ประวัติศาสตร์บนเส้นขนานของสองชาติเกาหลี

ต้นสงครามเย็น เกาหลีถูกแบ่งเป็นสองชาติตรงเส้นขนานที่ 38 สงครามเกาหลีเริ่มต้นปี 1950 และจบลงเมื่อปี 1953 โดยทั้งสองชาติลงนามในความตกลงสงบศึก (Armistice Agreement) เมื่อ 27 กรกฎาคม 1953 มีเขตปลอดทหาร (Korean Demilitarised Zone: DMZ) บนเส้นขนานที่ 38 แต่ยังไม่เคยมีข้อตกลงสันติภาพหรือสงบศึกอย่างเป็นทางการ ทำให้เกิดความขัดแย้งหลายครั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติจึงเหมือนภูเขาไฟที่ยังไม่ดับและพร้อมจะปะทุขึ้นได้เสมอ

ตลอดระยะเวลาความขัดแย้งของสองชาติที่เดินบนเส้นขนานคนละทิศทาง เกาหลีเหนือนำโดยผู้นำตระกูลคิมสามรุ่น คิม อิล ซุง, คิม จอง อิล และ คิม จอง อึน ขณะที่เพื่อนบ้านทางฝั่งใต้ผลัดเปลี่ยนผู้นำมาจนถึง มุน แจ อิน ที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 12 เมื่อปีที่แล้ว และมีทีท่าว่าความขัดแย้งสองชาติที่ยาวนานเกือบ 70 ปีนี้จะถึงจุดคลี่คลายมากขึ้นในยุคสมัยของ มุน แจ อิน ซึ่งรวมถึงการหารือครั้งประวัติศาสตร์ในวันที่ 27 เมษายนนี้ด้วย

TIMELINE บนเส้นขนานที่ 38

Picture

ช่วงต้นสงครามเย็น


เกาหลีถูกแบ่งเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ตรงเส้นขนานที่ 38

1948
Picture

คิม อิล ซุง 1948–1994


ทดสอบขีปนาวุธ 15 ครั้ง

Picture

อี ซึง มัน 1948–1960

 

Picture

ยุน โบ ซอน 1690–1962


Picture

ปัก จุง ฮี 1962-1979

21 มกราคม 1968 หน่วยคอมมานโดของเกาหลีเหนือ 31 คนถูกส่งมาลอบสังหารประธานาธิบดีปัก จุง ฮี ที่กรุงโซล แต่ถูกจับได้และสังหารจนเหลือรอดสองคน

18 สิงหาคม 1976 ทหารสหรัฐสองคนถูกสังหารโดยเกาหลีเหนือจากภารกิจตัดต้นไม้ที่บังวิสัยทัศน์การเฝ้าระวังของสหประชาชาติใน DMZ โดยเกาหลีเหนือให้เหตุผลว่าต้นไม้นั้นปลูกโดย คิม อิล ซุง

Picture

ชเว กยู ฮา 1979-1980


Picture

ชุน ดู วาน 1980-1988

9 ตุลาคม 1983 เกาหลีเหนือวางระเบิดที่ย่างกุ้งเพื่อลอบสังหารประธานาธิบดีชุน ดู วาน เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 21 คน แต่ประธานาธิบดีชุน ดู วาน รอดชีวิต

29 พฤศจิกายน 1987 มีการวางระเบิด Korean Air และเกิดระเบิดเหนือน่านน้ำอันดามัน มีผู้เสียชีวิต 115 คน ซึ่งเกาหลีใต้กล่าวหาว่าเกาหลีเหนือมีส่วนเกี่ยวข้อง ขณะที่ทางเปียงยางออกมาปฏิเสธ

Picture

โร แต วู 1988–1993


Picture

คิม ยอง ซัม 1993-1998

18 กันยายน 1996 เรือดำน้ำเกาหลีเหนือเข้ามาทำภารกิจสอดแนมแถบท่าเรือที่กังนึง (Gangneung) หลังการไล่ล่า 45 วัน ลูกเรือและสายลับ 24 คนถูกสังหาร

Picture

คิม จอง อิล 1994-2011


ทดสอบขีปนาวุธ 16 ครั้ง

Picture

คิม แด จุง 1998-2003

15 มิถุนายน 1999 เกาหลีใต้จมเรือลาดตระเวนเกาหลีเหนือนอกเกาะยอนพยอง (Yeonpyeong) ผู้เสียชีวิตประมาณ 50 คน

เริ่มต้นนโยบายตะวันฉาย (Sunshine Policy) พยายามฟื้นความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ

เดินทางพบ คิม จอง อิล ใน Inter-Korean Summit ที่เปียงยาง ปี 2000 

Picture

โน มู ฮยอน 2003-2008

 9 ตุลาคม 2006 มีการทดสอบจรวดนิวเคลียร์สำเร็จเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นเกาหลีเหนือก็เริ่มถูกคว่ำบาตรจากประชาคมโลก

เดินทางพบ คิม จอง อิล ใน Inter-Korean Summit ที่เปียงยาง ปี 2007

Picture

ลี มยอง บัก 2008-2013


เริ่มมีนโยบายแข็งกร้าวต่อเกาหลีเหนือ

26 มีนาคม 2010 เรือคอร์เว็ตโชนัน (Cheonan) จม ลูกเรือเสียชีวิต 46 คน จากการสืบสวนพบว่าถูกตอปิโดจากเรือดำน้ำของเกาหลีเหนือ ซึ่งทางเปียงยางออกมาปฏิเสธคำกล่าวหา

23 พฤศจิกายน 2010 เกาหลีเหนือยิงปืนใหญ่ 170 นัดใส่เกาะยอนพยอง เป็นการโจมตีย่านที่อยู่อาศัยของพลเรือนครั้งแรกนับตั้งแต่ยุคสงคราม มีประชาชนเสียชีวิตสองคน เกาหลีใต้จึงยิงปืนใหญ่ตอบโต้

Picture

คิม จอง อึน 2011-ปัจจุบัน


นับถึงพฤศจิกายน 2017 ทดสอบขีปนาวุธไป 89 ครั้ง

แสดงทีท่าข่มขู่สหรัฐ มีพาเหรดแสดงแสนยานุภาพทางกองทัพและระดมพลครั้งใหญ่

Picture

ปัก กึน เฮ 2013-2017

2017 มีการทดสอบการยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือหลายครั้ง

Picture

โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี

2016
Picture

มุน แจ อิน 2017-ปัจจุบัน

21 กันยายน 2017  ประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนใหม่จากการเลือกตั้ง มุน แจ อิน บอกสหประชาชาติว่า เขาไม่ต้องการเห็นเกาหลีเหนือล่มสลาย แต่เตือนว่าให้ระวังความตึงเครียดจะนำไปสู่ความรุนแรงที่ไม่คาดคิด

พฤศจิกายน 2017 เกาหลีใต้กำหนดการคว่ำบาตรฝ่ายเดียว โดยบรรจุองค์กรของเกาหลีเหนือรวมทั้งธนาคารลงในแบล็คลิสต์ ซึ่งทั้งหมดนี้มาจากมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหญ่ของสหประชาชาติ

3 มกราคม 2018 เกาหลีเหนือเปิดจุดผ่านแดนหลังจากปิดไปสองปี เมื่อ คิม จอง อึน จะส่งทีมนักกีฬาไปร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวที่เกาหลีใต้

5 มกราคม 2018 เกาหลีเหนือรับคำเชิญของเกาหลีใต้ในการพูดคุยครั้งแรกกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกิดขึ้นในวันที่ 9 มกราคม เรื่องการส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว

9 กุมภาพันธ์ 2018 นักกีฬาเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เดินพาเหรดโดยใช้ธงรวมชาติ และส่งนักกีฬาลงแข่งฮ็อกกี้น้ำแข็งหญิงภายใต้ชื่อทีมชาติเดียว

หารือ คิม จอง อึน ที่เขตปลอดทหาร (DMZ) วันที่ 27 เมษายน  ใน Inter-Korean Summit 2018


Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า