม
จัดที่นั่งเพิ่ม
รวม
พลังประชารัฐ 21.6805 18.5269 18 0.5269 1 116
เพื่อไทย 0 137
อนาคตใหม่ 58.1814 49.7186 49 0.7186 1 80
ประชาธิปัตย์ 22.5568 19.2758 19 0.2758 0 52
ภูมิใจไทย 13.5333 11.5648 11 0.5648 1 51
เสรีรวมไทย 11.6318 9.9399 9 0.9399 1 10
ชาติไทยพัฒนา 5.0056 4.2775 4 0.2775 0 10
เศรษฐกิจใหม่ 6.8348 5.8406 5 0.8406 1 6
ประชาชาติ 0.8316 0.7106 0 0.7106 1 7
เพื่อชาติ 5.9022 5.0437 5 0.0437 0 5
รวมพลังประชาชาติไทย 4.8590 4.1522 4 0.1522 0 5
ชาติพัฒนา 2.5470 2.1766 2 0.1766 0 3
พลังท้องถิ่นไท 2.9994 2.5631 2 0.5631 1 3
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 1.9223 1.6427 1 0.6427 1 2
พลังปวงชนไทย 1.1502 0.9829 0 0.9829 1 1
พลังชาติไทย 1.0396 0.8884 0 0.8884 1 1
ประชาภิวัฒน์ 0.9769 0.8348 0 0.8348 1 1
พลังไทยรักไทย 0.8562 0.7317 0 0.7317 1 1
ไทยศรีวิไลย์ 0.8503 0.7266 0 0.7266 1 1
ประชานิยม 0.7968 0.6809 0 0.6809 1 1
ครูไทยเพื่อประชาชน 0.7929 0.6775 0 0.6775 1 1
ประชาธรรมไทย 0.6734 0.5754 0 0.5754 1 1
ประชาชนปฏิรูป 0.6404 0.5473 0 0.5473 1 1
พลเมืองไทย 0.6300 0.5384 0 0.5384 1 1
ประชาธิปไตยใหม่ 0.5600 0.4785 0 0.4785 1 1
พลังธรรมใหม่ 0.5001 0.4273 0 0.4273 1 1
ไทรักธรรม 0.4749 0.4059 0 0.4059 1 1
รวม 175.5321 129 21 500

 

ระบบเลือกตั้งใหม่ทำให้สภามีพรรคจำนวนมาก

จากการคำนวณที่นั่ง สส. ทั้งสามแบบ จะพบว่าจำนวนที่นั่งของแต่ละพรรคการเมืองมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ มีพรรคการเมืองรวมกันในสภาอย่างน้อย 16 พรรค และสูงสุดถึง 27 พรรค ดังนี้

 

 

ชื่อพรรค
สูตร 1
สูตร 2
สูตร 3
พลังประชารัฐ 118 117 116
เพื่อไทย 137 137 137
อนาคตใหม่ 87 84 80
ประชาธิปัตย์ 54 54 52
ภูมิใจไทย 52 52 51
เสรีรวมไทย 11 11 10
ชาติไทยพัฒนา 11 11 10
เศรษฐกิจใหม่ 6 6 6
ประชาชาติ 6 7 7
เพื่อชาติ 5 5 5
รวมพลังประชาชาติไทย 5 6 5
ชาติพัฒนา 3 3 3
พลังท้องถิ่นไท 2 3 3
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 1 2 2
พลังปวงชนไทย 1 1 1
พลังชาติไทย 1 1 1
ประชาภิวัฒน์ 0 0 1
พลังไทยรักไทย 0 0 1
ไทยศรีวิไลย์ 0 0 1
ประชานิยม 0 0 1
ครูไทยเพื่อประชาชน 0 0 1
ประชาธรรมไทย 0 0 1
ประชาชนปฏิรูป 0 0 1
พลเมืองไทย 0 0 1
ประชาธิปไตยใหม่ 0 0 1
พลังธรรมใหม่ 0 0 1
ไทรักธรรม 0 0 1

 

 

ทั้งนี้ การมีพรรคการเมืองจำนวนมากในสภาเป็นเป้าหมายสำคัญของระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMA ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ออกแบบโดย ‘มีชัย ฤชุพันธุ์ กับพวก’

โดยเป้าหมายสำคัญคือ ไม่ต้องการให้มีพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่ง สส. เกินครึ่งหนึ่งของสภา หรือครองเสียงข้างมากเด็ดขาด ทำให้ต้องกำหนดกติกาให้พรรคที่ได้ที่นั่ง สส.เขต มาก ให้มีโอกาสน้อยลงในการได้รับ สส.บัญชีรายชื่อน้อยหรืออาจไม่ได้เลย

ในขณะเดียวกันยังกำหนดกติกาให้พรรคที่แม้จะแพ้เลือกตั้งในเขต แต่คะแนนของผู้แพ้จะถูกนำมารวมกันเพื่อคิดที่นั่ง สส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งกติกาเช่นนี้พรรคที่มีโอกาสชนะ สส. เขต ไม่มาก แต่มีคะแนนในเขตจำนวนพอสมควรจะได้ประโยชน์ เพราะจะมีโอกาสได้ สส.บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้น ทำให้พรรคที่แพ้ สส.เขต ได้รับการชดเชยในระบบการคำนวณที่นั่ง สส. แบบบัญชีรายชื่อ

ไม่มีพรรคครองเสียงข้างมากเด็ดขาด มีโอกาสได้ ‘รัฐบาลผสม’ ที่อ่อนแอ

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เมื่อระบบการเลือกตั้งออกแบบมาไม่ให้มีพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่ง สส. เกินครึ่งหนึ่งของสภา หรือครองเสียงข้างมากเด็ดขาด สิ่งที่จะตามมาก็คือ การจัดตั้งรัฐบาลจึงจำเป็นต้องใช้พรรคร่วมรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น และหากจำเป็นต้องใช้พรรคการเมืองหลายพรรคในการจัดตั้งรัฐบาลก็ยิ่งทำให้รัฐบาลอ่อนแอ เสี่ยงต่อการถูกอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจ หรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากสภาในการผ่านกฎหมายสำคัญ

ทั้งนี้ หากเราลองตั้งสมมุติฐานว่า หลักในการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้ คือ การจัดตั้งรัฐบาลระหว่างฝ่ายสนับสนุน คสช. กับ ฝ่ายต่อต้าน คสช. จะพบจำนวนของ สส. แต่ละฝ่ายมีดังนี้

ฝ่ายสนับสนุนคสช.
ชื่อพรรค
สูตร 1
สูตร 2
สูตร 3
พลังประชารัฐ 118 117 116
รวมพลังประชาชาติไทย 5 6 5
ประชาภิวัฒน์ 0 0 1
ประชานิยม 0 0 1
ประชาชนปฏิรูป 0 0 1
พลเมืองไทย 0 0 1
พลังธรรมใหม่ 0 0 1
รวม 123 123 126

 

ฝ่ายไม่สนับสนุนคสช.
ชื่อพรรค
สูตร 1
สูตร 2
สูตร 3
เพื่อไทย 137 137 137
อนาคตใหม่ 87 84 80
เสรีรวมไทย 11 11 10
เศรษฐกิจใหม่ 6 6 6
ประชาชาติ 6 7 7
เพื่อชาติ 5 5 5
พลังปวงชนไทย 1 1 1
รวม 253 251 246

 

จุดยืนไม่ชัดเจน
ชื่อพรรค
สูตร 1
สูตร 2
สูตร 3
ประชาธิปัตย์ 54 54 52
ภูมิใจไทย 52 52 51
ชาติไทยพัฒนา 11 11 10
ชาติพัฒนา 3 3 3
พลังท้องถิ่นไท 2 3 3
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 1 2 2
พลังชาติไทย 1 1 1
พลังไทยรักไทย 0 0 1
ไทยศรีวิไลย์ 0 0 1
ครูไทยเพื่อประชาชน 0 0 1
ประชาธรรมไทย 0 0 1
ประชาธิปไตยใหม่ 0 0 1
ไทรักธรรม 0 0 1
รวม 124 126 128

 

โดยในสูตรทั้ง 3 สูตรจะเห็นได้ว่า หากฝ่ายที่สนับสนุน คสช. ต้องการจะเป็นคนจัดตั้งรัฐบาล จำเป็นจะต้องได้เสียงอย่างน้อย 376 เสียงจากทั้งสองสภา (สภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา) แต่จากการคำนวณที่นั่ง สส. พบว่า ฝ่ายที่สนับสนุน คสช. มีเสียงในสภาผู้แทนฯ ประมาณ 123-126 เสียง และจำเป็นจะต้องดึงจากพรรคการเมืองที่จุดยืนไม่ชัดเจนมารวมให้ได้ 376 เสียง เพื่อจัดตั้งรัฐบาล หรือใช้ กลไกพิเศษอย่าง สว.แต่งตั้ง ที่ คสช. เป็นคนเลือกอีก 250 เสียง เข้ามาช่วยเหลือ

แต่ทว่า ที่นั่งของ สส. ทั้งสามสูตร มีเสียงของฝ่ายไม่สนับสนุน คสช. มากกว่าครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนฯ (มากกว่า 250 เสียง) อย่างน้อย 2 สูตร ดังนั้น ต่อให้ฝ่ายที่สนับสนุน คสช. ตั้งรัฐบาลได้ แต่ก็เสี่ยงต่อการถูกอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจ หรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากสภาในการผ่านกฎหมายสำคัญ มีเพียงสูตรที่ 3 ซึ่งเป็นสูตรเดียวที่ทำให้ฝ่ายไม่สนับสนุน คสช. มีเสียงไม่ถึงครึ่ง แต่ถึงอย่างนั้น หากพรรคการเมืองที่จุดยืนไม่ชัดเจนหันมาสนับสนุนฝ่ายที่ไม่สนับสนุน คสช. ก็จะทำให้ฝ่ายที่สนับสนุน คสช. ตกอยู่ในที่นั่งลำบาก

อย่างไรก็ดี จากทั้ง 3 สูตร พบว่า ฝ่ายที่ยากลำบากที่สุดในการจัดตั้งรัฐบาลคือ ‘ฝ่ายที่ไม่สนับสนุน คสช.’ เพราะต้องดึงเสียงจากพรรคการเมืองที่จุดยืนไม่ชัดเจนมาร่วมรัฐบาลให้ได้มากกว่า 376 เสียง ซึ่งการจะจัดตั้งรัฐบาลได้ก็แทบจะต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากพรรคการเมืองที่จุดยืนไม่ชัดเจนแทบทั้งหมด และถ้าพรรคการเมืองที่จุดยืนไม่ชัดเจนแปรพรรคไปร่วมกับฝ่ายสนับสนุน คสช. ก็ยังเสี่ยงต่อการถูกอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจ หรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากสภาในการผ่านกฎหมายสำคัญด้วยเช่นกัน

Author

ณัชปกร นามเมือง
ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ ผู้เชื่อว่าการเมืองเป็นปัจจัยหนึ่งของการมีชีวิตที่ดี และเลือกหาเลี้ยงชีพด้วยการทำงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

Illustrator

ณขวัญ ศรีอรุโณทัย
อาร์ตไดเร็คเตอร์ผู้หนึ่ง ชอบอ่าน เขียน และเวียนกันเปิดเพลงฟัง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า