หนึ่งทางม้าลาย ใครเกี่ยวข้องบ้าง

จากกรณี ส.ต.ต.นรวิชญ์ บัวดก ขับรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ยี่ห้อ Ducati ชน ‘หมอกระต่าย’ พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล ระหว่างเดินข้ามทางม้าลายหน้าสถาบันไตภูมิราชนครินทร์ ถนนพญาไท เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 จนทำให้หมอกระต่ายบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้อง ส.ต.ต.นรวิชญ์ ในข้อหาขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน และกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และข้อหาอื่นๆ รวม 9 ข้อหา

ล่าสุด (25 เมษายน) ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 2 ปี 30 วัน แต่ผู้ต้องหารับสารภาพ จึงลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 1 ปี 15 วัน ไม่รอลงอาญา พร้อมทั้งปรับเงิน 4,000 บาท อย่างไรก็ดี เวลาประมาณ 14.00 น. วันเดียวกัน ศาลมีคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวด้วยหลักทรัพย์ 200,000 บาท โดยไม่มีเงื่อนไข

คดีหมอกระต่ายไม่ใช่ความตายบนท้องถนนเพียงคดีเดียว ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติได้บอกเราว่า คนเดินถนนประสบอุบัติเหตุ 2,500-2,900 รายต่อปี โดย 1 ใน 3 เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ เฉลี่ยแล้วใน 1 ปี จะมีคนกรุงเทพฯ ประสบอุบัติเหตุถึง 900 คน

ความตายที่ควรจะป้องกันได้เหล่านี้ ได้จุดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือด ตั้งแต่การสรุปสั้นๆ ว่า เป็นความประมาท เลินเล่อ ขาดจิตสำนึกของฝ่ายผู้ก่อเหตุ บ้างก็ว่าเป็นความประมาทของคนเดินข้ามถนนเองเสียอย่างนั้น ไปจนถึงการตั้งคำถามถึงโครงสร้างของระบบการคมนาคมในกรุงเทพฯ ที่ไม่เป็นมิตรต่อคนเดินถนน และเรียกร้องกดดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นอีกในอนาคต

WAY จึงอยากชวนไปทำการสำรวจว่า หน่วยงานใดมีหน้าที่รับผิดชอบท้องถนนในกรุงเทพมหานครกันบ้าง

บนพื้นผิวจราจร

สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ สำนักการโยธา – ก่อสร้าง บูรณะ และบำรุงรักษาทาง

สำนักการจราจรและขนส่ง – ทาสี (พื้นแดง) ตีเส้น ทำแถบชะลอความเร็ว

สำนักสิ่งแวดล้อม – พื้นที่สีเขียว (ปลูกต้นไม้เกาะกลางถนน)

กองบังคับการตำรวจจราจร – บังคับใช้กฎหมาย

บนทางเท้า

สำนักการจราจรและขนส่ง – อุปกรณ์ประกอบทาง เช่น ป้าย สัญญาณไฟ (ไฟกระพริบ ไฟแบบกดปุ่ม) อุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ ทางจักรยาน ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ประสานและเชื่อมโยงข้อมูลจราจรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำนักการระบายน้ำ – ฝาท่อระบายน้ำ

สำนักการโยธา – กระเบื้องทางเท้า

สำนักสิ่งแวดล้อม – ต้นไม้

สำนักเทศกิจ – กวดขันวินัยจราจร สิ่งกีดขวางทางเท้า

การไฟฟ้านครหลวง – เสาไฟฟ้า ไฟส่องสว่าง

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) – เสาโทรคมนาคม

Author

ปิยนันท์ จินา
หนุ่มใต้ที่ถูกกลืนกลายเป็นคนอีสาน โตมาพร้อมตัวละครมังงะญี่ปุ่น แต่เสียคนเพราะนักปรัชญาเยอรมันเคราเฟิ้มและนักประวัติศาสตร์ความคิดชาวฝรั่งเศสที่เสพ LSD มีหนังสือเป็นเพื่อนสนิท แต่พักหลังพยายามผูกมิตรกับมนุษย์จริงๆ ที่มีเลือด เนื้อ เหงื่อ และน้ำตา หล่อเลี้ยงชีวิตให้รอดด้วยน้ำสมุนไพรเพื่อคอยฟาดฟันกับอำนาจใดก็ตามที่กดขี่มนุษย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า