ภาพ: อนุช ยนตมุติ
Main Way
เส้นแบ่งระหว่างพื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที่สาธารณะดูจะเลือนลางลงเรื่อยๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งในชีวิตจริงและโลกออนไลน์ เมื่อข้อมูลส่วนตัวของทุกคนล้วนต้องเชื่อมต่อกับ ‘ระบบ’ อะไรสักอย่าง แม้จะมีข้อตกลงว่าข้อมูลส่วนตัวบางอย่างต้องถูกสงวนไว้เป็นความลับ แต่ทันทีที่พรมแดนเปิด เราไม่มีทางรู้เลยว่าเรื่องส่วนตั๊วส่วนตัวของเราจะไปเข้าหูเข้าตาใครบ้าง
ภาพ: กฤช เหลือลมัย
Two Wheels Many Ways
เสียงเล่าเสียงลือเกี่ยวกับ กฤช เหลือลมัย มีอยู่ว่า เขาเป็นนักปั่นประเภทที่รู้ว่าดงกะเพราหรือผักสวนครัวนานาชนิดหยั่งรากตรงไหนกลางเมืองกรุง เขามักสรรหาพืชผักระหว่างทางที่ปั่นจักรยาน และไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เล่าลือเป็นตำนานสืบต่อกันมาว่า เขาเป็นนักปั่นสายน้ำ (นิยมดื่มนั่นเอง) ในคอลัมน์ ‘2 ล้อ หลากหลายเส้นทาง’ ฉบับนี้ จึงเทียบเชิญผู้เป็นทั้งนักเขียน กวี นักปั่นผู้นี้มาแบ่งปันประสบการณ์
ภาพ: อนุช ยนตมุติ
Interview
คุยกับ ผศ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ แห่งภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในประเด็น ‘เจ้าพ่อ’ หรือผู้มีอิทธิพลและบารมีที่สามารถเข้านอกออกในพื้นที่อำนาจของรัฐได้ ในฐานะที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นกับอำนาจรัฐ เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างการปกครองแบบรวมศูนย์ที่รัฐต้องพึ่งพาผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น
คุยกับเธอเพื่อทำความเข้าใจถึงวิวัฒนาการของเจ้าพ่อในอำนาจแบบรวมศูนย์จนมาถึงยุคกระจายอำนาจ เหตุใดเจ้าพ่อจึงสามารถ “ยื่นข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้” อยู่ร่ำไป – ไม่เปลี่ยนแปลง
ภาพ: ณัฐกานต์ ตำสำสู
Sub-Way
ช่วงเดือนสิงหาคมปี 2556 มีกลุ่มประชาชนกลุ่มหนึ่งตั้งต้นออกเดินเท้าจากหาดปากบารา จังหวัดสตูล ถึงอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เพื่อแสดงพลังต่อต้านโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา และท่าเรือจะนะ แต่หลังจากออกเดินเท้าได้ 1 วัน ผู้ร่วมเดินก็โดนทหารจับกุมตัวบริเวณ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
นี่คือที่มาของสารคดีชิ้นนี้ คล้ายกับว่าอยากจะดอมดมอากาศและบรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งปกคลุมการเคลื่อนไหวต่อต้านโครงการขนาดใหญ่ของประชาชนกลุ่มหนึ่ง