เนิร์สเซอรี 24 ชั่วโมง: สารคดีตีแผ่ความจริงของผู้ปกครองชั้นแรงงานญี่ปุ่น

หนึ่งในฉากภาพยนตร์เรื่องนี้ เด็กๆ ในเนิร์สเซอรี่ 24 ชั่วโมง กำลังกินข้าวเย็นและเตรียมเข้านอน
ภาพ: KYODO, © YAKAN MO YATTERU HOIKUEN

ภาพยนตร์สารคดีที่ชื่อ Yakan mo Yatteru Hoikuen (Nurseries Open Even at Night) หรือ ‘เนิร์สเซอรีที่เปิดแม้ตอนกลางคืน’ ฉายประเด็นความทุกข์ยากของชนชั้นแรงงาน พ่อหรือแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกลำพังคนเดียว (single-parent) ว่าพวกเขามีข้อจำกัดอย่างไร และทำไมพวกเขาจึงต้องฝากเด็กๆ ไว้ที่เนิร์สเซอรีแม้กระทั่งตอนกลางคืน ท่ามกลางอคติของคนในสังคมญี่ปุ่นต่อธุรกิจประเภทนี้

เนิร์สเซอรีที่เปิดตอนกลางคืนนี้ เป็นธุรกิจและสถานรับเลี้ยงเด็กที่กฎหมายเขียนรับรองเอาไว้ตั้งแต่ปี 1981 ภายใต้เงื่อนไขว่า สถานรับเลี้ยงต้องมีมาตรฐาน เช่น มีพนักงานที่เพียงพอ มีระบบการจัดการที่ดี แต่เกือบ 40 ปีที่ผ่านมา มีเนิร์สเซอรีที่เปิด 24 ชั่วโมงได้รับใบรับรองเพียง 80 แห่ง ขณะที่อีก 1,600 กว่าแห่งยังไม่มีใบรับรองมาตรฐาน

และนั่นนับเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้สถานเลี้ยงเด็กเหล่านี้ คล้ายกับธุรกิจผิดกฎหมายและไม่ได้รับความเห็นชอบจากคนในสังคม รวมทั้ง โคอิจิ โอมิยะ (Koichi Omiya) ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย

รายงานจาก Japantimes อธิบายว่า โอมิยะได้รับจดหมายจาก คิโยมิ คาตาโนะ (Kiyomi Katano) ผู้อำนวยการเนิร์สเซอรีที่ชื่อ ABC Hoikuen ผู้ซึ่งติดตามภาพยนตร์ของโอมิยะมาตลอด โดยจดหมายจากคาตาโนะเขียนไว้ว่า

“แม้ว่าทุกวันนี้ พ่อแม่หลายๆ คนมีความจำเป็นต้องพึ่งพาบริการต่างๆ เพื่อช่วยเลี้ยงเด็ก แต่เนิร์สเซอรีต่างๆ ก็ยังไม่ได้รับการรับรองที่ถูกต้อง”

อย่างไรก็ตาม แม้โอมิยะในขณะนั้นจะไม่มีข้อมูลใดๆ มากไปกว่าจดหมายที่คาตาโนะเขียนไว้ แต่โอมิยะก็รับปากทำภาพยนตร์สารคดีชิ้นนี้ และตีแผ่มันออกมาเป็นภาพยนตร์ในที่สุด

เฉพาะเด็กที่อยู่ในสถานดูแลของ ABC Hoikuen ตั้งอยู่ที่เมืองชิน-โอคุโบะ (Shin-Okubo) เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า ‘Korea Town’ อยู่ทางตอนเหนือของคาบูกิโจ (Kabukicho ย่านราตรีและแหล่งอโคจรที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น) ราว 1 กิโลเมตร ก็มีเด็กๆ จากหลายเชื้อชาติ รับเด็กอายุตั้งแต่ 4-6 สัปดาห์ และมีเด็กในสถานรับเลี้ยงแห่งนี้ราวๆ 90 คน

ในช่วงกลางคืน เด็กๆ จะได้กินข้าวประมาณ 2 ทุ่ม ก่อนจะเข้านอน พ่อแม่ผู้ปกครองจะคอยเวียนกันมารับพวกเขากลับบ้าน ตั้งแต่เที่ยงคืน และค่อยๆ ไล่ไป แต่แน่นอนว่านั่นเป็นเวลาที่พวกเขากำลังหลับลึก ผู้ปกครองที่ต้องเอาเด็กๆ มาฝากไว้ที่นี่ประกอบอาชีพตั้งแต่ข้าราชการ ซึ่งมักจะทำงานล่วงเวลาเพื่อรับเงินส่วนนี้อยู่เสมอ ไปถึงอาชีพรับจ้างอื่นๆ ซึ่งจำเป็นต้องทำงานในช่วงกลางคืน

สิ่งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทอดมากกว่านั้น คือภาพของพนักงานทำงาน ที่ต้องรับมือกับอารมณ์เกรี้ยวกราดของเด็กๆ ที่ต้องถูกปลุกในช่วงเวลาหลับลึก และอีกส่วนหนึ่งจากความเครียดจากครอบครัว

อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังต้องการคลี่คลายปัญหาที่มากกว่าการปรับความเข้าใจของคนในสังคม และพยายามล้วงลึกไปว่า เหตุใดธุรกิจเนิร์สเซอรีหลายๆ แห่ง จึงไม่ได้รับใบรับรองนั้น


อ้างอิงข้อมูลจาก:
japantimes.co.jp
english.kyodonews.net

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า